12 กันยายน 2554

หลักการพูด

                    หลักการพูด


การพูด เป็นวิธีหนึ่งของการสื่อสาร การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก หรือความต้องการ ด้วยเสียง ภาษา และกิริยาท่าทาง เพื่อให้ผู้รับฟังรับรู้ เข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้พูด การสื่อสารจึงจะบรรลุผลได้



หลักการพูด



ภาพ:การพูด2.jpg







 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความหมายของการพูด



ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 พูด คือ การเปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา

การพูด เป็นการสื่อสารด้วยภาษา จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันช่วยให้กิจการต่างๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย







องค์ประกอบของการพูด



การพูดมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้


ผู้พูด



ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยใช้ภาษา เสียง อากับกิริยาและบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรม ในการพูดด้วย

สิ่งสำคัญที่ผู้พูดจะต้องยึดไว้เป็นแนวปฏิบัติคือ ผู้พูดจะต้องรู้จักสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วรวบรวม เรียบเรียงความรู้ ความคิดเหล่านี้ ให้มีระเบียบ เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจได้โดยง่าย แจ่มแจ้ง

การสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ ผู้พูดสามารถทำได้หลายทาง เช่น จากการอ่าน การฟัง การสังเกต การกระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง การสนทนากับผู้อื่น

นอกจากนี้แล้ว ผู้พูดจะต้องมีทักษะ ในการพูด การคิด การฟัง และมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พูด เกิดความมั่นใจในตนเอง


สาระหรือเรื่องราวที่พูด



ภาพ:การพูด1.jpg




คือ เนื้อหาสาระที่ผู้พูดพูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ใหม่ ทันสมัย เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดต้องขยายความคือ ความรู้ที่นำเสนอสู่ผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดงด้วยตัวเลข สถิติ หรือยกหลักฐานต่าง ๆ มาอ้างอิง การเตรียมเนื้อหาในการพูดมีขั้นตอน ดังนี้


2.1) การเลือกหัวข้อเรื่อง ถ้าผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดเอง ควรยึดหลักที่ว่าต้อง เหมาะสมกับผู้พูด คือ เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีความรอบรู้ในเรื่องนั้น และเหมาะสมกับผู้ฟังเป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจ นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงโอกาส สถานการณ์ สถานที่ และเวลา ที่กำหนดให้พูดด้วย


2.2) การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจะต้องกำหนด จุดมุ่งหมายในการพูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้ความรู้ โน้มน้าวใจหรือเพื่อความบันเทิงเพื่อจะได้เตรียมเรื่องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะพูดด้วยว่าจะครอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด


2.3) การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ผู้พูดต้องประมวลความรู้ ความคิดทั้งหมดไว้แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือความคิดหลัก อะไรคือความคิดรอง สิ่งใดที่จะนำมาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดนั้นๆ และที่สำคัญ ผู้พูดจะต้องบันทึกไว้ให้ชัดเจนว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีที่มาจากแหล่งใด ใครเป็นผู้พูด หรือผู้เขียน ทั้งนี้ผู้พูดจะได้ อ้างอิง ที่มาของข้อมูลได้ถูกต้องในขณะที่พูด


2.4) การจัดระเบียบเรื่อง คือ การวางโครงเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้การพูดไม่วกวน สับสน เพราะผู้พูดได้จัดลำดับขั้นตอนการพูดไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความต่อเนื่อง ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย การจัดลำดับเนื้อเรื่องจะแบ่งเป็น สามตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่องและการสรุป


ผู้ฟัง



ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังด้วยการใช้ภาษา เสียง กิริยาท่าทาง บุคลิกภาพของตน ในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยให้การพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล ก่อนจะพูดทุกครั้ง ผู้พูดต้องพยายามศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวกับผู้ฟังให้มากที่สุด เช่น จำนวนผู้ฟัง เพศ ระดับการศึกษา ความเชื่อและค่านิยม ความสนใจของผู้ฟัง เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้ฟังล่วงหน้า นอกจากจะได้นำข้อมูลมาเตรียมการพูดให้เหมาะสมแล้ว ผู้พูดยังสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย







จุดมุ่งหมายของการพูด



โดยทั่วไปแล้ว การพูดจะมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ประการ


การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ



















การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้ เราได้ฟังอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือจากวงสนทนาในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีความรู้ประสบการณ์บ้าง แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัด

การพูดประเภทนี้ ได้แก่ การรายงาน การพูดแนะนำ การบรรยาย การอธิบายการชี้แจง ดังตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น

  • ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่งและประสบความสำเร็จ
  • ภัยแล้ง
  • ทำไมราคาพืชผลทางการเกษตรจึงตกต่ำ
  • งามอย่างไทย
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ



การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเชื่อและมีความคิดคล้อยตาม ทำหรือไม่ทำตามที่ผู้พูดต้องการหรือมีเจตนา ฉะนั้น ผู้พูดจะต้องชี้แจงให้ผู้ฟังเห็นว่า ถ้าไม่เชื่อหรือปฏิบัติตามที่ผู้พูดเสนอแล้ว จะเกิดโทษหรือผลเสียอย่างไร

การพูดชนิดนี้จะประสบความสำเร็จได้ดีมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเองว่ามีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือเพียงใด มีการใช้ถ้อยคำภาษาที่ง่ายแก่การเข้าใจของกลุ่มผู้ฟังหรือไม่ และที่สำคัญคือ ผู้พูดจะต้องมีศิลปะและจิตวิทยาในการจูงใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ จะเห็นได้จากการพูดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งเพื่อเป็นหัวหน้าชั้น ผู้แทนกลุ่ม หรือองค์การต่างๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือการพูดเพื่อรณรงค์ให้ผู้ฟังเลิกบุหรี่ หรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การพูดเพื่อให้ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำมัน ไฟฟ้า นอกจากนี้ การพูดเพื่อโน้มน้าวใจจะนำไปใช้มากในด้านธุรกิจการขาย การโฆษณาเพื่อให้ผู้คนหันมานิยมใช้หรือซื้อสินค้าของตน


ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดโน้มน้าวใจ


  • บริจาคโลหิตช่วยชีวิตมนุษย์
  • มาเลี้ยงลูกด้วยนมมารดากันเถอะ
  • ฟังดนตรีเถอะชื่นใจ
  • ช่วยทำเมืองไทยให้เป็นสีเขียวดีกว่า
  • ออกกำลังกายวันละนิดชีวิตแจ่มใส
  • เหรียญบาทมีความหมายเพื่อเด็กยากไร้ในชนบท


การพูดเพื่อความบันเทิง



การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้ เป็นการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน รื่นเริง สนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครียด ในขณะเดียวกันก็แทรกเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วย ผู้พูดจะต้องเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เป็นคนเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นได้จากรายการต่างๆ ทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์


ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อความบันเทิง


  • เราจะได้อะไรจากการฟังเพลงลูกทุ่ง
  • ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
  • พูดใครคิดว่าไม่สำคัญ
  • ที่ว่ารัก รักนั้นเป็นฉันใด


หลักการพูดที่ดี



ผู้พูดที่ต้องการสื่อความเข้าใจกับผู้ฟังให้เกิดความสำเร็จในการส่งสารได้ดีนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพูด ดังต่อไปนี้


การออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักภาษา



ได้แก่


1.1 การออกเสียงสั้น-ยาว ต่างกัน ความหมายก็ต่างกันไปด้วย เช่น เก้า-ก้าว, เข้า-ข้าว, เท้า-ท้าว

ตัวอย่าง


  1. ก้าวเท้าไปเก้าครั้ง
  2. เขาเดินเข้าไปรับประทานข้าว
  3. เขาบาดเจ็บที่เท้า


1.2 การออกเสียงคำหลายพยางค์ให้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง คำบางคำออกเสียงแบบอักษรนำ เช่น



<><><><><><><><>
ดำริ อ่านว่า ดำ – หฺริ
กนก อ่านว่า กะ – หฺนก
ดำรัส อ่านว่า ดำ – หฺรัด
ปรอท อ่านว่า ปะ – หฺรอด
ผลิต อ่านว่า ผะ – หฺลิด



บางคำไม่ใช่ คำสมาส แต่อ่านออกเสียงต่อเนื่องแบบคำสมาส เช่น



<><><><><><><><>
ผลไม้ อ่านว่า ผน – ละ – ไม้
พลเมือง อ่านว่า พน – ละ – เมือง
เทพเจ้า อ่านว่า เทบ – พะ – เจ้า
ดาษดา อ่านว่า ดาด – สะ – ดา


คำบางคำไม่นิยมออกเสียงให้มีเสียงต่อเนื่อง เช่น


<><><><><><><><>
ทิวทัศน์ อ่านว่า ทิว – ทัด
สัปดาห์ อ่านว่า สับ – ดา
ดาษดื่น อ่านว่า ดาด – ดื่น
วิตถาร อ่านว่า วิด – ถาน
รสนิยม อ่านว่า รด – นิ – ยม
คุณค่า อ่านว่า คุน – ค่า


1.3 ออกเสียงให้ถูกต้องตามความนิยม เช่น


<><><><><><><><>
กำเนิด อ่านว่า กำ – เหนิด
ยมบาล อ่านว่า ยม – มะ – บาน
ชักเย่อ อ่านว่า ชัก – กะ – เย่อ
เทศบาล อ่านว่า เทด – สะ – บาน


1.4 ออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว หรือเป็นอักษรนำให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น


<><><><><><><><>
ตราด อ่านว่า ตราด เป็น อักษรควบ
ตลาด อ่านว่า ตะ – หลาด เป็น อักษรนำ
จริง อ่านว่า จิง เป็น อักษรควบไม่แท้
ปรักหักพัง อ่านว่า ปะ – หรัก – หัก – พัง เป็นอักษรนำ


คำต่อไปนี้ออกเสียงแบบควบแท้ทั้งหมด เช่น


<><><><><><><><>
ปรับปรุง เปลี่ยนปลง ปลาบปลื้ม
ปลอดโปร่ง พร้อมเพรียง เพราะพริ้ง
แพรวพราว เพลิดเพลิน พลุกพล่าน
แกว่งไกว กว้างขวาง ไขว่คว้า
คลุกเคล้า คลาดเคลื่อน คลอนแคลน


คำบางคำเป็นคำเรียงพยางค์กันไม่ออกเสียงแบบควบกล้ำ เช่น


<><><><><><><><>
ปริญญา ออกเสียงว่า ปะ – ริน – ยา
ปราชัย ออกเสียงว่า ปะ – รา – ไช
ปรัมปรา ออกเสียงว่า ปะ – รำ – ปะ – รา
ปรินิพพาน ออกเสียงว่า ปะ – ริ – นิบ – พาน


1.5 ไม่ควรออกเสียงให้ห้วนสั้น ตัดคำ หรือรัวลิ้นจนฟังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะ คำหลายพยางค์ เช่น


<><><><><><><><>
มหาวิทยาลัย ไม่ควรออกเสียงว่า หมา – ลัย
วิทยาลัย ไม่ควรออกเสียงว่า วิด – ลัย
ประกาศนียบัตร ไม่ควรออกเสียงว่า ปะ – กาด – บัด
กิโลเมตร ไม่ควรออกเสียงว่า กิโล หรือ โล
กิโลกรัม ไม่ควรออกเสียงว่า กิโล หรือ โล
สวัสดี ไม่ควรออกเสียงว่า หวัด – ดี
ประธานาธิบดี ไม่ควรออกเสียงว่า ปะ – ธา – นา – ดี
เฉลิมพระชนมพรรษา ไม่ควรออกเสียงว่า ฉะ – เหลิม – ชน – สา


1.6 ไม่ควรใช้ภาษาพูด ภาษาตลาด ภาษาสื่อมวลชนหรือภาษาโฆษณา ในการพูดกับคนทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจยากและไม่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล เช่น


  • สาวคนนั้นจัดอยู่ในวัยเอ๊าะๆ
  • รัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ในวัยดึก
  • นายตำรวจถูกเตะโด่งออกจากพื้นที่
  • เขาวิ่งเต้นเพื่อขอย้ายไปในที่เจริญ
  • นายตำรวจเต้น ถูก นสพ. คุ้ยเบื้องหลัง
  • เจ้าหน้าที่บุกคุกลำปางหาข้อมูลปรับปรุงเรือนจำ


1.7 การออกเสียงคำแผลง ควรออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักภาษาและความนิยม เช่น



<><><><><><><><>
บำราศ ออกเสียงว่า บำ – ราด
บำราบ ออกเสียงว่า บำ – หราบ
ตำรวจ ออกเสียงว่า ตำ – หรวด
ผนวช ออกเสียงว่า ผะ – หนวด
สำเร็จ ออกเสียงว่า สำ – เหร็ด
จำหน่าย ออกเสียงว่า จำ – หน่าย
แสดง ออกเสียงว่า สะ – แดง
ถลก ออกเสียงว่า ถะ – หลก
จรวด ออกเสียงว่า จะ – หรวด


หลักการพูดที่ดีต้องคำนึงถึง



  1. การใช้ภาษา ต้องเลือกใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง
  2. ผู้พูดและผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายตรงกัน ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสื่อความหมายไปยังผู้ฟังเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ผู้ฟังก็มีความตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้พูดสื่อความหมายให้
  3. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน ดังพอประมาณ อย่าตะโกนหรืออย่าพูดค่อยเกินไป
  4. สีหน้า ท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด
  5. ท่าทางในการยืน นั่ง ควรสง่าผ่าเผย การใช้ท่าทางประกอบการพูดก็มีความสำคัญ เช่น การใช้มือ นิ้ว จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น
  6. ต้องรักษามารยาทการพูดให้เคร่งครัดในเรื่องเวลาในการพูด พูดตรงเวลาและจบทันเวลา
  7. พูดเรื่องใกล้ตัวให้ทุกคนรู้เรื่อง เป็นเรื่องสนุกสนานแต่มีสาระ และพูดด้วยท่าทางและกิริยานุ่มนวล เวลาพูดต้องสบตาผู้ฟังด้วย
  8. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องของตัวเอง
  9. ไม่พูดคำหยาบ นินทาผู้อื่น ไม่พูดแซงขณะผู้อื่นพูดอยู่ และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา


มารยาทในการพูด



การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้

  1. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
  2. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ
  3. ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น
  4. รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ
  5. ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด
  6. หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มา เป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง
  7. หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ
  8. ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น



ที่มา : http://www.panyathai.or.th/




1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}

    ตอบลบ