11 กันยายน 2554

ขายตรง

                     ธุรกิจขายตรง


ธุรกิจขายตรง หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



ธุรกิจขายตรงแบบชั้นเดียว


คือการที่มีตัวแทนจำหน่ายแค่คนเดียว ทำการเดินขายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ ไม่เหมือนหลายชั้นที่เราแนะนำมาสมัครต่อเราและเป็นเครือข่ายของเรา อ่านเพิ่มเติมได้ใน ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น


ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น หรือ ธุรกิจเครือข่าย


ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น (Multi- Level Marketing หรือ MLM) หรือ ธุรกิจเครือข่าย (Network Marketing) เป็นการตลาดต่อๆกันเป็นเครือข่ายหลายชั้น ผู้ขายเป็นนักขายอิสระ ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท เรียกว่าเป็น นักธุรกิจอิสระ นักธุรกิจเครือข่าย สมาชิก หรือ ทีมเมมเบอร์ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับแผนการตลาดได้แก่ แบบไบนารี่ แบบยูนิเลเวล แบบไตรเซ็บ แบบเมตริกซ์ และแบบผสม โดยนักธุรกิจเครือข่าย สามารถสร้างรายได้จากการทำงาน 3 วิธีรวมกัน คือ

  1. รายได้เริ่มต้น ผลกำไรจากการขายปลีก ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทกับราคาขายปลีกที่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภค
  2. รายได้สร้างทีม คอมมิชชั่นหรือส่วนลดตามระดับยอดขายของสินค้าหรือบริการที่มีการสั่งซื้อ (เพื่อบริโภคหรือเพื่อขายให้กับผู้ขายคนอื่นต่อๆไป) จากผู้ขายที่ได้ชักชวนเข้ามาสมัครร่วมธุรกิจในทีมขาย หรือที่เรียกว่า "สปอนเซอร์" ในระดับเป็นชั้นต่อๆไป
  3. รายได้ผู้นำ คอมมิสชัน หรือส่วนลด ผู้นำ เช่นเปอร์เซนต์จากยอดขายกลุ่ม รางวัลเงินสดจ่ายครั้งเดียว กองทุนต่าง ๆ เช่นกองทุนท่องเที่ยว หรือกองทุนรถยนต์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า หลักการของระบบการตลาดหลายชั้นคือ การที่นักธุรกิจเครือข่ายได้รับผลตอบแทนทั้งจาก รายได้เริ่มต้นที่ตนเองขายปลีก และผลตอบแทนจากการขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักขายในกลุ่มของตนชวนมาร่วมกันขาย จนมียอดขายรวมเป็นก้อนใหญ่ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเกิดจากการสปอนเซอร์หรือชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมธุรกิจอันทำให้ระบบการตลาดหลายชั้นเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงสุดในธุรกิจขายตรงปัจจุบัน


อ้างอิง





แหล่งข้อมูลอื่น





YouTube Video




YouTube Video




ขายตรง


นิยามของคำว่า " การขายตรง"

ที่บัญญัติขึ้นโดยสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก (World Federation of Direct Selling Associations หรือ WFDSA) และสมาคมการขายโดยตรง (ไทย) มีอยู่ว่า " การขายตรง" หมายถึง การทำตลาดสินค้าอุปโภค บริโภคในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่ อาศัยของผู้บริโภคหรือที่อยู่อาศัยของผู้อื่น ณ ที่ทำงานของผู้บริโภคหรือที่อื่นๆ โดยผู้ขายตรงใช้การอธิบายหรือการสาธิตสินค้าเป็นกลยุทธ์หลักในการเสนอขาย นิยามของคำว่า " การขายตรง" ที่บัญญัติขึ้นโดยสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก (World Federation of Direct Selling Associations หรือ WFDSA) และสมาคมการขายโดยตรง (ไทย) มีอยู่ว่า " การขายตรง" หมายถึง การทำตลาดสินค้าอุปโภค บริโภคในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่ อาศัยของผู้บริโภคหรือที่อยู่อาศัยของผู้อื่น ณ ที่ทำงานของผู้บริโภคหรือที่อื่นๆ โดยผู้ขายตรงใช้การอธิบายหรือการสาธิตสินค้าเป็นกลยุทธ์หลักในการเสนอขาย

ระบบการตลาด/ การขายตรงหลายชั้น (Multi- Level Marketing หรือ MLM) เป็นการขายต่อๆกันเป็นเครือข่ายหลายชั้น ผู้ขายเป็นนักขายอิสระ ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท โดยนักขายสามารถสร้างรายได้จากการทำงาน 2 วิธีรวมกัน คือ

ผลกำไรจากการขายปลีก ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทกับราคาขายปลีกที่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภค

คอมมิชชั่นหรือส่วนลดตามระดับยอดขายของสินค้าหรือบริการที่มีการสั่งซื้อ( เพื่อบริโภคหรือเพื่อขายให้กับผู้ขายคนอื่นต่อๆไป) จากผู้ขายที่ได้ชักชวนเข้ามาสมัครร่วมธุรกิจในทีมขาย หรือที่เรียกว่า " สปอนเซอร์" ในระดับเป็นชั้นต่อๆไป

จะเห็นได้ว่า หลักการของระบบการตลาดหลายชั้นคือ การที่นักขายได้รับผลตอบแทนทั้งจากที่ตนเองขายปลีก และผลตอบแทนจากการขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักขายในกลุ่มของตนชวนมาร่วมกันขาย จนมียอดขายรวมเป็นก้อนใหญ่ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเกิดจากการสปอนเซอร์หรือชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมธุรกิจอันทำให้ระบบการตลาดหลายชั้นเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงสุดในธุรกิจขายตรงปัจจุบัน

เนื่องจากธุรกิจขายตรงเป็นอาชีพใหม่ที่กำลังติดอันดับท้อปฮิตสำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริม หรือต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง ดังนั้น ก่อนจะสมัครเป็นนักขายตรงรายใหม่ ขอให้พิจารณาไตร่ตรองถึงสิ่งต่อไปนี้เสียก่อน

การทำธุรกิจขายตรงไม่ใช่การลงทุนด้านการเงิน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่ต้องใช้ความมานะอดทน ต้องมีการพบปะผู้คนเพื่อแนะนำสินค้าและให้บริการลูกค้า ต้องฝึกฝนตนเองและถ่ายทอดแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ที่ตนได้เชิญชวนมาร่วมทีม

บริษัทต้นสังกัดต้องมีความน่าเชื่อถือ มีการลงทุนในระบบบริหารจัดการภายใน มีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนานักขายทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับสินค้าและการดำเนินธุรกิจ จ่ายค่าตอบแทนตามแผนการจ่ายผลตอบแทนอย่างถูกต้องตรงเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อนักขายตรงในสังกัดและผู้บริโภค

บริษัทธุรกิจขายตรงที่มีอนาคตจะมีแผนการดำเนินธุรกิจที่ยุติธรรม และสร้างความพึงพอใจต่อทั้งนักขายและผู้บริโภค โดยเฉพาะโอกาสในการสร้างรายได้ของนักขายจะต้องเท่าเทียมกัน ไม่ว่านักขายนั้นจะสมัครทำธุรกิจก่อนหรือหลัง

ระบบธุรกิจที่มีการขายสินค้าบางอย่างอาจจะอ้างว่าเป็นธุรกิจขายตรงระบบการตลาดหลายชั้น หรือ เป็นระบบการตลาดแบบเครือข่าย

พึงสังเกตว่า สินค้าในระบบการตลาดหลายชั้นที่แท้จริง ต้องมีลักษณะดังนี้

- สินค้านั้นมีประโยชน์จริง ใช้แล้วหมดไปและต้องซื้อหามาใช้ใหม่

- สินค้านั้นสามารถนำไปขายปลีกได้จริง และผู้ขายจะมีรายได้เป็นผลกำไรจากการขายปลีก

- สินค้านั้นได้ผ่านขั้นตอนการนำเข้าและชำระภาษีอากรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

- สินค้าประเภทเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสินค้าบำรุงสุขภาพต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้จำหน่ายได้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) เรียบร้อยแล้ว

- สินค้านั้นต้องมีฉลากบรรยายสรรพคุณ และวิธีใช้อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ.)

- สินค้าบางประเภทต้องมีใบอนุญาตโดยเฉพาะให้จัดจำหน่ายได้ เช่น สุรา ต้องมีใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต เป็นต้น

- สินค้านั้นต้องมีการรับคืนหรือมีการรับประกันจากบริษัทผู้จัดจำหน่าย โดยมีเอกสารจากบริษัทเผยแพร่อย่างชัดเจน

เนื่องจากรูปแบบของระบบปิระมิด หรือแชร์ลูกโซ่อาจมีความใกล้เคียงกับลักษณะบางประการของการขายตรงระบบการตลาดหลายชั้น (MLM) จึงขอให้พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างระบบทั้งสองที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน

เงินลงทุนและค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจต่ำ เพียงจ่ายเงินค่าสมัครเพื่อรับคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเท่านั้น หากต้องการลาออก บริษัทต้นสังกัดก็ยินดีคืนเงินค่าสมัคร และค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ซื้อไปเต็มจำนวนด้วย

จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลากชนิดที่มีคุณภาพสูง ยอดขายจะมาจากการจำหน่ายสินค้า ได้ซ้ำหลายครั้ง และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ดังนั้นบริษัทจะทุ่มเทเงิน ลงทุนเพื่อการวิจัย ค้นคว้าและพัฒนา คุณภาพของสินค้า

รับประกันคุณภาพและความพอใจในตัวสินค้า ลูกค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้หากไม่พึงพอใจภายในระยะเวลาที่กำหนด

ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเป็นสำคัญ เพราะ บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อนักขาย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง

การจ่ายผลประโยชน์ รายได้ และตำแหน่งขึ้นอยู่กับการทำงานของนักขาย นั่นหมายถึง รายได้จะมาจากยอดขายที่ขายสินค้าได้

การก่อตั้งธุรกิจขึ้นอยู่กับการขายสินค้าคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และบริษัทจะให้ความสนใจในการขยายตลาดให้กว้างออกไป

มีนักขายอิสระที่อาศัยการขายสินค้าเพื่อสร้างรายได้ มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมีข้อห้ามมิให้นักขายกักตุนสินค้า นักขายจะเน้นในเรื่องการขายสินค้าและการให้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง

เป็นการขายสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากการขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลีก และเป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้บริโภค นักขาย และบริษัทขายตรงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย




ความเป็นมาของการขายสินค้าระบบขายตรง




การขายสินค้าระบบขายตรงถึงผู้บริโภคเป็นรูปแบบการค้าปลีกที่แพร่หลายในสมัยยุโรปยุคกลางและอเมริการูปแบบการขายตรงแบบชั้นเดียวและพัฒนามาเป็นการขายตรงแบบหลายชั้นซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1940ส่วนประเทศไทยได้นำมาใช้กับธุรกิจการขายประกันชีวิตเมื่อ 50 ปีที่แล้ว และได้มีบทบาทมากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคจึงจัดตั้งสมาคมการขายตรงขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2526

ส่วนปัญหาการขายตรงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและผู้บริโภคกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ในลักษณะควบคุม กำกับ ดูแล ธุรกิจขายตรงได้เพียงพอ เช่น ในการเสนอขายสินค้าที่อวดอ้างสรรพคุณหรือบริการจนถึงขนาดที่อาจมีการกล่าวเท็จหรือเกินความจริง




ลักษณะและกระบวนการของการดำเนินธุรกิจการขายสินค้าระบบขายตรง



ความหมายของการขายตรง หมายถึง การจำหน่ายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภค โดยมีลักษณะเป็นการติดต่อกันโดยตรง โดยไม่ผ่านการจัดวางจำหน่าย

องค์ประกอบการขายตรง ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย




รูปแบบการขายตรง มี 3 แบบ



1. การขายตรงแบบชั้นเดียว คือ การขายแบบเคาะประตูบ้านถึงผู้บริโภคโดยตรง

2. การขายตรงแบบหลายชั้น คือ การขายที่พนักงานขายสินค้าซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจนำไปขายปลีกให้ลูกค้า และขายส่งให้ทีมขาย

3. การขายตรงแบบปิรามิด คือ รูปแบบการลงทุนที่ผู้เป็นสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินลงทุนของสมาชิกคนใหม่ที่หามาได้ โดยการหาสมาชิกจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับปริมาณการขายผลิตภัณฑ์โดยการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยไม่ผ่านการขายปลีก




มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขายตรง



การควบคุมการขายตรงในสหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายระดับสหพันธรัฐได้จัดทำขึ้นใน ค.ศ.1914 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในการแข่งขันที่เป็นธรรม และการถูกหลอกลวงต่อผู้บริโภค โดยให้การควบคุมเรื่องสำเนาใบเสร็จรับเงิน สำเนาสัญญาซื้อขาย หนังสือแบบการเลิกสัญญา



การควบคุมการขายตรงในประเทศอังกฤษ มีสาระสำคัญของบทบัญญัติ

ดังนี้



1. บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการขายตรงว่าด้วยการขายแบบปิรามิด ได้กำหนดองค์ประกอบของแผนการค้า คือ การส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการ การจัดหาบุคคลผู้มีส่วนในแผนการขาย การจัดทำสัญญา

2. บทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยความผิด ถ้าบุคคลละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 119 ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด

3. บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแผนการค้า จัดทำโดยเลขาธิการของมลรัฐ โดยให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องแผนการค้า

การควบคุมการขายตรงในประเทศมาเลเซีย กฎหมายที่ใช้ในการกำกับ ดูแลธุรกิจการขายตรง คือขอบเขตของธุรกิจการขายตรง ลักษณะของการประกอบธุรกิจการขายตรง การให้ระยะเวลาในการใช้สิทธิเลิกสัญญา และบทกำหนดโทษต่อบุคคลที่กฎหมายระบุไว้


การวิเคราะห์ทางกฎหมายและการปรับใช้กฎหมายกับธุรกิจการขายตรง


การวิเคราะห์ทั่วไปของรูปแบบนิติกรรมสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีที่มาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมนีเพื่อประสงค์ไม่ให้นิติกรรมที่จะผูกพันไม่ให้ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการปรับใช้กฎหมายกับสัญญาขายตรง ที่ผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคต้องทำสัญญาผูกพัน ปัญหาในการทำสัญญา คือ ผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดในสัญญา โดยผู้ซื้อจะไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองที่แท้จริง ส่วนปัญหาว่าด้วยการเลิกสัญญา กฎหมายต่างประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนด ในประเทศไทยได้พิจารณาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แยกกรณีการใช้สิทธิเลิกสัญญาเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 ถึง มาตรา 388

2. กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย มาตรา 389บทบัญญัติของประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ถึง มาตรา 389 ยังไม่เพียงพอในการคุ้มครองผู้ซื้อในการเลิกสัญญา



การวิเคราะห์ทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มีอยู่ 3 มาตรา คือ



1. ความรับผิดฐานขายของโดยหลอกลวง มาตรา 271

2. ความรับผิดฐานฉ้อโกง มาตรา 341

3. ความรับผิดฐานฉ้อโกงประชาชน มาตรา 343

โดยสรุปประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จะนำมาใช้กับการขายตรงที่เป็นการหลอกลวงกันยังเป็นการยากที่จะใช้ให้ได้ผลดีอยู่นั่นเอง




บทบัญญัติของกฎหมายอาหารและยาที่เกี่ยวกับการขายตรง



การควบคุมการโฆษณายาจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องยื่นขออนุญาตก่อนที่จะทำการโฆษณา โดยทั่วไปการเผยแพร่ข้อมูลไม่ให้เกิดความสับสนและสำคัญผิดในคุณภาพของสินค้าตลอดจนการแนะนำการใช้ต่อผู้บริโภค ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของการดำเนินการในความหมายของการขายตรงแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีการแนะนำการขายสินค้า หรือสาธิตการใช้สินค้าโดยตรงต่อผู้บริโภคการควบคุมการโฆษณาอาหารในลักษณะทั่วไป ที่ต้องยื่นขออนุญาต โดยข้อความที่ใช้ในการโฆษณานั้นจะต้องไม่เป็นการสร้างความสับสนและสำคัญผิดในคุณภาพ ประโยชน์ สรรพคุณอาหาร โดยลักษณะการควบคุมจะเป็นการควบคุมต่อการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยทั่วไป ก็ถือได้ว่าแนวทางการโฆษณาก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายตรงด้วย แต่ไม่ใช่กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการโฆษณาในการขายตรง


มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการขายสินค้าระบบขายตรง



ความจำเป็นในการประกอบธุรกิจขายสินค้าระบบขายตรงเป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดแนวทางกฎหมายที่ชัดเจนและเหมาะสม รัฐต้องเพิ่มบทบาทในการเพิ่มมาตรการที่จะทำหน้าที่ควบคุม ดูแลการดำเนินธุรกิจและผลประโยชน์ของประชาชนกลไกลทางกฎหมายในส่วนของการขายตรง ในการปรับใช้กฎหมายยังไม่สามารถที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเพียงพอต่อระบบการขายตรง แนวทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการขายตรง คือ มาตรการขออนุญาตในการประกอบธุรกิจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย กำหนดรายละเอียดการเปิดเผยข้อมูล ให้มีกฎระเบียบในการโฆษณา กำหนดรายละเอียดในการจัดตั้งบริษัทผู้ประกอบการ


ขายตรง


การตลาดในปัจจุบันเมื่อผู้ผลิตได้ดำเนินการผลิตสินค้าเรียบร้อยแล้วจะนำสินค้าออกสู่ตลาดการขายตรงเป็นวิธีการกระจายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าในระบบการขายตรงมีหลายชนิดเป็นที่รู้จักของตลาด มีจำนวนสมาชิกหรือลูกค้าจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนขายจำนวนมากเช่นกัน การขายตรงจึงเป็นอาชีพอิสระที่ผู้คนให้ความสนใจเลือกประกอบอาชีพที่ดีที่สุดอาชีพหนึ่ง




ความหมายของขายตรงและตลาดแบบตรง


ขายตรง (Direct Selling หรือ Direct Sales) หมายถึง ระบบการขายโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือตัวแทนขาย เพื่อนำเสนอขายสินค้า หรือบริการต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภค หรือของผู้อื่น หรือ สถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ

ขายตรงจึงเป็นยุทธวิธีที่เจาะจงถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพของตลาดปัจจุบัน เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี

ตลาดแบบตรง (Direct Marketing) หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้า หรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ

ตลาดแบบตรงจึงเป็นวิธีการทางตลาดที่ใช้สื่อต่าง ๆ (Media) เป็นสื่อกลางให้ผู้บริโภคสนใจในตัวสินค้าหรือบริการ โดยไม่ใช่พนักงานขาย (Non-Personal Selling) เช่น การเสนอขายสินค้าทางไปรษณีย์ (T.V.Direct) เป็นต้น



บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขาย


ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้จำหน่ายอิสระตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เพื่อให้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ

ผู้จำหน่ายอิสระ หมายถึง บุคคลที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรง และนำสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค

ตัวแทนขายตรง หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค

ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หมายถึง เจ้าของกิจการขายตรง


การประกอบธุรกิจขายตรง



พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง บัญญัติส่วนของการประกอบธุรกิจขายตรงไว้ดังนี้ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจขายตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงตามพระราชบัญญัติผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องดำเนินกิจการให้เป็นไปตามแผนการจ่ายผลตอบแทนที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนและแผนการจ่ายผลตอบแทนต้องมีลักษณะดังนี้

1. ต้องไม่กำหนดให้ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้าง ได้รับผลตอบแทนที่เป็นรายได้หลักจากการรับสมัครบุคคลหรือแนะนำผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างอื่น เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรง

2. ผลตอบแทนที่เป็นรายได้หลักของผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างขึ้นอยู่กับการขายสินค้า หรือบริการแก่ผู้บริโภค รวมไปถึงการซื้อเพื่อการใช้หรือบริโภคเอง

3. ต้องไม่บังคับให้ผู้จำหน่ายอิสระซื้อสินค้า

4. ต้องไม่ชักจูงให้ผู้จำหน่ายอิสระซื้อสินค้าในปริมาณมากเกินไปอย่างไม่สมเหตุผล

5. ต้องแสดงวิธีการคิดคำนวณการจ่ายผลตอบแทนที่ตรงต่อความเป็นจริงหรือเป็นไปได้จริงและอย่างเปิดเผยชัดเจน

6. ลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด



นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ค่าฝึกอบรม ค่าวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมกาขาย หรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงจากผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างในอัตราสูงกว่าที่คณะกรรมการประกาศกำหนด สัญญาระหว่างผู้จำหน่ายอิสระกับผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้ทำเป็นหนังสือ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้



1. กำหนดเงื่อนไขชัดเจนเกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทนตามแผนการจ่ายผลตอบแทน

2. กำหนดเงื่อนไขชัดเจนเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการสมัคร ค่าฝึกอบรม ค่าวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการขาย หรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

3. กำหนดเงื่อนไขชัดเจนเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงจะรับซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการขาย ชุดคู่มือ หรืออุปกรณ์ส่งเสริมธุรกิจคืนจากผู้จำหน่ายอิสระ ตลอดจนกำหนดระยะเวลาที่ผู้จำหน่ายอิสระสามารถใช้สิทธิ ดังกล่าว




การขายตรงสินค้าหรือบริการ


การนำสินค้า หรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค ผู้จำหน่ายอิสระต้องดำเนินการตามเงื่อนไขและแผนการขายที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงกำหนดการเข้าไปติดต่อเพื่อเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริโภค หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นก่อน และต้องไม่กระทำการอันเป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่บุคคลดังกล่าว ซึ่งผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงแสดงบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรงซึ่งออกโดยผู้ประกอบธุรกิจขายตรงด้วย

ปัจจุบันธุรกิจขายตรงในประเทศไทยมีส่วนสร้างความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อบุคคล สังคมและประเทศชาติโดยเฉพาะในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายจำนวนมาก เช่น ผู้แทนจำหน่ายอิสระผลิตภัณฑ์แอมเวย์ ผลิตภัณฑ์ทัพเพอร์แวร์ ตัวแทนขายเครื่องใช้ไฟฟ้าลักซ์ เครื่องสำอางเอวอนหรือมิสทีน ตลอดจนสินค้าและบริการอื่น ๆ จำนวนมาก ธุรกิจขายตรง จึงเป็นช่องทางการขายปลีกรูปแบบหนึ่งซึ่งผู้บริโภคคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน




จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงไทย



จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ส่งเสริมการแข่งขันอย่างยุติธรรมในขอบเขตของธุรกิจการค้าเสรี เพื่อยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจขายตรงในสายตาสาธารณชนทั่วไป โดยได้รับหลักการและแนวทางจากจรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก ซึ่งบัญญัติขึ้นสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานที่จะยอมรับเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในสมาคมขายโดยตรงของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์ขายตรงโลก เมื่อผู้บริโภคร้องเรียนไปยังสมาคมกาขายตรงไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสนอขายสินค้า และการให้บริการอันไม่เหมาะสมของบริษัทสมาชิกของสมาคม สมาคมจะพิจารณาและหาวิธีการแก้ไขหากการกระทำดังกล่าวผิดต่อจรรยาบรรณ เมื่อบริษัทสมาชิกได้รับแจ้งจากสมาคมให้แก้ไขแล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและข้อบังคับของสมาคมจะได้รับการพิจารณาให้พ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกของสมาคม




จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก



จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก เพื่อให้บรรดาสมาคมขายตรงในประเทศต่าง ๆ ได้ปฏิบัติ




จรรยาบรรณต่อผู้บริโภค



1.ไม่ใช้กลยุทธ์การขาย ตัวแทนขายจะต้องไม่ใช้กลยุทธ์การขายในรูปลักษณ์ที่ชวนให้เข้าใจผิดลวงล่อหรือไม่ยุติธรรม

2. แสดงสถานภาพที่แท้จริงของตน ตัวแทนขายจะต้องแสดงสถานภาพที่แท้จริงของตน ให้ผู้บริโภคที่สนใจได้รับทราบโดยผู้บริโภคไม่ต้องร้องขอตั้งแต่เริ่มทำการเสนอขาย และจะต้องระบุชื่อกิจการที่ตนสังกัด สินค้าที่สำเสนอและจุดประสงค์ของการเชิญชวน ในกรณีการขายแบบเป็นกลุ่มตัวแทนขายต้องระบุจุดประสงค์ของการชุมนุมให้เจ้าภาพ และผู้เข้าร่วมฟังได้ทราบอย่างชัดเจน

3. การอธิบายและการสาธิตสินค้าที่นำเสนอ จะต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วนและถูกต้องโดยเฉพาะเรื่องของราคาสินค้า ราคาสินค้าเงินเชื่อ วิธีการชำระเงิน ระยะเวลาการพิจารณาสินค้า สิทธิการรับคืนสินค้า ระยะเวลาการรับประกัน การบริการหลังการขายและการส่งมอบสินค้า

4.ต้องตอบคำถามของผู้บริโภค ตัวแทนขายจะต้องตอบคำถามทุกคำถามเกี่ยวกับสินค้าและข้อเสนอโดยถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน

5.ยื่นใบสั่งซื้อเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้บริโภค ขณะที่เสนอขายสินค้าหรือบริการตัวแทนขายจะต้องยื่นใบสั่งซื้อเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งจะต้องระบุชื่อบริษัทและตัวแทนขาย ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และเงื่อนไขการขายให้ชัดเจน

6.ให้คำมั่นสัญญาด้วยวาจาตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกิจการเท่านั้น

7. ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ธุรกิจขายตรงและตัวแทนขายจะต้องตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการขาย เช่น ใบสั่งซื้อ แค็ตตาล็อก คู่มือแนะนำสินค้า เงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาในการส่งมอบสินค้า การขอรับเงินคืน ฯลฯ เอกสารทุกชนิดจะต้องมีความถูกต้อง

8. การรับประกันหรือากรรับรองของตัวแทนขาย เงื่อนไขรายละเอียด และข้อจำกัดของการให้บริการหลังการขาย ชื่อและที่อยู่ของผู้รับประกัน ระยะเวลาการรับประกันและมาตรการการแก้ไขในส่วนของผู้ซื้อจะระบุไว้อย่างชัดเจนในใบสั่งซื้อ หรือใบกรอกสารอื่น ๆ ที่ส่งมาด้วย หรือในเอกสารที่แนบมาพร้อมกับสินค้า

9. เอกสารส่งเสริมการขาย การโฆษณา หรือเอกสารที่จัดส่งทางไปรษณีย์จะไม่มีข้อความบรรยาย รายละเอียดคุณสมบัติหรือภาพประกอบของสินค้า หรือชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือมีลักษณะลวงล่อจะระบุชื่อ และที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ของธุรกิจหรือตัวแทนขายไว้ด้วย

10. ไม่กล่าวคำอวดอ้าง ธุรกิจขายตรง และตัวแทนขายจะไม่กล่าวคำอวดอ้าง หรือคำยืนยันที่มิได้รับอนุญาตหรือไม่เป็นความจริงล้าสมัยหรือไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่นำเสนอหรือนำมาใช้ในลักษณะชี้นำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด

11.ละเว้นไม่ใช้การเปรียบเทียบ ธุรกิจขายตรงและตัวแทนขายจะละเว้นไม่ใช้การเปรียบเทียบอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและขัดต่อหลักการว่าด้วยการแข่งขันที่ยุติธรรม การเปรียบเทียบจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ จะไม่ให้ร้ายป้ายสีธุรกิจหรือสินค้าใด ๆ โดยไม่ยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม และจะไม่นำชื่อหรือสัญลักษณ์การค้าของสินค้าหรือบริษัทอื่น ตลอดจนชื่อเสียงที่ผนวกกับสิ่งเหล่านี้มาหาผลประโยชน์โดยไม่ยุติธรรม

12.การติดต่อโดยส่วนตัวหรือทางโทรศัพท์ จะกระทำในลักษณะพอเหมาะพอดีในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดผลการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ตัวแทนขายจะหยุดการสาธิตหรือการเสนอขายเมื่อผู้บริโภคร้องขอ

13. ไม่นำเอาความไว้วางใจของผู้บริโภคมอบให้มาแสวงหาผลประโยชน์ ธุรกิจขายตรงและตัวแทนขายจะไม่นำเอาความไว้วางใจของผู้บริโภคที่มอบให้มาแสดงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ จะให้ความเคารพต่อการขาดประสบการณ์ด้านธุรกิจของผู้บริโภคและจะไม่ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากวัยความเจ็บป่วย การขาดความเข้าใจหรือความรู้ทางด้านภาษาของผู้บริโภค

14. ไม่โน้มน้าวให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการ ธุรกิจขายตรงและตัวแทนขายจะไม่โน้มน้าวให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการ โดยอ้างกับผู้บริโภคว่าจะได้รับส่วนลดบางส่วนหรือเต็มราคา หากสามารถชักชวนให้ผู้บริโภคคนอื่น ๆ สั่งซื้อสินค้าอย่างเดียวกันนั้นกับตัวแทนขาย

15. ส่งมอบสินค้าในเวลาที่เหมาะสม ธุรกิจขายตรง และตัวแทนขายจะต้องส่งมอบสินค้าตามใบสั่งซื้อของผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือกำหนดไว้

การดำเนินธุรกิจขายตรงของตัวแทนขายยังมีจรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก ต่อตัวแทนขาย ระหว่างตัวแทนขายและระหว่างบริษัทสมาชิก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองตัวแทนขาย เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างยุติธรรมในขอบเขตของธุรกิจการค้าเสรี เพื่อยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจขายตรงในสายตาของสาธารณชนทั่วไป และเพื่อนำเสนอโอกาสทางอาชีพในวงการธุรกิจขายตรงในด้านจริยธรรม




ระบบการขายตรง (Direct Sales System) หมายถึง การทำตลาดสินค้าในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือที่อยู่อาศัยของผู้อื่น ณ ที่ทำงานของผู้บริโภคหรือที่อื่นๆ โดยผู้ขายตรงใช้การอธิบายหรือการสาธิตสินค้าเป็นกลยุทธ์หลักในการเสนอขาย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระบบการขายตรงในเมืองไทยนับเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในวงการธุรกิจประเภทต่างๆมากขึ้น (ซึ่งระบบการขายตรงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น) ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ธุรกิจประเภทต่างๆประสบความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ แต่ธุรกิจขายตรงในประเทศไทยเจริญเติบโตสวนกระแสธุรกิจ ด้วยปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดอย่างมหาศาล ทำให้บริษัทที่ใช้ระบบการขายตรงต่างระดมกลยุทธ์การตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างกว้างขวาง



ระบบการขายตรงหลายชั้น (Direct Selling-Multi Level Marketing : MLM) เป็นการขายต่อๆกันเป็นเครือข่ายหลายชั้น ผู้ขายเป็นนักขายอิสระไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทโดยนักขายสามารถสร้างรายได้จากการทำงาน 2 วิธีรวมกัน คือ



1. ผลกำไรจากการขายปลีก ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทกับราคาขายปลีกที่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภค

2. คอมมิชชั่นหรือส่วนลดตามระดับยอดขายของสินค้าหรือบริการที่มีการสั่งซื้อ (เพื่อบริโภคหรือเพื่อขายให้กับผู้ขายคนอื่นต่อๆไป) จากผู้ขายที่ได้ชักชวนเข้ามาสมัครร่วมธุรกิจในทีมขาย หรือที่เรียกว่า "สปอนเซอร์" ในระดับเป็นชั้นต่อๆไป

หลักการของระบบการตลาดหลายชั้นคือ การที่นักขายได้รับผลตอบแทนทั้งจากที่ตนเองขายปลีก และผลตอบแทนจากการขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักขายในกลุ่มของตนชวนมาร่วมกันขาย จนมียอดขายรวมเป็นก้อนใหญ่ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเกิดจากการสปอนเซอร์หรือชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมธุรกิจ อันทำให้ระบบการตลาดหลายชั้นเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงสุดในธุรกิจขายตรงปัจจุบันปัจจุบันบริษัทขายตรงในประเทศไทยส่วนมากใช้ระบบการตลาดหลายชั้น เช่น บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนลอิ้ง จำกัด, บริษัท นูสกิน เพอร์ซันแนลแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สปอร์ตทรอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ฯลฯ




Direct selling



Direct selling is the marketing and selling of products directly to consumers away from a fixed retail location. Peddling is the oldest form of direct selling. Modern direct selling includes sales made through the party plan, one-on-one demonstrations, and other personal contact arrangements as well as internet sales. A textbook definition is: "The direct personal presentation, demonstration, and sale of products and services to consumers, usually in their homes or at their jobs."
Industry representative, the World Federation of Direct Selling Associations (WFDSA), reports that its 59 regional member associations accounted for more than US$114 Billion in retail sales in 2007, through the activities of more than 62 million independent sales representatives. The United States Direct Selling Association (DSA) reported that in 2000, 55% of adult Americans had at some time purchased goods or services from a direct selling representative and 20% reported that they were currently(6%) or had been in the past(14%) a direct selling representative.
According to the WFDSA, consumers benefit from direct selling because of the convenience and service it provides, including personal demonstration and explanation of products, home delivery, and generous satisfaction guarantees. In contrast to franchising, the cost for an individual to start an independent direct selling business is typically very low with little or no required inventory or other cash commitments to begin.
Most direct selling associations, including the Bundesverband Direktvertrieb Deutschland, the direct selling association of Germany, and the WFDSA and DSA require their members to abide by a code of conduct towards a fair partnership both with customers and salesmen. Most national direct selling associations are represented in the World Federation of Direct Selling Associations (WFDSA).
Direct selling is distinct from direct marketing because it is about individual sales agents reaching and dealing directly with clients. Direct marketing is about business organizations seeking a relationship with their customers without going through an agent/consultant or retail outlet. Direct selling often, but not always, uses multi-level marketing (salesperson is paid for selling and for sales made by people he recruits or sponsors) rather than single-level marketing (salesperson is paid only for the sales he makes himself).













ไฟล์แนบ (0)

ความคิดเห็น

เพิ่มความคิดเห็น








Open More Actions menu (m)

Original Text:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น