12 กันยายน 2554

จรรยาบรรณและกฏหมายขายตรง

   จรรยาบรรณและกฏหมายขายตรง





 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 






จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก
 
 
 





















จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลกบัญญัติขึ้น โดยสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก (World Federation of Direct Selling Associations) ร่วมกับสมาคมการขายโดยตรงในประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ โดยถือเป็นข้อปฏิบัติข้อหนึ่งของการสมัครเป็นสมาชิกและการดำรงสมาชิกภาพในสมาพันธ์
ซึ่งบริษัทที่เป็น สมาชิกของสมาคมการขายโดยตรง ต้องยอมรับและให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อบังคับของจรรยาบรรณทุก ประการ

จรรยาบรรณนี้ไม่ใช่กฎหมายแต่ถือเป็นมาตรการดูแลควบคุมตนเองที่วงการ ธุรกิจ ขายตรงบัญญัติขึ้นมา ซึ่งสมาชิกต้องปฏิบัติตนอย่างมีมาตรฐานทางจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลกต่อผู้บริโภค

ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทที่ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ขายตรงฝ่าย หนึ่งกับผู้บริโภคอีกฝ่ายหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่าง ยุติธรรมในขอบเขตของธุรกิจการค้าเสรีและเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของธุรกิจขาย ตรงในสายตาของ สาธารณชนทั่วไป


1. การปฏิบัติที่ต้องห้าม

ผู้ขายตรงต้องไม่ใช้วิธีการลวงล่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่น ไม่โอ้อวดสรรพคุณของสินค้าเกินความจริง รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านราคาบริการ และสิทธิพิเศษอื่นใดที่ผู้บริโภคควรจะได้รับ



2. การแสดงตัว

ผู้ขายตรงต้องแนะนำตัวให้ผู้บริโภครู้จักตั้งแต่ต้น โดยบอกกล่าวถึงชื่อบริษัทต้นสังกัด สินค้าที่แนะนำ จุดประสงค์ ในการจัดประชุมหรือสาธิตสินค้าให้ผู้บริโภคและเจ้าของสถานที่ทราบอย่าง ชัดเจน เพื่อแสดง ความจริงใจและเจตนาอันชัดแจ้ง โดยไม่ปิดบังอำพรางหรือหลอกลวงแต่อย่างใด
3. การอธิบายและการสาธิต

ผู้ขายตรงต้องอธิบายคุณลักษณะและคุณประโยชน์ตลอดจนสาธิตสินค้าอย่างครบ ถ้วนและถูกต้อง โดยเฉพาะ ราคาจำหน่าย ที่เป็นเงินสดหรือเงินเชื่อในกรณีพิเศษ วิธีการชำระเงิน ช่วงเวลาการพิจารณาสินค้าหรือ ตัดสินใจ ว่าจะซื้อสินค้าไว้ใช้หรือไม่ สิทธิและเงื่อนไขในการคืนสินค้า ระยะเวลาการรับประกันสินค้า การ รับประกันความพอใจ บริการหลังการขายที่มีให้ รวมทั้งกำหนดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้บริโภค
4. การตอบคำถาม

ผู้ขายตรงต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริษัท และอื่นๆ ที่ผู้บริโภคต้องการทราบอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และหากผู้บริโภคมีคำถามที่ข้องใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ผู้ขายตรงต้องอธิบายให้เป็นที่เข้าใจอย่าง ชัดเจนโดยทั่วกัน
5. ใบสั่งซื้อ

ผู้ขายตรงต้องมอบใบสั่งซื้อที่เป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้บริโภค เมื่อแนะนำและเสนอขายสินค้า โดยใบสั่งซื้อ ต้องระบุชื่อบริษัทและและชื่อผู้ขายตรงอย่างสมบูรณ์ พร้อมรายละเอียดที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ ได้สะดวกของบริษัทหรือของผู้ขายตรง รวมถึงเงื่อนไขการจำหน่ายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภค ทราบเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า
6. การให้สัญญาด้วยวาจา

ผู้ขายตรงต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าตามความเป็นจริง ดังข้อมูลที่บริษัทเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ซึ่ง ได้รับการรับรองจากบริษัทแล้วว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและสมควรแจ้งให้ผู้ บริโภคทราบก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า นั้นๆ

7. ระยะเวลาการพิจารณาสินค้าและการคืนสินค้า

บริษัทและผู้ขายต้องคุ้มครองและรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคและ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจขาย ตรงดวยการแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเกี่ยวกับระยะเวลาการพิจารณาสินคาและการคืน สินค้าอย่างชัดเจน ทั้งใน เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรและการแจ้งโดยวาจารายละเอียดที่แจ้งต้องครอบ คลุม เงื่อนไข ระยะเวลาการ พิจารณาสินค้าและวิธีการติดต่อส่งคืนสินค้า หากผู้บริโภคต้องการคืนสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด
8. การรับประกันและการบริการหลังการขาย

ผู้ขายตรงต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงเงื่อนไขและระยะเวลาการรับประกัน สนิค้า ทั้งการรับประกันคุณภาพ และการรับประกันความพอใจ (ถ้ามี) รวมทั้งชื่อและที่อยู่ของบริษัทและผู้ขายตรง ตลอดจนวิธีการจัดการและ ช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องการบริการหลังการขาย โดยข้อความการรับประกัน และการบริการหลังการขายนี้ต้องระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในเอกสาร ต่างๆ ของบริษัทที่มีไปถึงผู้บริโภค
9. เอกสารประกอบการขาย

บริษัทต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณประโยชน์ ตลอดจนภาพประกอบของสินค้าตามความ เป็นจริงโดยไม่โอ้อวดสรรคุณของสินนค้าให้เกิดความเข้าใจผิดแด่ผู้บริโภค โดยเอกสารที่เผยแพร่นั้นต้อง ระบุชื่อและที่อยู่ หรือหมายเลข โทรศัพท์ของบริษัทหรือของผู้ขายตรงไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคติดต่อ กลับได้โดยสะดวก
10. คำอวดอ้าง

บริษัทและผู้ขายต้องรักษาจรรยาบรรณและปฏิบัติตรมกฎหมายบ้านเมืองอย่าง เคร่งครัด โดยไม่กล่าวคำ อวดอ้างหรือคำยืนยันใดๆ ที่มิได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือข้อความนั้นๆ มีลักษณะที่ไม่เป็น ความจริงล้าสมัย ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่นำเสนอ หรือมีลักษณะชี้นำที่ทำให้ ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด
11. การเปรียบเทียบและการให้ร้าย

ธุรกิจขายตรงเป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานนของความยุติธรรมต่อผู้ บริโภคผู้ขายตรงและเพื่อร่วมธุรกิจ ผุ้ขาย ตรงจึงต้องอธิบายคุณลักษณะ และคุณประโยชน์ของสินค้าให้ผู้บริโภครับทราบด้ายการมีใจเป็นกลาง โดยไม่ เปรียบเทียบด้วยการให้ร้ายป้ายสีบริษัทหรือสินค้าใดๆ อย่างไม่ยุติธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม และต้องไม่ นำชื่อหรอสัญลักษณ์ทางการค้าของสินค้าหรือบริษัทอื่นๆ เพื่อหาผลประโยชน์อย่างไม่ยุติธรรม
12. การเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัว

ผู้ขายตรงต้องเคารพสิทธิของผู้บริโภคและมีมารยาทในการติดต่อ แนะนำหรือสาธิตสินค้าทั้งด้วยตนเองและ ทางโทรศัพท์อย่างรู้กาลเทศะ โดยจะติดต่อในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อรักษาสิทธิ ความเป็นส่วนตัวของผู้- บริโภคและจะหยุดการแนะนำหรือสาธิตสินค้าทันที เมื่อผู้บริโภคแจ้งให้ทราบ
13. ความยุติธรรม

ความไว้วางใจจากผู้บริโภคคือสิ่งแสดงคุณค่าของการเป็นผู้ขายตรง เรพาะการที่ผุ้บริโภคให้ความไว้วางใจย ย่อมหมายถึงการได้บริการที่ซื้อสัตย์และจริงใจ ผู้ขายตรงจึงต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สินค้าอย่างถูกต้องตาม ความเป็นจริงและให้บริการแก่ผู้บริโภค โดยไม่ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ในทางมิชอบจากการขาดความรู้ และประสบการณ์ของผู้บริโภคไม่ว่าในกรณีใดๆ
14. การขายด้วยการขอรายชื่อแนะนำ

บริษัทและผู้ขายตรงต้องไม่ใชข้วิธีการโน้มน้าวโดยใช้ผลประโยชน์ลวงล่อผู้ บริโภคให้ซื้อสินค้าของตน เช่น การอ้างว่าผู้บริโภค จะได้รับส่วนลด ของแถม หรือผละประโยชน์อื่นใด หากสามารถชักขวนให้ผู้อื่นซื้อ สินค้าที่ผู้ขายตรงต้องการเสนอขาย ซึ่งการลดราคาหรือการคืนสินค้าราคาดังกล่าวอาจเป็นเพียงเงื่อนไขที่ไม่ สามารถยืนยันหรือรับรองได้ในอนาคต

การตรงต่อเวลาคือคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ขายตรง ผู้ขายตรงจึงต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้บริโภค อย่างครบถ้วนและตรงเวลา อันจะเป็นการสร้างความประทับใจและสัมพันธภาพที่ดีแก่ผู้บริโภคในบริการที่ได้รับ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น