16 พฤษภาคม 2561

เรื่องน่าทึ่ง...อินทรีเจ้าเวหา...ราชาแห่งนก

เรื่องน่าทึ่ง...อินทรีเจ้าเวหา...ราชาแห่งนก


ชีวิตมีสองมุมมองให้เราเลือก
มุมหนึ่ง... ทุกๆ เรื่องราวในชีวิตไร้ซึ่งปฏิหาริย์
และอีกมุมหนึ่ง...ทุกๆ เรื่องราวในชีวิตล้วนเต็มไปด้วยปาฏิหาริย์




































เช่นเดียวกับชีวิตอินทรี เจ้าเวหาผู้ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งนกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก โดยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานถึง ๗0 ปี ทว่าเบื้องหลังปีกกว้าง
ที่โบยบินเหนือผืนฟ้าที่สง่างาม ภายใต้กรงเล็บที่ทรงพลังน่าเกรงขามกลับมีเรื่องราวแห่งชีวิตที่ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ดุจปฏิหาริย์...
โดยธรรมชาติ...ก่อนอินทรีทุกตัวลืมตาขึ้นดูโลก พ่อแม่อินทรีจะช่วยกันสร้างรังบนชะง่อนผาสูงชัน เตรียมวางไข่ ภายในรังนั้นประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ
ที่มีความหนาถึง ๕ ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นก้อนหิน ชั้นต่อๆ มาเป็นท่อนไม้ และขนอ่อนนุ่มจากอกแม่อินทรี ตามลำดับ เมื่อเสร็จสิ้น แม่นกอินทรีจะวางไข่
ราว ๓-๔ ฟองลงไปในรัง และจะกกไข่เป็นเวลานานพอสมควร จนไข่ฟักออกมาเป็นตัว เมื่อลูกนกอินทรีโตพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว บทเรียนแรก
แห่งชีวิตก็ได้เริ่มต้นขึ้น แม่นกอินทรีจะฝึกสอนลูกอินทรีด้วยวิธีการต่างๆ ๕ ขั้นตอน เริ่มจากจิกเอาขนนุ่มๆ ออกจากรัง ลูกๆ เริ่มลำบาก นอนไม่สบาย
เหมือนอย่างเคย แต่เพียงไม่นานนักก็เริ่มปรับตัวได้ จากนั้นจึงเอาใบไม้ออกจากรังจนหมด เหลือแต่หนามแหลมๆ ลูกๆ ต้องพยายามนอนบนหนามให้ได้
นั้นหมายความว่าเหล่าอินทรีน้อยจะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่ว่าจะพลิกตัวไปทางซ้ายหรือขวา ถ้าประมาทก็จะโดนหนามทิ่มแทงเอาได้ง่ายๆ
ต่อมาเอาหนามออกบ้าง ถึงตอนนี้กล้ามเนื้อขาของลูกๆ เริ่มแข็งแรงสามารถเกาะกิ่งไม้หลับนกได้สบายๆ ลำดับต่อมาจึงเอากิ่งไม้ออก เหลือแต่ฐาน
ที่เป็นก้อนหินแข็ง ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดอีกแล้ว หากลูกๆ อดทนได้ย่อมแสดงว่าลูกทุกตัวมีความพร้อมที่จะฝึกบินแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอน
สุดท้ายในการฝึกสอนของแม่อินทรี
















YouTube Video



เวลาที่แม่อินทรีฝึกสอนลูกให้บินนั้น แม่อินทรีจะคาบลูกทีละตัว แล้วกางปีกกว้างโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้า อินทรีน้อยจะเพลิดเพลินกับการได้เห็นโลกในอีกมุมมองหนึ่ง ครั้นในวันต่อๆ มาแม่อินทรีไม่ได้คาบลูกไว้ในปาก แต่จะแหย่ปีกลงไปในรังเพื่อให้ลูกตะกายขึ้นมาอยู่บนปีก ก่อนจะพาลูกโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้าอีกครั้ง จากนั้นจึงมาถึงขั้นตอนสำคัญ แม่อินทรีพาลูกบินทีละตัว โดยบินโบกไปมาอย่างรวดเร็ว ก่อสลัดปีกอย่างแรงให้ร่างลูกน้อยร่วงหล่น ลอยคว้างกลางอากาศ เจ้าอินทรีขยับปีกไปมาเพื่อประคองตัวเอง แต่ไม่เป็นผล ร่างของอินทรีน้อยเหมือนจะร่วงดิ่งลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว แต่แล้วแม่อินทรีก็บินโฉบลงมารับลูกกลับรังอย่างปลอดภัย แม่อินทรีฝึกลูกๆ แบบนี้ทุกตัวจนลูกเริ่มกางปีกร่อนกลางอากาศได้ และสามารถบินไปพร้อมกับแม่ได้ในที่สุด














































































































นับเป็นเรื่องน่าทึ่งอย่างหนึ่งของอินทรี เราไม่รู้ว่ามันมีกระบวนการคิดเช่นนี้ได้อย่างไร แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าหลายๆ ครั้งในสิ่งที่เกิดขึ้น และหลายๆคนเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า "ปาฏิหาริย์" แท้จริงแล้วเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เราต้องมีขั้นตอน มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ความเข้มแข็ง ความกล้าแกร่ง ที่จะยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยง่าย แต่ต้องผ่านพ้นความอดทน การดิ้นรน มานับครั้งไม่ถ้วนเสมอ ชีวิตอินทรีเป็นแบบนั้น และเมื่อเหล่าอินทรีน้อยเติบโตขึ้น ปีกกล้า ขาแข็ง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง วันเวลาแห่งการจากลาของ พ่อ แม่ และลูกๆ อินทรีก็มาถึง พ่อแม่อินทรีจะพาลูกๆ บินไปชื่นชมความงดงามของธรรมชาติไกลสุดขอบฟ้าก่อนจะบินแยกทางกัน ลูกอินทรีต่างคนต่างไป แยกย้ายไปคนละทิศคนละทางเพื่อจะเรียนรู้และสร้างอาณาจักรของตัวเองต่อไป





























.
























เมื่อเวลาล่วงผ่าน อินทรีน้อยเติบใหญ่...ในวัย ๔0 ปี มันจะต้องเผชิญกับอุปสรรคอันใหญ่หลวงอีกครั้ง จงอยปากของมันเริ่มงองุ้ม จะจิก จะกินอะไร ก็ทำได้ยาก เช่นเดียวกับเล็บที่ยาว และโค้งงอไม่สามารถจับสัตว์กินเป็นอาหารได้อย่างเก่า อีกทั้งปีกงามก็เกิดขนปกคลุมจนหนาและหนัก ทำการบินแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก ช่วงเวลานี้กินเวลายาวนานถึง ๑๕0 วัน มันมีทางเลือกเพียง ๒ ทางเท่านั้น คือ ปลิดชีวิตตัวเองเสีย หรือรักษาชีวิตให้ดำเนินต่อไป แต่ต้องผ่านบททดสอบที่แสนสาหัสสากรรจ์ หากเลือกหนทางแรก มันเพียงใช้กรงเล็บอันแหลมคมปาดคอตัวเอง ชีวิตที่จะต้องทนทุกข์ทรมานก็จบสิ้นลง แต่หากเลือกหนทางที่สอง มันจะบินขึ้นสู่ภูเขาหินสูงแล้วเคาะจงอยปากของมันกับหินนับร้อย นับพันครั้ง เพื่อให้จงอยปากของมันหลุดออกมา จากนั้นก็ต้องเคาะเล็บของตัวเองที่งองุ้มกับพื้นหินแข็งๆ เพื่อให้เล็บหลุดออกทีละเล็บๆ จนหมดสิ้น ทั้งต้องจิกขนที่หนาเตอะตรงอกและปีก ออกทีละชิ้นๆจนไม่มีเหลือ แน่นอนว่ากระบวนการเหล่านี้คือความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แต่ครั้นเวลาผ่านไปจนครบ ๑๕0 วัน รางวัลที่มันจะได้รับก็คือ จงอยปากที่งอกออกมาใหม่สวยงามกว่าเดิม เช่นเดียวกับขนที่สวยงาม และเล็บอันแหลมคมเหมาะแก่การดำรงชีวิต และล่าสัตว์ แต่สิ่งสำคัญคือ มันจะมีชีวิตต่อไปได้อีก ๓0 ปี เป็นชีวิตที่สง่างามและมีเกียรติ ด้วยผ่านบททดสอบอันยิ่งใหญ่ของชีวิตมาได้ มันจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วยปีกที่ทรงพลัง และความมั่นใจมากกว่าเดิม






















ภาพจากอินเทอร์เน็ต

ชีวิตในวัย ๔0 ปี ของอินทรี ทำให้เราได้ตระหนักว่า แท้จริงแล้วเส้นบางๆ ที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้ ก็คือการตัดสินใจของตัวเราเอง การมีชีวิตที่ยืนยาวได้อย่างสง่างาม และมีเกียรติใช่ว่าชีวิตนั้นจะไม่เคยผ่านความเจ็บปวด หรือความอดทนใดๆ มาก่อน หากแต่ทุกชีวิต หรือทุกสรรพสิ่งย่อมต้องผ่านบททดสอบ ต้องมีการเรียนรู้ เพื่อหาหนทางที่จะก้าวเดินต่อไปเสมอ
 




























ภาพจากอินเทอร์เน็ต


CR  ::   จากหนังสือ "อู่เรือหลวง ๑๒๓ ปี เรื่องดีๆ ที่ฝั่งธนฯ" 
                OK Nation Blog 



1 ความคิดเห็น:

  1. อินทรี กับคำว่า อินทรีย์ ควรใช้อย่างไร

    คำบางคำ ดูเพียงรูปคำแล้วก็นึกว่าผิด เช่นคำว่า " อินทรี " ที่เราหมายถึง นกขนาดใหญ่
    คนมักเขียนเป็น " อินทรีย์ " ที่มี ย ยักต์การันต์ เพราะเห็นว่ามีขนาดใหญ่ เลยใส่เข้าไป
    ให้ดูเหมาะสมยิ่งขึ้น

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำทั้งสองเอาไว้ว่า

    " อินทรี 1 (-ซี) น.ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม
    กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมี 6 ชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus)
    อินทรีดำ (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).

    อินทรี 2 ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในหลายวงศ์ ลำตัวแบนข้างเรียวยาว
    คอดหางกิ่ว ปลายหางเป็นแฉกลึก อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ เช่น
    อินทรีบั้ง (Scomberomorus commerson) อินทรีจุด (S.guttatus)
    ในวงศ์ Scombridae. "

    " อินทรีย-, อินทรีย์ (-ซียะ, -ซี) น.ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวม
    อินทรีย์ ; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า ; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส.อินฺทฺริย).
    อินทรียโคจร ว.อยู่ในเขตความรู้สึก, ซึ่งรู้สึกได้. (ส.). อินทรียญาณ น.ความรู้สึก.
    (ป.) .อินทรียสังวร น.ความสำรวยอินทรีย์ คือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. (ป.)."

    มีวิธีจำก็คือ ถ้าเป็นเรื่อง ปลา กับ นก จะต้องเป็นคำว่า " อินทรี " ที่ไม่มี ย ยักษ์การันต์

    ตอบลบ