เมื่อผู้สูงอายุอาเจียน
การอาเจียน (Vomiting) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีความ-ผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร โดยจะมีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน เป็นกันได้ทุกวัย ทั้งในเด็ก คนวัยหนุ่มสาว และคนสูงอายุ ซึ่งคนกลุ่มหลังนี้ต้องการ การดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นวัยที่อ่อนแอ เปราะบาง และส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัวทางอายุรกรรมร่วมด้วย
ตามปกติแล้วสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน คือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดการติดเชื้อได้ตั้งแต่ในกระเพาะอาหารจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่อไปนี้มักจะเป็นสาเหตุของการอาเจียนที่พบบ่อย
• | อาหารเป็นพิษจากการมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ซึ่งอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย การรับประทานอาหารในหน้าร้อนนี้ จึงควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ | |
• | โรคกระเพาะ หรือกระเพาะอาหารอักเสบ | |
• | อาเจียนจากการไอมากๆ | |
• | เกิดการอุดตันในลำไส้ | |
• | เกิดจากโรคบางโรค | |
• | อาเจียนหลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก | |
• | เป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด หรือแพ้ยา ซึ่งควรกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้จ่ายยาหรือพบแพทย์ประจำตัว | |
• | เมาพาหนะ เช่น เมารถ เมาเรือ | |
• | อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมาก | |
• | เกี่ยวเนื่องจากระบบประสาท เช่น มีความเครียดมาก ตื่นเต้น หรืออยู่ในภาวะกดดัน |
การอาเจียนยังเป็นอาการของโรคอื่นๆ อีกหลายๆ โรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับสมอง ตับ ไต รวมถึงโรคมะเร็งด้วย ซึ่งหากเป็นมากกว่า 1 ครั้ง ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อเกิดอาเจียนจำเป็นจะต้องระมัดระวังเรื่องของอาการ ขาดน้ำ (dehydration) เป็นสำคัญ โดยเฉพาะในคนอ่อนแออย่างคน สูงอายุ ซึ่งเมื่อมีอาการขาดน้ำและอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ต้องรีบพาไปพบแพทย์
• | รอบดวงตาคล้ำ | |
• | ปากแห้ง | |
• | ปัสสาวะน้อยลง | |
• | ผิวหนังแห้งและไม่ดีดตัวกลับเมื่อคุณหยิกหรือจิกลงไประหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ | |
• | รู้สึกเวียนงง และสับสน | |
• | มีไข้สูงกว่า 101 ํ F นานกว่า 24 ชั่วโมง | |
• | ความดันโลหิตสูงขึ้นหรือลดลงอย่างมาก | |
• | อ่อนเพลียมาก | |
• | อาเจียนมากไม่หยุด และปวดท้องรุนแรง | |
• | อาเจียนในขณะที่เป็นเบาหวาน | |
• | ผิวซีดเหลือง รวมทั้งตาขาวเป็นสีเหลืองด้วย | |
• | อาเจียนเป็นเลือด หรือสีเหมือนน้ำกาแฟ |
แต่ในกรณีที่มีสาเหตุที่ไม่รุนแรงหรือได้รับการวินิจฉัยรักษาจากแพทย์แล้ว หลังจากมีอาการดีขึ้นแล้วลูกหลานหรือผู้ดูแลควรให้การดูแลผู้สูงอายุดังนี้
• | ให้งดรับประทานอาหารใดๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะได้พัก แต่ให้ค่อยๆ จิบน้ำเปล่าได้ เมื่อไม่มีอาการคลื่นไส้ | |
• | เมื่อหายจากอาการคลื่นไส้ให้เริ่มต้นด้วยอาหารอ่อนๆ เช่น ซุปใส เยลลี่ น้ำโซดาเปล่าๆ แต่อย่าดื่มเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม | |
• | ในวันต่อมาให้รับประทานอาหารอ่อนนุ่ม เช่น ข้าวต้ม กล้วยสุก ซุป และควรรับประทานในปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง ลองดูว่ากระเพาะรับได้หรือไม่ อย่ารับประทานครั้งและมากๆ | |
• | พักผ่อนให้มากๆ ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อากาศเย็นสบาย | |
• | อย่าดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม | |
• | หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โคคา-โคล่า เพราะจะระคายเคืองกระเพาะอาหาร รับประทานยาตามแพทย์สั่ง |
การอาเจียนเป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้น จึงอย่าชะล่าใจโดยเฉพาะในผู้สูงวัย ดูแลใส่ใจท่านอย่างใกล้ชิด แม้หายอาเจียนแล้วก็ยังต้องคอยดูอาการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น