10 เมษายน 2555

เคล็ดวิธีจัดอาหาร สำหรับบ้านที่มี "ผู้สูงอายุ"

เคล็ดวิธีจัดอาหาร สำหรับบ้านที่มี "ผู้สูงอายุ"



ด้วยความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายผู้สูงวัย ทำให้เกิดปัญหาของระบบต่างๆ ที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ

เช่น ปัญหาการย่อย ความสามารถในการดูดซึมอาหารของลำไส้ลดลง ถุงน้ำดีเสื่อมประสิทธิภาพ ส่งผลให้

การดูดซึมของไขมัน และวิตามินลดลง การบีบตัวของลำไส้น้อยลง ตลอดจนฟันหัก ฟันโยก เป็นต้น

      
       ปัญหาข้างต้น ถือเป็นเรื่องหนักใจไม่น้อย แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยท่านได้คือ การจัดอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

และให้สอดรับกับสภาวะในร่างกาย ดังนั้นในวันนี้ทีมงาน Life and Family มีคำแนะนำที่น่าสนใจจากนักโภชนาการมาเผย



เคล็ดวิธีจัดอาหารสำหรับบ้านที่มี ผู้สูงวัยโดยเฉพาะกัน





หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงวัยนั้น "เพชร ดาว ทัศนศร" นักโภชนาการ ประจำโรงพยาบาลเวชธานี ซึ่งได้ให้แนวทางไว้


เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. มีปริมาณสารอาหาร และคุณค่าทางอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

2. การจัดอาหารแต่ละมื้อ ควรมีปริมาณอาหารลดลง และกินให้บ่อยครั้งกว่าเดิม

3. อาหารประเภทผักต่างๆ ควรปรุงด้วยวิธีต้ม หรือนึ่ง หลีกเลี่ยงการกินผักสด เพราะทำให้เกิดแก๊ส และทำให้ท้องอืด

4. ควรเป็นอาหารประเภทน้ำ เพื่อช่วยหล่อลื่นหลอดอาหาร ทำให้กลืนอาหารได้สะดวกขึ้น

5. จัดผลไม้สดให้ผู้สูงอายุกินทุกวัน และต้องเป็นผลไม้นิ่ม เคี้ยวง่าย เพื่อช่วยในการขับถ่าย

6. ผู้สูงอายุที่ชอบของหวานจัดให้ได้บ้าง แต่ไม่ควรบ่อยนัก ควรเป็นขนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เต้าส่วน

กล้วยบวดชี เป็นต้น

7. จัดเวลาในการกินอาหาร ไม่ควรเร่งรีบ เพราะอาจสำลัก และเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด มีผลต่อการย่อยได้

8. จัดอาหารย่อยง่าย และจัดเตรียมให้น่ารับประทานทั้งกลิ่น และสี



นอกจากนี้ สารอาหารยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จัดอาหารจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดย


สารอาหารที่ผู้สูงวัยต้องการนั้น นักโภชนาการ ให้ความรู้ในแต่ละส่วนดังนี้ คือ





1. พลังงาน พลังงานที่ผู้สูงอายุได้รับไม่ควรน้อยกว่า 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน นอกจากกรณีที่จำเป็นต้องลดน้ำหนัก

ควรควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วน เพราะจะทำให้เกิดหลายโรค เช่น เบาหวาน หัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

2. โปรตีน จำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ความต้องการโปรตีน 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

โปรตีนที่ได้รับต้องเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง สำหรับเนื้อสัตว์ควรสับให้ละเอียด หรือต้มให้เปื่อย

เพื่อง่ายต่อการย่อย ส่วนไข่ จะมีธาตุเหล็กสูง เป็นอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่าย ย่อย และดูดซึมได้ดี อย่างไรก็ตาม ในผู้สูงวัยที่ไม่มี

ปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรกินไข่ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ แต่ถ้าผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องไขมันในเส้นเลือด แนะนำให้กินไข่ขาว หรือ

ลดจำนวนลง

ขณะที่ นม เป็นอาหารที่มีแคลเซียม และโปรตีนสูง ดังนั้นผู้สูงวัยควรดื่มนมวันละ 1 แก้ว แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันใน

เลือดสูง หรือน้ำหนักตัวมาก แนะนำให้ดื่มนมพร่องไขมัน หรือนมถั่วเหลืองแทน นอกจากนี้ ถั่วเมล็ดแห้ง สามารถใช้เป็นโปรตีน

ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้

3. หมู่ข้าว/แป้ง ผู้สูงวัยต้องการอาหารกลุ่มนี้ลดลง เพราะถ้าได้รับอาหารหมู่นี้มากเกินไป จะสะสมเป็นไขมัน เพราะ

ไม่ได้ใช้พลังงานเหมือนวัยหนุ่มสาว ดังนั้น แนะนำให้กินพวกกลุ่มข้าวซ้อมมือแทน

4. ไขมัน ผู้สูงวัยจะมีความต้องการพลังงานลดลง จึงควรลดการบริโภคไขมันลงด้วย แนะนำไม่เกิน 25-30 เปอร์เซ็นต์

ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน (2-3 ช้อนโต๊ะต่อวัน) โดยน้ำมันที่ใช้ ควรใช้น้ำมันจากพืช

5. วิตามินเกลือแร่ ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ต้องการปริมาณเท่าเดิม ส่วนเกลือแร่ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ

ไม่เพียงพอ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม เนื่องจากการดูดซึมธาตุเหล็กในผู้สูงอายุลดลง ทำให้ขาดสารอาหารกลุ่มนี้ แม้จะกินใน

ปริมาณที่เพียงพอแล้วก็ตาม การดูดซึมธาตุเหล็กจะดีขึ้น เมื่อรับประทานผัก ผลไม้ร่วมด้วย

6. น้ำ มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสีย แนะนำให้ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน

7. เส้นใยอาหาร รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะผลไม้สด รวมถึงอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ และ

ถั่วเมล็ดแห้ง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การจัดหา หรือเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย ทำให้ผู้สูงวัยมีภาวะทาง

โภชนาการที่สมบูรณ์ ช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยทีมงานเชื่อว่า คงจะเป็นแนวทางให้กับ

ลูกหลานได้นำไปใช้จัดอาหารให้ญาติผู้สูงวัยในบ้านไม่ มากก็น้อย



ที่มา  :   ผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น