การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล
การนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งการนำเข้าชั่วคราว แล้วส่งกลับออกไป และการนำเข้ามาแบบถาวร มีขั้นตอนในการนำเข้า ดังนี้
การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว
รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั่วคราว และจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน
1-2 เดือนแต่ทั้งนี้ไม่เกิน 6 เดือน (ตามวัตถุประสงค์ที่นำเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยว) จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงเข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน 1.
เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว (1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ (2) ทะเบียนยานพาหนะ (3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ และใบขับขี่นานาชาติ (4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ (5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว (6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice (7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (8) สัญญาประกันการส่งกลับ (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
2. ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว
(1)
ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โดยสารเข้ามาพร้อมกับยานพาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร 2 การประกันและการค้ำประกัน
ผู้นำเข้าสามารถวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับ รถจักรยานยนต์ ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าทางสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ค้ำประกันตนเองได้
ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของ ธนาคารได้จริงๆ อาจขอให้สถานทูตรับรองเพื่อ กรมศุลกากรใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ำประกันตนเอง
ก็ได้ การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประเภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร (5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะมอบสำเนา ใบขนสินค้าพิเศษให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อนำยานพาหนะออกไปนอกประเทศไทย 3.
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล
(1) ผู้ส่งออกยื่นสำเนาใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ขณะนำเข้าแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ จุดตรวจปล่อยที่สำนักงานหรือด่านที่ทำการส่งออก (2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้ทำการบันทึกการส่งออกเพื่อตัดบัญชีที่ได้ลงทะเบียนไว้ในคอมพิวเตอร์และจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าทำไว้กับกรมศุลกากรขณะนำเข้า (กรณีวางค้ำประกันด้วยเงินสดหรือหนังสือธนาคาร)
4.
กรณีผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนด
(1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน กรม ศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนทั้งสิ้น
การบังคับตามสัญญาประกัน
เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อน ครบกำหนดดังกล่าวว่า ไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น
ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นการ ชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุ ไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ
100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท 3 ในกรณีที่ผู้นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ
500 บาท นับจากวันที่ ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท คำว่า
"เรือสำราญและกีฬา" หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เรือสำราญ และกีฬา หรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งหลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างประเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย (2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไทยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีก แต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า โดยยื่นขอขยายเวลา ณ ด่านศุลกากร 5. ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1164
หมายเหตุ
เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลฯ ข้อ 4 03 01 03 (3) (3.2) พิธีการศุลกากรขาออก (3.2.3)
เมื่อปฏิบัติพิธีการส่งออกเรียบร้อยแล้ว ในกรณีส่งออกทางภูมิภาค ให้ด่านเก็บต้นฉบับใบขนสินค้าพิเศษไว้ ส่วนสำเนาให้ส่งสำนักสืบสวนและปราบปราม สำหรับท่ากรุงเทพ กรณีเป็นรถนำเข้ามาชั่วคราวและจะส่งกลับออกไปตามสัญญาประกัน ให้ยื่นสำเนาใบขนสินค้าพิเศษที่กรมฯ ออกให้ขณะนำเข้า แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ จุดตรวจปล่อย เพื่อตรวจปล่อยและนำไปบรรทุกเรือ เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ตัดบัญชีที่ได้มีการลงทะเบียนควบคุมในขณะนำเข้ามาในคอมพิวเตอร์ แล้วแจ้งไปยังสำนักสืบสวนและปราบปราม ทราบ
เหตุผล
หากต่อไปจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลรถเข้า-ออก เหมือนตามด่านพรมแดน น่าจะให้จุดที่ทำการตรวจปล่อยและรับบรรทุกเรื่อ เป็นผู้บันทึกข้อมูลการส่งออก เนื่องจากขณะนี้การส่งออกรถที่นำเข้ามาชั่วคราวตามใบขนสินค้าพิเศษ ณ ท่ากรุงเทพ (คลองเตย) ได้ปฏิบัติพิธีการด้านเอกสารตามประมวลฯ ข้อ 4 03 01 03 (3) (3.2)(3.2.1) คือ จัดทำใบขนพิเศษขึ้นใหม่อีกหนึ่งฉบับเพื่อการส่งออก ณ ฝบศ. 9 สบก. สทก. เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงนำไปตรวจปล่อยและบรรทุกเรือ ดังนั้น หากมีการผ่านพิธีการขาออก และดำเนินการบันทึกในคอมฯ เพื่อตัดบัญชีแล้ว ณ ฝบศ.9 สบก. สทก. แต่มิได้มีการรับบรรทุกลงเรือเพื่อส่งออกจริง จะทำให้ไม่ทราบข้อเท็จจริง และการส่งออกตามด่านพรมแดนในกรณีเช่นนี้ จะใช้สำเนาใบขนสินค้าพิเศษที่ด่านฯ ออกให้ขณะนำเข้า เป็นเอกสารในการบันทึกการส่งออก และตัดบัญชีในคอมฯ โดยมิได้ปฏิบัติตามประมวลฯ ข้อ 4 03 01 03 (3) (3.2)(3.2.1) คือ จัดทำใบขนพิเศษขึ้นใหม่อีกหนึ่งฉบับเพื่อการส่งออก 4 การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร
รถยนต์นั่งใหม่ทุกประเภท
ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนใช้งานในต่างประเทศ สามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ และไม่จำกัดจำนวน ยกเว้นรถที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3,500 กก.
ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
( สมอ.) โทร 02 202 3331 รถยนต์นั่งใช้แล้ว
ต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร 02 547 4804 และถ้ารถมีน้ำหนักไม่เกิน 3,500 กก. ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ( สมอ.) ด้วย คำเตือน
รถยนต์นั่งใช้แล้วจะต้องได้รับใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ก่อนวันเรือเข้า มิฉะนั้นจะถูกปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท 1.
หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร
(1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือ อนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาแสดงในการนำเข้าด้วย (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามาเพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึงวันที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน และมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
2. เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร
(1) เอกสารทั่วไป ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 3 ฉบับ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill) เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี) ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1) 5
ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน
(Insurance Premium Invoice) เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (2)
เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแล้ว ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3. ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุลกากร
4.
หลักเกณฑ์การประเมินอากร กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF (ราคา+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง) เป็นฐานการประเมินอากรขาเข้าโดยมีวิธีการคิด ดังนี้ 4.1
ราคา 4.1.1
ให้ใช้ราคารถยนต์ใหม่ที่ตัวแทนผู้ผลิตรถยนต์นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักรของผู้ผลิตรถยนต์
4.1.2
กรณีไม่มีราคาตามข้อ 4.1.1 ให้ใช้ราคาในหนังสือ PARKERs CAR PRICE GUIDE
และ JAPANESE CAR ลด 25% เป็นราคา F.O.B. 4.1.3
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบใหม่ของรถยนต์ ผิดไปจากสภาพเดิม ให้ประเมินราคาโดยคำนึงถึงส่วนนั้นๆด้วย
4.1.4
กรณีที่รถยนต์มีสภาพบุบสลายเนื่องจากเหตุอื่นนอกจากการใช้งานตามปกติ เช่น รถถูกชน รถคว่ำ ไฟไหม้ เป็นต้น ให้พิจารณาลดราคาลงตามควรแก่กรณี
4.1.5
รถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้ 6 อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว | |||||||
1. จดทะเบียนใช้แล้ว | ไม่เกิน | - | 2 เดือน | - | - | - | หักส่วนลด 2.50% |
2. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | - | 4 เดือน | หักส่วนลด 5.00% |
3. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 4 เดือน | แต่ไม่เกิน | - | 6 เดือน | หักส่วนลด 7.50% |
4. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 6 เดือน | แต่ไม่เกิน | - | 8 เดือน | หักส่วนลด 10.00 % |
5. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 8 เดือน | แต่ไม่เกิน | - | 10 เดือน | หักส่วนลด 12.50 % |
6. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 10 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | - | หักส่วนลด 15.00 % |
7. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | - | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 2 เดือน | หักส่วนลด 16.67 % |
8. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 4 เดือน | หักส่วนลด 18.33 % |
9. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 4 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 6 เดือน | หักส่วนลด 20.00 % |
10. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 6 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 8 เดือน | หักส่วนลด 21.67 % |
6. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | - | 10 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | - | หักส่วนลด 15.00 % |
7. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | - | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 2 เดือน | หักส่วนลด 16.67 % |
8. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 4 เดือน | หักส่วนลด 18.33 % |
9. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 4 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 6 เดือน | หักส่วนลด 20.00 % |
10. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 6 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 8 เดือน | หักส่วนลด 21.67 % |
11. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 8 เดือน | แต่ไม่เกิน | 1 ปี | 10 เดือน | หักส่วนลด 23.33 % |
12. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 1 ปี | 10 เดือน | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | - | หักส่วนลด 25.00 % |
13. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | - | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | 2 เดือน | หักส่วนลด 26.67 % |
14. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | 4 เดือน | หักส่วนลด 28.33 % |
15. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | 4 เดือน | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | 6 เดือน | หักส่วนลด 30.00 % |
16. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | 6 เดือน | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | 8 เดือน | หักส่วนลด 31.67 % |
17. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | 8 เดือน | แต่ไม่เกิน | 2 ปี | 10 เดือน | หักส่วนลด 33.33 % |
18. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 2 ปี | 10 เดือน | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | - | หักส่วนลด 35.00 % |
19. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | - | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | 2 เดือน | หักส่วนลด 36.67 % |
20. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | 4 เดือน | หักส่วนลด 38.33 % |
21. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | 4 เดือน | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | 6 เดือน | หักส่วนลด 40.00 % |
22. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | 6 เดือน | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | 8 เดือน | หักส่วนลด 41.67 % |
23. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | 8 เดือน | แต่ไม่เกิน | 3 ปี | 10 เดือน | หักส่วนลด 43.33 % |
24. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 3 ปี | 10 เดือน | แต่ไม่เกิน | 4 ปี | - | หักส่วนลด 45.00 % |
25. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 4 ปี | - | แต่ไม่เกิน | 4 ปี | 2 เดือน | หักส่วนลด 46.67 % |
26. จดทะเบียนใช้แล้ว | เกินกว่า | 4 ปี | 2 เดือน | แต่ไม่เกิน | 4 ปี | 4 เดือน | หักส่วนลด 48.33 % |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น