การขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่าง
น้อย15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
- กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มี
การรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมก็ได้
- กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือ
องค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อย
กว่า 1 ปี
ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่
สมรสก่อน
แต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
- คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
- คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกัน
ไม่ได้
เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ )
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนัก
ทะเบียนเขต
แห่งใดก็ได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )
- ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ
ณ ศูนย์
อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่น
คำขอ
ต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือ
ยินยอมจาก
บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
- ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์
หรือ
องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
- เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำ
ร้องขอ
จดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
- เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย
ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรม
ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็น
ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน
- บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา
และ
บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ( กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )
สถานที่ต ิดตอ่ / ค่าธรรมเนียม
ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร (รวมทั้งชาวต่างประเทศ)
ติดต่อที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์)
ผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น
ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ
ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้
ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
ถามตอบเรื่องการรับบุตรบุญธรรม
( 1 )
คำถาม (พงศ์ธร 2 ต.ค. 41)
การรับบุตรบุญธรรมมีระเบียบอย่างไร เด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ปัจจุบันอายุ 12 ปี จะรับได้
หรือไม่
คำตอบ
1. หลักเกณฑ์การรับบุตรบุญธรรม
1.1 ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่าง
น้อย 15 ปี
1.2 ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
1.3 กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
- ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาคนใดคนหนึ่ง
- กรณีบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องมีผู้ปกครองให้ความยินยอมแทน
1.4 กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้มีการ
รับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรมก็ได้
1.5 กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ให้ผู้แทนสถานสงเคราะห์เป็น
ผู้ให้
ความยินยอมแทนบิดามารดา
1.6 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจาก
คู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และ
หาตัว
ไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของ
คู่สมรสนั้น
1.7 ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกัน
ไม่ได้
เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
2. การจะรับเด็ก ที่ปัจจุบันมีอายุ 12 ปี เป็นบุตรบุญธรรมก็สามารถดำเนินการได้โดยต้องปฏิบัติ
ตาม
หลักเกณฑ์ข้างต้น
คำถาม ( ประดิษฐ์ 9 ก.ค. 42)
กรณีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเสร็จสิ้นมาหลายปีแล้วต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงรายการชื่อบิดา
มารดา
เดิมของเด็กที่รับเป็นบุตรบุญธรรมในทะเบียนบ้าน ให้เป็นชื่อพ่อแม่ใหม่ที่ได้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
เพื่อไม่ให้เป็นปมด้อยกับเด็กเมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่น จะพอมีแนวทางที่จะทำได้หรือไม่
คำตอบ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เมื่อจดทะเบียนแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรที่
ชอบด้วย
กฏหมาย แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้เกิดมา ส่วนความเป็นบุตรบุญ
ธรรมและ
บิดามารดาบุญธรรมมิได้เป็นตลอดไป อาจพ้นสภาพไปได้เมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ซึ่งถ้ามีการ
แก้ไข
รายการของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ไปเป็นชื่อของบุคคลอื่นอาจมีปัญหาในการติดตามทวงถาม
เรื่องสิทธิและ
หน้าที่ต่าง ๆ ที่จะพึงได้รับตามกฏหมาย เช่นการอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด การใช้ชื่อ
สกุลของ
บิดา มารดา การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม เป็นต้น ดังนั้น ระเบียบสำนักงานกลางฯ ว่าด้วย
การจัดทำ
ทะเบียนราษฏร พ.ศ.2535 จึงกำหนดให้ลงรายการชื่อบิดา มารดาที่แท้จริงในช่องบิดา มารดาผู้ให้
กำเนิด
เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของแต่ละบุคคล การขอแก้ไปใช้ชื่อบิดา มารดาบุญธรรม จึงไม่อาจ
ดำเนินการได้
คำถาม ( พิมพรรณ 9 พ.ค. 43 )
การรับบุตรบุญธรรม
คำตอบ
หลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย
15 ปี
- ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
- กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดากรณีที่มีทั้ง
บิดาและมารดา
บิดาหรือมารดา กรณี ที่มารดาหรือบิดาตาย หรือ ถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องมีผู้ปกครองให้ความ
ยินยอมแทน
- กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้มีการ
รับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรมก็ได้
- กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ ให้ผู้แทนสถานสงเคราะห์เป็น
ผู้ให้ความยินยอม
แทนบิดา มารดา
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ก่อน
ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากกภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบ
เป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น
- ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกัน
ไม่ได้ เว้นแต่
เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม
1. กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดง
ความ
ยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรม
ประชาสงเคราะห์
2. กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคล ผู้มี
อำนาจให้ความ
ยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด
เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำ
หนังสือแจ้ง
คำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่ง
อำเภอ หรือเขต
แห่งใดแห่งหนึ่งโดยผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องไปให้ความยินยอมด้วยตนเอง
ส่วนกรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้เป็นบุตรบุญธรรม
สามารถ
ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใด
แห่งหนึ่ง โดยไม่ผ่าน
ขั้นตอนตามข้อ 1 และ 2 แต่อย่างใด
คำถาม ( กาญจนา 9 พ.ค. 43 )
กรณีเด็กเมื่อแรกคลอดนั้น แม่ของเด็กจำเด็กมาจ้างเลี้ยง แล้วทิ้งไป จนบัดนี้เด็กจะเข้าโรงเรียนแล้ว
(5 ขวบ)
ต้องการรับเป็นบุตรบุญธรรม และเปลี่ยนนามสกุลของเด็กไปด้วยเลย จะทำอย่างไร เพราะแม่ของ
เด็ก
ไม่เคยติดต่อมาเลย
คำตอบ
เงื่อนไขการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความ
ยินยอม
จากบิดาและมารดา กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะต้องขอต่อศาล
ให้มีคำสั่ง
ให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ เมื่อจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว สามารถยื่นคำร้อง
ต่อ
นายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนที่เด็กมีชื่อ เพื่อขอแก้ไขชื่อสกุลมาใช้ของผู้รับบุตรบุญธรรมได้
คำถาม ( สมพิศ 10 ก.ค. 43 )
หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สำหรับชาวต่างชาติ (อังกฤษ)
คำตอบ
ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ (รวมถึงชาวต่างประเทศด้วย) ให้ยื่น
คำขอ
ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (บ้านราชวิถี กรมประชาสงเคราะห์)
สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่
ทำการ
ประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงาน
ประชาสงเคราะห์หรือ
องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้น มอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม เมื่อ
ได้รับ
อนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ให้ยื่นคำขอเพื่อขอจดทะเบียน ณ สำนัก
ทะเบียนที่
ปรากฏตามหนังสือ อนุมัตติของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
คำถาม ( พงษ์ศักดิ์ 10 ส.ค. 43 )
อยากจะทราบการรับรองบุตรบุญธรรม ข้าพเจ้าต้องการรับลูกน้องสาวมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยที่
น้องสาว
ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่บิดาของเด็กได้รับรองเป็นบุตรแล้ว ภายหลังบิดาของเด็กได้เลิกกับ
น้องสาว
ข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้ากลัวเด็กจะมีปมด้อยที่ไม่มีพ่อ จึงอยากรับมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยน้องสาว
ยินยอม
ที่จะยกบุตรให้
คำตอบ
การรับบุตรของน้องสาวเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งน้องสาวได้เลิกร้างกับสามีที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน
แต่บิดา
ของเด็กได้จดทะเบียนรับรองบุตรไว้แล้ว ดังนั้นบุตรคนดังกล่าวจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ
บิดา
การรับเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาด้วย
ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม
1. กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดง
ความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
กรมประชาสงเคราะห์
2. กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มี
อำนาจ
ให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด
เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำ
หนังสือ
แจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าว ไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ
กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องไปให้ความ
ยินยอมด้วยตนเอง
คำถาม ( อำไพ 16 ต.ค. 43 )
ต้องการทราบหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการในการรับบุตรบุญธรรมจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
คำตอบ
ในกรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ขั้นตอนในการรับบุตรบุญธรรม มี ดังนี้
1. กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ
ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์
อำนวยการรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์
2. กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด
ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการ
อำเภอ กิ่งอำเภอ
หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด
เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำ
หนังสือแจ้ง
คำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือ
เขต แห่งใด
แห่งหนึ่ง โดยผู้เป็นนบุตรบุญธรรมที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องไปให้ความยินยอมด้วยตนเอง
คำถาม ( คำรณ 23 ก.ค. 44 )
หากชาย/หญิง ที่จดทะเบียนหย่า และบุตรอยู่ในความปกครองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่เป็น
ผู้ปกครองบุตร
จะสามารถยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของแฟนใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร
คำตอบ
กรณีชาย/หญิง จดทะเบียนหย่าและตกลงในบันทึกการหย่า ให้บุตรอยู่ในความปกครองของฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ง
เมื่อจะยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของแฟนใหม่ ฝ่ายที่เป็นผู้ปกครองบุตรเป็นผู้มีอำนาจในการให้
ความ
ยินยอมแทน
คำถาม ( จรรยา 5 ก.ย. 44 )
เป็นโสดรับราชการต้องการรับหลานเป็นบุตรบุญธรรมเป็นไปได้ไหม
คำตอบ
บุคคลเป็นโสดอาชีพรับราชการจะรับหลานเป็นบุครบุญธรรมสามารถทำได้ ไม่ผิดหลักเกณฑ์หรือ
ขาดคุณสมบัติ
ของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด ขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุ 25 ปีขึ้นไป และอายุแก่กว่าผู้จะมาเป็นบุตรบุญธรรมไม่น้อยกว่า
15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
3. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา (กรณีมีทั้ง
บิดาและมารดา)
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้เป็นบุตรบุญธรรม หากมีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ก่อน เป็นต้น
การรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ติดต่อศูนย์รับบุตรบุญธรรม กรม
ประชาสงเคราะห์
หรือประชาสงเคราะห์จังหวัด เพื่อพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะสามารถไปดำเนินการ
จดทะเบียน
รับบุตรบุญธรรมที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ทั่วประเทศ
คำถาม ( เข็มชัย 10 ต.ค. 44 )
หากเรามีความประสงค์จะรับบุตรบุญธรรม ซึ่งเขาผู้นั้นที่เราจะรับเข้ามาเป็นบุตรนั้น เป็นผู้พลัดถิ่น
สัญชาติ
พม่า ผมกระทำได้หรือไม่ และต้องเตรียมการอย่างไร และเด็กคนนั้นเขาจะได้รับสัญชาติตามผม
หรือไม่เพราะ
ผมเป็นคนไทย หรือว่ากระผมไม่มีสิทธิ์ที่จะรับเด็กผู้นั้นเพราะเหตุใด ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ครับ
คำตอบ
การรับผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถรับได้โดยให้ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
ดำเนินการ
ดังนี้
1. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมติดต่อกับศูนย์รับบุตรบุญ
ธรรม
กรมประชาสงเคราะห์ เพื่อขอทราบขั้นตอน วิธีดำเนินการและเอกสารประกอบ
2. หากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมและบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมไปติดต่อสำนัก
ทะเบียน
กิ่งอำเภอ อำเภอ หรือสำนักงานเขตทุกเขตของกรุงเทพมหานคร โดยการรับบุตรบุญธรรมต้อง
เป็นไปตาม
เงื่อนไขของการรับบุตรบุญธรรม
ส่วนหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. หลักฐานเอกสารของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม เช่น สูติบัตร (ถ้ามี) , หลักฐานเอกสารเกี่ยวกับผู้พลัด
ถิ่น เป็นต้น
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4. ใบสำคัญการสมรส (กรณีมีคู่สมรส)
อนึ่ง ภายหลังจากได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว บุตรบุญธรรมจะไม่ได้
สัญชาติไทย
โดยการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม แต่ผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมจะต้องไปดำเนินกรรมวิธี ตาม
พระราชบัญญัติ
สัญชาติ จึงจะได้สัญชาติไทย
คำถาม ( วีรนาท 7 ก.พ. 45 )
ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเมื่อวันที่เท่าใด
คำตอบ
การขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนครอบครัว ผู้ขอตรวจสอบจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือเป็น
เจ้าของข้อมูลเอง
สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. ตรวจสอบด้วยตนเอง เป็นการตรวจสอบของตนเอง ผู้ขอต้องแสดงหลักฐาน คือ บัตร
ประจำตัวประชาชน
หากตรวจสอบของผู้อื่นต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น สำเนาหนังสือสัญญา
เป็นต้น
2. มอบอำนาจให้ผู้อื่นตรวจสอบทะเบียนของตนเองหรือของผู้อื่น ต้องแสดงหลักฐาน คือ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจหรือใบแต่งทนายความ
- หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสียของผู้มอบอำนาจ
สถานที่ขอตรวจสอบ คือ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ และเขตที่จดทะเบียนไว้ หรือที่
หน่วยบริการข้อมูล
สำนักบริหารการทะเบียน วังไชยา กทม.
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมสามารถกระทำได้ ดังนี้
1. การแสดงความจำนงขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
•
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือหน่วยงานที่รัฐบาลของประเทศนั้น
มอบหมาย หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ
•
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมีหลักฐานหนังสือสำคัญประจำตัวต่างด้าว ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre)
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร โทร 02-
2468651 02- 2468651 โทรสาร 02-2479480 02-2479480
•
ชาวต่างประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ชั่วคราวในประเทศไทยและมีหนังสืออนุญาต การทำงานจากกรมแรงงานมาแสดง และอาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันยื่นคำขอ และมีระยะเวลาสำหรับการ
ทดลองเลี้ยงดูเด็กในประเทศได้ครบกำหนด ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยเอกสารต่าง ๆ จะต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถาน
กงสุล ประจำประเทศไทยของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้นด้วย
2. คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอรับเด็ก
•
ผู้ขอรับเด็กจะต้องมีอายุเกินกว่า 25 ปี และต้องมากกว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี•
จะต้องมีคู่สมรส เว้นแต่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย•
จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศ ที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่ และจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
3. การจัดส่งเอกสาร
ก. ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก
ผู้ขอรับเด็กต้องติดต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือหน่วยงานที่รัฐบาล
ประเทศนั้นมอบหมาย หรือองค์การเอกชนที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเรื่องบุตรบุญธรรม
เพื่อจัดหาเอกสารต่างๆ ดังนี้
•
รายงานการศึกษา ภาพครอบครัวของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม•
หนังสือรับรองความเหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม•
หนังสือรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมประชาสงเคราะห์ไม่เกินสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลาหกเดือน
•
แบบคำขอรับบุตรบุญธรรม (Application Form)•
เอกสารรับรองสุขภาพของผู้ขอรับเด็กจากแพทย์•
เอกสารรับรองการสมรส•
ทะเบียนหย่า (กรณีได้เคยสมรสมาก่อน)•
เอกสารรับรองอาชีพและรายได้•
เอกสารรับรองการเงิน•
เอกสารรับรองทรัพย์สิน•
เอกสารรับรองจากผู้อ้างอิง 2 คน•
รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. คนละ 4 รูป•
เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศนั้นรับรองการอนุญาตให้เด็กเข้าประเทศได้•
กรณีติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนจะต้องมีสำเนาในอนุญาตขององค์กร และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์กรนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้
เอกสารทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยใน
ประเทศที่ผู้ขอรับเด็กอยู่หรือจัดส่งผ่านช่องทางทางการทูต
ข. ฝ่ายที่จะยกเด็กให้
•
บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง•
ทะเบียนบ้าน•
ทะเบียนสมรส•
ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาล•
หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอตามแบบ ปค.14 รับรองว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรและได้เลิกร้างกันไปเป็น
เวลานานกี่ปีด้วย
•
หนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)•
บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค.14•
รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. ของบิดามารดาเด็กคนละ 1 รูป•
เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม)ค. ฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
•
สูติบัตรเด็ก•
ทะเบียนบ้านเด็ก•
รูปถ่ายเด็กขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. 1 รูป•
หนังสือแสดงความยินยอมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6)•
เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นขอเพิ่ม)4. ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง
•
เมื่อเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ได้ครบสมบูรณ์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ (นักสังคมสงเคราะห์) จะพิจารณาว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติเหมาะสม มี
ฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจน
สุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ พนักงาน
เจ้าหน้าที่ก็จะประมวลรายละเอียดต่างๆ เสนอให้อธิบดีพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการการรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็ก หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง
คณะกรรมการ ฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่ไปในคราวเดียวกันด้วยเลย
•
กรณีที่ขอรับเด็กกำพร้าของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เมื่อคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็กแล้วคณะกรรมการการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมจะ
พิจารณาคัดเลือกเด็กกำพร้าของกรม ฯ ให้แก่ผู้ขอรับตามบัญชีก่อนหลัง
•
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะแจ้งประวัติเด็กพร้อมรูปถ่ายให้ผู้ขอรับพิจารณาผ่านหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องนี้มา
•
เมื่อผู้ขอรับแจ้งตอบรับเด็กให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอให้คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับเด็กรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดย
ขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ก่อนนำเด็กออกไปนอก
ราชอาณาจักรไทยเพื่อทดลองเลี้ยงดู
•
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์อนุญาต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็กมารับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับ
เด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในต่างประเทศจะ
ทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
•
เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาครบ 3 ครั้ง ซึ่งหากปรากฏว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอยู่อาศัยกับครอบครัวผู้ขอรับอย่างมีความสุข พนักงาน
เจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการ ฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจด
ทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้
•
ผู้ขอรับจะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สถาน เอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะมีหนังสือขอความ
ร่วมมือไปยังกระทรวงการต่างประเทศผ่านกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแจ้งสถาน
เอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยทราบ พร้อมกันนี้ก็แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้กับผู้
ขอรับเด็กได้ทราบพร้อมกันนั้นด้วยกรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย การจดทะเบียนสามารถ
ดำเนินการได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย
•
กระทรวงการต่างประเทศ จะส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตร บุญธรรม (คร.14) จำนวน1 ชุด มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตร
บุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุก
ประการ และสำหรับผู้ขอรับเด็กที่อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะขอสำเนาภาพถ่าย
เอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (ดร.14) จำนวน 1 ชุด จากผู้ขอรับเด็กไว้เป็นหลักฐานแสดงว่า
การดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แล้วเช่นกันนั้นด้วย
5. องค์การสวัสดิภาพเด็ก
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า “ห้าม มิให้บุคคลใดนอกจาก
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการส่วนราชการที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมอบหมาย หรือองค์การ สวัสดิ
ภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อม” และมาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า “องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ประสงค์จะดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดี…..”
ปัจจุบันองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่อยู่
ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมี 4 องค์การด้วยกัน คือ
•
สหทัยมูลนิธิ•
มูลนิธิมิตรมวลเด็ก•
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา•
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทยหมายเหตุ
1. การขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมของคนกรีกหรือมอลต้าควรจะได้กระทำผ่านหน่วยงานของกรีซหรือ
มอลต้าที่เกี่ยวกับเยาวชน ในเมืองที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่ก่อนเพื่อประโยชน์ในการขอตรวจลงตราเข้ากรีซหรือ
มอลต้าของเด็ก และควรจะติดต่อไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการของไทยไปพร้อมกันด้วย
2. เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกับทางการไทยเป็นที่เรียบร้อย และประสงค์ จะให้เด็ก
มาใช้นามสกุลของบิดาบุญธรรม ก็สามารถกระทำได้ โดยนำหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ไปยื่นแก่
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์เพื่อยื่นขอแก้ไขนามสกุลในเล่มหนังสือเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับ
ไทย ก็ให้นำหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไปยื่นที่อำเภอภูมิลำเนาเพื่อยื่นแก้ไขนามสกุลในทะเบียน
บ้านต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น