เทคนิคการเป็นวิทยากร การเป็นวิทยากรนั้นใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่การเป็นวิทยากรที่ดีคงไม่ง่ายอย่างที่คิดกัน เพราะการทำหน้าที่วิทยากรมีความจำเป็นต้องอาศัยการพูดหรือการสื่อสารเป็นอย่างมาก ถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมเป็นอย่างดีก็คงจะทำหน้าที่วิทยากรได้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จได้ก็ไม่ดีเปรียบไปแล้วการพูดก็เหมือนการว่ายน้ำ ถ้ามัวแต่อ่านหรือท่องตำราโดยไม่ลงน้ำหรือกระโดดลงน้ำเสียบ้างก็ไม่อาจจะว่ายน้ำเป็นได้เลย ผู้ที่ศึกษา หลักการ ทฤษฎี วิชาว่ายน้ำเพียงแต่อ่านตำราก็คงจะจมน้ำตายเมื่อต้องลงสระเสมือนผู้ที่ศรัทธาวิชาการพูด เพียงแต่ศึกษาทฤษฎีก็อาจตกม้าตายเมื่อขึ้นเวที ดังนั้น การเป็นวิทยากรที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความ สามารถ ทักษะ เทคนิคต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน เช่นการพูด การสื่อสาร การจัดกิจกรรม ฯลฯ ตลอดจนจะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่จำเป็นอีกมากมายซึ่งจะได้นำเสนอต่อไป วิทยากรคือใคร วิทยากร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวการสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม จนกระทั่งผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้และสามารถจุดประกายความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของเรื่องหรือวิชานั้น ๆ พิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่าวิทยากรควรมีบทบาทที่สำคัญหลายระการตามแผนภูมิต่อไปนี้ วิทยากร (RESOURCE PERSON) ผู้บรรยาย ผู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ (LECTURER) (INSTRUCTOR) ผู้สอน ผู้ฝึก (TEACHER) (TRAIINER) พี่เลี้ยง ( MENTOR ) เมื่อทราบความหมายและบทบาทของวิทยากรแล้วก็ควรพิจารณาด้วยว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นวิทยากรที่ดีและมีประสิทธิภาพได้กรณีนี้มีผู้รู้ได้กล่าวถึงไว้อย่างหลากหลายต่างกรรมต่างวาระกันอันอาจจะสรุปรวมเป็นคุณสมบัติ ของวิทยากรที่ดีและมีประสิทธิภาพได้ดังนี้ คุณลักษณะทั่วไป ๑ . มั่นใจในตนเอง เตรียมพร้อม ซ้อมดี มีสื่อและวิธีการ ที่เหมาะสม ๒ . เป็นคนช่างสังเกต คอยสังเกตพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดจนกระบวนการกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม ๓ . มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๔ . แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง ๕ . มีการวางแผนที่ดี ทั้งเนื้อหาและลำดับขั้นตอนการนำเสนอรวมทั้งสื่อและเครื่องมือการสื่อสาร ๖ . มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและประสานงานเก่ง ๗ . มีบุคลิกภาพที่ดี ๘ . มีความเป็นกัลยาณมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจ มีความเมตตา ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีความเห็นใจของผู้เข้ารับากรอบรม ๙ . เป็นนักประชาธิปไตย มีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่สรุปตัดบทง่าย ๆ เมื่อมีผู้เสนอความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป ๑๐ . มีความจริงใจในการถ่ายทอดความรู้ ๑๑ . ปฏิบัติตนต่อผู้เข้ารับการอบรมอย่างเสมอภาค ทัดเทียม วางตนเหมาะสมกับทุกคน ๑๒ . มีแบบฉบับลีลาที่เป็นของตนเองยอมรับจุดเด่นและจุดด้อยของตนและ มึความภูมิใจและเข้าใจ ในบุคลิกภาพของตนเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ การเป็นวิทยากร รู้จริง ๑ . ต้องเป็นคนรอบรู้ ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ๒ . ต้องรู้รายละเอียดในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ ๓ . ต้องเข้าใจเหตุผลของรายละเอียดนั้น ๔ . ต้องรู้สมมติฐานหรือความเป็นมาของสิ่งนั้น ๕ . ต้องสามารถประยุกต์สิ่งนั้นให้เห็นเป็นจริงได้ ๓ . ถ่ายทอดเป็น ๑ . มีเทคนิคต่าง ๆ เช่น การบรรยาย การนำอภิปราย การสัมมนา กรณีศึกษา การจัดกิจกรรม ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดความรู้ เข้าใจง่าย ได้สาระ ๒ . พูดเป็น คือ พูดแล้วทำให้ผู้ฟังเข้าใจตามที่พูดได้อย่างรวดเร็ว สามารถพูดเรื่องยาก ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ๓ . ฟังเป็น คือ ตั้งใจฟัง ฟังให้ตลอด ขณะที่ฟังต้องควบคุมอารมณ์ ขณะที่ฟังอย่าคิดคำตอบทันที และเท่อฟัง จงฟัง เอาความหมายมากกว่าถ้อยคำ ๔ . นำเสนอเป็นประเด็นปละสรุปประเด็นให้ชัดเจน ๕ . มีอารมณ์ขัน สร้างบรรยากาศในการอบรมได้อย่างเหมาะสม ๖ . มีประสิทธิภาพในการอบรม สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติได้ดี มองเห็นเป็นรูปธรรม ๗ . ใช้ภาษาพูดได้ดี ใช้ภาษาง่าย ๆ รู้จักเลือกภาษาให้ตรงกับเนื้อหาและตรงกับความต้องการและพื้นฐานความรู้ของผู้ฟัง ๔ . มีหลักจิตวิทยาในการสอนผู้ใหญ่ ๑ . ความสนใจในการรับฟังจะเกิดขึ้นจากการรับรู้ถึงเรื่องที่วิทยากรจะพูดหรือบรรยาย ๒ . มุ่งประโยชน์ในการรับฟังเป็นสำคัญ ๓ . จะตั้งใจแลเรียนรู้ได้ดี ถ้าวิทยากรแยกเรื่องที่สอนออกเป็นประเด็น / ขั้นตอน ๔ . จะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้ฝึกปฏิบัติไปด้วยพร้อม ๆ กับการรับฟัง ๕ . จะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ถ้าฝึกแล้วได้ทราบผลของการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ๖ . จะ เรียนรู้ได้ดีเมื่อมีการฝึกหัดอยู่เสมอ ๗ . จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเปิดโอกาสให้ใช้เวลาในการทำความเข้าใจ อย่าเร่งรัด เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน ๕ . มีจรรยาบรรณของวิทยากร ๑ . เมื่อจะสอนต้องมั่นใจว่ามีความรู้จิรงในเรื่องที่จะสอน ๒ . ต้องมุ่งประโยชน์ของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง ๓ . ไม่ควรฉกฉวยโอกาสในการเป็นวิทยากรเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ๔ . ความประพฤติและการปฏิบัติตนของวิทยากร ควรจะสอดคล้องกับเรื่องที่สอน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญในการเป็นวิทยากรที่ควรเสนอไว้เพิ่มเติมอีกด้วยว่าวิทยากรที่ดีจะ ๑ . ต้องมีกิจกรรมมากกว่าการบรรยาย ๒ . ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ๓ . ต้องมีสื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ๔ . ต้องมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา เวลา และตรงเวลา ๕ . ต้องให้คนติดใจในการเรียนรู้ มิใช่ติดใจในลีลาการแสดงเพราะวิทยากรไม่ใช่นักแสดง ๖ . ต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาว่าวิทยากรมีหน้าที่ไปทำให้เขารู้อย่าไปอวดความรู้แก่เขาและวิทยากรไม่มีหน้าที่พูดให้คนอื่นงง เทคนิคการเตรียมตัวเป็นวิทยากรที่ดี บางคนเชื่อว่าการเป็นวิทยากรที่ดีเกิดจากพรสวรรค์แต่บางท่านก็เชื่อว่าเกิดจากพรแสวง จะโดยพรประเภทใดก็ตามวิทยากรที่ดีก็ควรจะรู้จักเทคนิควิธีการเตรียมตัว ซึ่งอาจกระทำได้หลายวิธีด้วยกันกล่าวคือ ๑ . การหาข้อมูล โดยวิธีต่าง ๆ เช่น ๑ . ๑ อ่านตำราหลาย ๆ ประเภท ๑ . ๒ ฟังจากคนอื่นเล่า หรือฟังจากเทปวิทยุ ๑ . ๓ ศึกษาจากวิดีทัศน์ รายการโทรทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๒ . สะสมข้อมูลต่าง ๆ โดยจัดเก็บเป็นระบบหรือแบ่งเป็นประเภทเช่น ๒ . ๑ ประเภทเพลง ๒ . ๒ ประเภทคำขวัญ คำกลอน สุภาษิต คำคม คำพังเพย และคำปรพันธ์ต่าง ๆ ๒ . ๓ ประเภทคำผวน ๒ . ๔ ภาษาหักมุม ( คิดสวนทางเพื่อให้ผู้ฟังฮา ) ๒ . ๕ ลูกเล่นเป็นชุด หรือประเภทนิทานสั้น ๆ ๒ . ๖ ประเภทเชาว์ เช่น คำถามอะไรเอ่ย ฯลฯ ๒ . ๗ ประเภทเกมหรือกิจกรรม ๓ . ศึกษาข้อมูลแต่ละประเภท พยายามจับประเด็นและหักมุมนำเข้าในเรื่องที่จะเสนอให้ได้ ๔ . หัดเล่า ให้เพื่อนหรือคนอื่นฟังในวงเล็ก ๆ ก่อนโดยคำนึงถึง ๔ . ๑ การเริ่มเล่าให้เด็กฟังและขยายวงถึงผู้ใหญ่ ๔ . ๒ ต้องพยายามหักมุมตอนท้ายให้ได้ ๔ . ๓ ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมในการเล่า ๔ . ๔ ใช้ลีลาหรือกิริยาท่าทางประกอบการเล่า อย่างไรก็ดีมีผู้เปรียบเทียบว่าการเป็นนักพูดหรือวิทยากรที่ดีก็เหมือนกับเด้กหัดขี่จักรยานนั่นเอง โดยยกตัวอย่างแสดงไว้ให้เห็นชัดเจนดังนี้ ๑ . เด็กอยากได้จักรยาน : อยากเป็นวิทยากรมืออาชีพ ๒ . หัดขี่แล้วมักจะล้ม : ฝึกพูดอาจจะไม่สำเร็จในบางครั้ง ๓ . หัดขี่ให้เป็น : ฝึกพูดให้เป็นวิธีการ / หลักการ ๔ . ขี่ทุกวันก็จะเกิดความชำนาญ : ฝึกหรือแสดงบ่อย ๆ จะชำนาญ วิทยากรกับการพูด การพูดเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญที่สุดของคนเรา และเป็นทักษะที่จะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญอย่างต่อเนื่องเพราะการพุดเป็นศิลปและปัจจัยที่จะส่งผลให้บุคคลนั้นประสบผลสำเร็จในการสื่อสาร ตลอดจนการแสดงถึงความคิดหรือบอกในสิ่งที่ตนเองคิดเพื่อให้ผู้รับฟังเกิดความเข้าใจ และพึงพอใจในที่สุด วิทยากรเป็นผู้มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เข้ารับการอบรม เพราะฉะนั้นการพูดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิทยากร วึ่งวิทยากรจะต้องศึกษาหลักการ แนวคิดและวิธีการ พัฒนาการพูดตลอดถึงการฝึกหรือการสร้างประสบการณ์ให้กับตนเองให้มาก จนเกิดความชำนาญจะทำให้การปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ของวิทยากรเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การพูดเป็น “ ศาสตร์ ” ที่สามารถศึกษาได้ การพูดเป็น “ ศิลป ” ที่สามารถฝึกฝนได้ ฉะนั้นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากการอ่านหนังสือตำรารายการโทรทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟังจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ รายการวิทยุ วงสนทนา การประชุมสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ และสามารถที่จะฝึกพูดและหาโอกาสพูเพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญ เพื่อพัฒนาไปสู้ความสามารถในการพูดที่ดี วิทยากรควรให้ความสนใจกับหลักการและวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับการพูด ซึ่งอาจจะสรุปเป็นสาระสำคัญที่น่าสนใจได้หลายประเด็นคือ บุคลิกภาพและคุณสมบัติที่ดีของนักพูด ขณะที่วิทยากรไปปรากฏกายต่อหน้าผู้เข้ารับการอบรมนั้น ความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมิได้อยู่ที่คำพูดหรือเนื้อหาที่วิทยากรกล่าวถึงแต่เพียงอย่างเดียว บุคลิกภาพของวิทยากรก็เป็นจุดสนใจอีกประการหนึ่งด้วยควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระที่วิทยากรแสดงออกมาด้วยการพูด ดังนั้นวิทยากรจึงควรเอาใจใส่ในเรื่องของบุคลิกภาพของวิทยากรด้วย ในเรื่องนี้อาจพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านบุคลิกภาพและคุณสมบัติได้จากตารางต่อไปนี้
นอกจากคุณสมบัติ ๙ ประการในตารางข้างต้นแล้ว นักพูดหรือวิทยากรที่ดียังควรมีคุณสมบัติอีก ๕ ประการ คือ “ เป็นนักฟัง ยังศึกษา ท้าวิจารณ์ งานริเริ่ม เติมความสุข “ ซึ่งขยายความให้สมบูรณ์ได้ว่า ๑ . เป็นนักฟังที่ดี ๒ . ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ๓ . ยอมรับฟังคำวิจารณ์ ๔ . เป็นตัวของตัวเอง ๕ . มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น ทฤษฎีการพูด ทฤษฎีการพูดมีอยู่หลายทฤษฎีด้วยกัน แต่ที่น่าสนใจได้แก่ ทฤษฎี ๓ สบาย ของ รอ . ดร . จิตรจำนงค์ สุภาพ ซึ่งผู้เสนอทฤษฎีได้ให้ข้อสรุปของทฤษฎี ๓ สบาย (The Theory Of Three Pleasant Speech) หมายถึงการพูดที่ฟังสบายหู ดูสบายตา พาสบายใจ ฟังสบายหู ได้แก่การพูดด้วยวจีสุจริต รู้จักการใช้ถ้อยคำภาษาที่ถูกต้องรู้จักใช้เสียงและการพุด ที่มีจังหวะถูกต้องเหมาะสม ดูสบาย ได้แก่บุคลิกภาพมาตรฐานเบื้องต้น ศิลปการแสดง การพูดเบื้องต้น การแสดงท่าทางประกอบดี พาสบายใจ ได้แก่การเลือกเรื่องดี การเตรียมการพูดที่ดี การจัดลำดับความคิด การสร้างโครงเรื่องดี การพูดที่ฟังสบายหู ดูสบายตา และพาสบายใจนี้เจ้าของทฤษฎีได้เสนอไว้ด้วยว่าผู้พูดจะจ้องพูดจากหัวใจทั้งสี่ห้องคือ พูดจากใจ คือการแสดงออกมาจากความจริงใจไม่เสแสร้ง มีความมั่นใจ แน่ใจในตัวผู้ฟัง ที่ขึ้นใจ คือเข้าใจเรื่องที่พูดแย่างกระจ้างแจ้ง ถูกต้องไม่โมเมยกเมฆหรือเดา ด้วยความตั้งใจ คือมีความอยากจะพุดกระตือรือร้น กระฉับกระเฉงไม่เฉื่อยชา หรือแสดงอาการลักษณะเบื่อเซ็ง จนสุดใจ คือเปรียบเสมือนการสวมวิญญาณ ลงไปในคำพูดแต่ละคำอย่างมีชีวิตชีวา มีความรู้สึกเหมือนกับตัวเองอยู่ในสถานการณ์นั้นจริง ๆ ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าที่สุดของการพูดทุกครั้ง ควรจะใช้ทฤษฎี ๓ สบาย ประกอบการพูดให้มากที่สุดและควรจะยึดบันได ๑๓ ขั้นที่นำไปสู้ความสำเร็จในการพูด ตามที่เจ้าของทฤษฎีเสนอแนะไว้ดังนี้คือ ๑ . เตรียมให้พร้อม ๒ . ซักซ้อมให้ดี ๓ . ท่าทีให้สง่า ๔ . หน้าคาให้สุขุม ๕ . ทักที่ประชุมไม่วกวน ๖ . เริ่มต้นให้โน้มน้าว ๗ . เรื่องราวกระชับ ๘ . ตากจับที่ผู้ฟัง ๙ . เสียงดังให้พอดี ๑๐ . อย่าให้มีเอ้อ อ้า ๑๑ . ดูเวลาให้พอครบ ๑๒ . สรุปจบให้จับใจ และ ๑๓ . ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด หลักการพัฒนาการพูด ๑ . อ่านหนังสือ ได้ฟังหรือพบประโยคหรือวลี คำกลอน คำขวัญ สำคัญ ๆ ที่ดีมีคุณค่าจดไว้เป็นข้อมูล ๒ . จัดลำดับความคิดที่จะพุดให้สอดคล้องกันหรือร้อยรัดเหมือนเขียนเรียงความ ๓ . พูดจากหัวใจที่จริงใจด้วยความตั้งใจ ๔ . วิเคราะห์หรือหยั่งสถานการณ์การพูดการฟัง ๕ . ก่อนพูด เตรียมตัว เตรียมร่างกายให้พร้อม ๖ . เตรีนมเครื่องช่วยพูดให้พร้อม ๗ . ต้องพูดให้ได้เหมือนกับการเขียน ๘ . ระลึกเสมอว่าการพูดนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ๙ . กำหนดหรือลำดับเรื่องไว้ในใจและจำให้ขึ้นใจ ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการพูด ๑ . อย่าออกตัว เช่น วันนี้เตรียมมาไม่พร้อมพูดไม่ดี ๒ . อย่าขออภัย เช่น การพูดอาจผิดพลาด ๓ . อย่าถ่อมตัว เช่น ผมไม่ใช่คนเก่งมีประสิทธิภาพน้อย ๔ . อย่าอ้อมค้อม เช่น บรรยายไปเรื่อย ๆ ขาดจุดเด่นที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่วิทยากรควรหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้นหรือลงท้าย “ ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาพูดในวันนี้ ” “ เตรียมมาไม่เต็มที่ ดังนั้นหากผิดพลาดไป ขอโทษ ” “ ดิฉันพูดมาก็มากแล้วจึงขอจบเพียงเท่านี้ ” “ ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะกล่าวอีกแล้ว จึงใคร่ขอยุติไว้เพียงแค่นี้สวัสดีค่ะ“ “ ที่พูดมาทั้งหมดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณมากครับ สวัสดี ” “ ความคิดของดิฉันก็มีเพียงเท่านี้แหละค่ะ ขอบคุณท่านทั้งหลายที่อุตส่าห์ฟังดิฉันพูดจนจบ ” ข้อแนะนำสำหรับวิทยากร เมื่อลงจากเวทีแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ๑ . ควบคุมจิตใจให้สงบ ๒ . อย่ารู้สึกเสียดายถ้อยคำบางคำที่ลืมพูด ๓ . ไม่หลงระเริงคำสรรเสริญเยินยอ ๔ . อดทนฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่นอย่างสนใจ ๕ . บันทึกข้อบกพร่องเพื่อพิจารณาแก้ไขต่อไป สรุป การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มนุษย์เกือบทุกคนพูดได้ตั้งแต่วัยเด็กและมีการพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารมาโดยตลอด แต่มิได้หมายความว่ามนุษย์ทุกคนจะพูดเป็น จึงมีคำพังเพยที่ว่า “ คารมเป็นต่อรูปหล่อเป็นรอง ” การเป็นวิทยากรที่ดีต้องประกอบด้วยบุคลิกภาพและคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงการใช้พลังทั้งหมดประสานกัน ระหว่างกายกับจิต ปฏิภาณไหวพริบ ถ่ายทอดออกสู่ผู้ฟังโดยใช้ พลังจิต ภาษาพูด ภาษาท่าทาง ที่ได้รับการเตรียมการ ฝึกฝนมาอย่างดีย่อมจะก่อให้เกิดการประสบความสำเร็จสูง พูดดี มีสาระ น่าศรัทธา คิดให้รอบคอบ ชอบด้วยใจความ งดงามด้วยถ้อยคำ จดจำด้วยสาระ เสริมทักษะด้วยคารม ประสมด้วยตัวอย่าง กระจ่างด้วยเหตุผล แยบยลด้วยกลวิธี มีมนุษยสัมพันธ์ พูดจบแล้วนั้นประทับใจ วิทยากรที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีข้อได้เปรียบ คือเวลาที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปแล้ว มักมีผู้ให้ความสนใจและติดตามมาฟังอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง แต่ถ้าเป็นวิทยากรหน้าใหม่ ก็คงต้องอาศัยเวลา และเวทีสัมมนาเพื่อเรียนรู้เก็บประสบการณ์อีกสักระยะ แน่นอนว่า ทุกองค์กรที่จัดสัมมนา ต้องการวิทยากรที่มีชื่อเสียง ดังนั้นนอกจากเรื่องการทุ่มด้วยค่าจ้างในอัตราที่สูงแล้วยังต้องแย่งคิวเรื่องของ “เวลา” อีกด้วย การคัดเลือกวิทยากร บางครั้งจึงต้องขึ้นอยู่กับการจัดสรรงบประมาณด้วย อัตราค่าจ้างวิทยากรส่วนใหญ่ คิดเป็นรายชั่วโมง ตั้งแต่หลักพันยันหลักแสน ขึ้นอยู่กับคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ ความสามารถ การยอมรับของสังคม ตำแหน่งหน้าที่ และความมีชื่อเสียง บางองค์กร งบไม่มาก ก็จ้างวิทยากรที่มีชื่อเสียงเพียง 2 ชั่วโมง สลับกับวิทยากรที่มีชื่อเสียงปานกลาง เพื่อเป็นการดึงคนเข้าร่วมงาน และยังจัดกิจกรรมได้โดยงบประมาณไม่บานปลาย หากมองผิวเผินดูเหมือนว่า “วิทยากร” เป็นอาชีพที่น่าอิจฉา เพราะลงทุนแค่ใช้ปากมาพูดบรรยาย ไม่ถึงสองชั่วโมงก็รับเงินเป็นพันเป็นหมื่นแล้ว โดยหารู้ไม่ว่าบางครั้งกว่าที่วิทยากรจะพูดเรื่องที่เข้าใจยากให้คนจำนวนเป็นร้อยเข้าใจได้ในเวลาสองชั่วโมงนั้น ต้องหาข้อมูลแรมเดือนต้องซื้อตำรับตำราหมดเป็นหมื่น ต้องนั่งทำสไลด์เพื่อประกอบการบรรยายหมดเวลาไปกี่วัน หากเฉลี่ยชั่วโมงการทำงาน กับรายได้ที่ได้รับแต่ละครั้งสำหรับผู้เริ่มต้นอาชีพวิทยากร คงจะมีค่าแรงสูงกว่าพนักงานเสิร์ฟในร้านไก่ทอดเล็กน้อย แต่หลายคนก็ชอบบทบาทการเป็น “วิทยากร” เพราะหมายถึงโอกาสแสดงออกซึ่งความเป็นผู้นำ และเมื่อย้อนกลับไปดูความต้องการพื้นฐานของมนุษย์แล้ว “การยอมรับ”ของสังคม ก็ถือเป็นปัจจัยความต้องการพื้นฐานอันดับต้นๆของคนเสียด้วย การเป็นวิทยากรที่ผู้ฟังยอมรับนับถือนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงตั้งแต่การแต่งตัว การสร้างบุคลิก การตรงต่อเวลา และความพร้อมในการนำเสนอ ทุกครั้งที่มีการสัมมนา องค์กรจะมีใบประเมินผล ความพึงพอใจที่ผู้ฟังได้รับจากวิทยากร กระดาษใบนี้เป็นเสมือนแรงกดดันอย่างหนึ่งให้ วิทยากรต้องมีความรับผิดชอบ และรอบรู้ในเรื่องที่การบรรยาย เพราะถ้าผู้ฟังส่วนใหญ่ประเมินว่า วิทยากรไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจได้ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมสัมมนา อนาคตของวิทยากรท่านนั้นก็อาจไม่แจ่มใสเท่าใจปรารถนา วิทยากรจึงต้องเตรียมตัวมาอย่างดี บางท่านต้องลงทุนทำผม นวดหน้า ตัดเสื้อผ้าใหม่ เพื่อใส่มาบรรยายเป็นการเฉพาะ ซึ่งต้องระมัดระวังว่า อย่าให้เครื่องแต่งกายแย่งความสนใจของเนื้อหาไปเสียหมด มิฉะนั้น จะเกิดปัญหา หลังสัมมนา แทนที่จะมีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ว่ากันมาสองชั่วโมง ดันมีคนถามว่า“ตัดเสื้อผ้าที่ร้านไหน”!?! การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องสำคัญ ถือเป็นเรื่องเสียมารยาท ที่ทำให้คนฟังจำนวนมากต้องนั่งรอ เรื่องเหล่านี้เจอบ่อยๆ เคยไปนั่งรอวิทยากรบรรยายตั้งเกือบชั่วโมง เพราะวิทยากรท่านนั้น ลืมกำหนดการ และคนจัดก็ไม่ได้โทรกลับไปเตือนยืนยันอีกครั้ง การเป็นวิทยากรที่ดีต้องรู้จักพลิกแพลง และปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์และผู้ฟัง โดยเฉพาะช่วงบ่าย ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนารับประทานอาหารกลางวันกันจนอิ่ม หากเป็นหัวข้อวิชาการ หรือการนำเสนอตัวเลขที่มากมายเกินไป ต้องรู้จักกระตุ้น หยุดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาขบคิดด้วย ไม่ใช่เดินหน้าบรรยายตามสไลด์อย่างเดียวเพราะกลัวเวลาไม่พอ วิทยากรแต่ละท่านมักมีรูปแบบในการบรรยายที่แตกต่างกัน บางท่านมีการบรรยายประกอบสไลด์ สาธิต และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาถามทุกระยะ แต่บางท่านก็เลือกที่จะเปิดโอกาสให้สอบถามในตอนท้ายของการบรรยายเท่านั้น การตอบคำถามถือเป็นเรื่องสำคัญ วิทยากรควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าผู้ถามต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร? ให้แน่ชัด เพื่อจะได้อธิบายให้ตรงจุด แต่วิทยากรบางคนรีบตอบคำถามเร็วเกินไป ปรากฏว่าพอตอบเสร็จแล้วย้อนถามผู้ตั้งโจทย์ว่า ได้รับคำตอบตรงกับความต้องการหรือไม่!? ปรากฏว่าผู้ถามส่ายหน้า และต้องอธิบายเพิ่มเติม ทำให้คำตอบในช่วงแรกที่แม้วิทยากรมีความตั้งใจอธิบายสูง แต่กลับไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย “จำนวน” ของวิทยากรที่มาบรรยายก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้จัดต้องคำนึงถึงเวลาด้วย ถ้าเชิญวิทยากร 5 คน มาพูดเรื่องเดียวกัน ด้วยเวลาเพียงชั่วโมงเดียว ก็คงพูดกันได้คนละไม่กี่นาที เฉพาะช่วงแนะนำประวัติก็เกือบหมดเวลาแล้ว วิทยากรก็ควรมีความเกรงใจกัน หากขึ้นเวทีเป็นหมู่คณะ สมควรคะเนเวลาบรรยายของตนด้วย จะได้ไม่ล่วงไปเกินเวลาบรรยายของวิทยากรร่วมท่านอื่น บันทึกช่วยจำ 1. วิทยากรควรมีความเป็นตัวของตัวให้มากที่สุด การเลียนแบบผู้อื่นนั้น ทำได้ดีที่สุดก็เป็นได้เพียงเบอร์สองของคนผู้นั้น 2. ก่อนการบรรยาย วิทยากรควรตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมสัมมนาเสียก่อน เพื่อการเตรียมข้อมูลจะได้มีความเหมาะสมกับพื้นความรู้ของผู้ร่วมงาน 3. วิทยากรควรใจกว้าง กล้ารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสัมมนาคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 4. วิทยากรต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ และพัฒนาข้อมูลที่นำเสนอให้ทันสมัย ใช้ประโยชน์ได้อยู่เสมอ 5. วิทยากร ไม่ใช่ผู้วิเศษที่รู้ทุกเรื่อง ตอบทุกคำถามได้อย่างถูกต้องทันที ดังนั้นไม่ควร “ดันทุรัง” ตอบไปถ้ายังมีข้อมูลไม่สมบูรณ์ ควรใช้วิธีการ “ขอเวลา” ศึกษาเพื่อค้นคว้า แล้วค่อยติดต่อผู้ถามเพื่ออธิบายในภายหลัง 6. อารมณ์ขันเป็นสิ่งจำเป็นที่ “วิทยากร” ควรมี และต้องรู้จักนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม 7. วิทยากรที่ดี ควรเป็นคนที่มีความละเอียด ตรวจสอบความเรียบร้อยของเสื้อผ้าและไมโครโฟน หากเป็นไมค์ลอย ไม่ควรติดต่ำจนเสียงเบาเกินไป และอย่าลืมถอดมันออก ก่อนเข้าไปทำธุระในห้องน้ำทุกครั้ง |
12 กันยายน 2554
เทคนิคการเป็นวิทยากร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น