13 มีนาคม 2561

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท/ ออฟฟิตซินโดรม รักษาอย่างไร

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท/


ออฟฟิตซินโดรม รักษาอย่างไร




โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการเริ่มต้นของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก


โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร


อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้
  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้
  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ



ปวดแบบไหน สัญญาณอันตราย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”


ปวดแบบไหน สัญญาณอันตราย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

“ออฟฟิศซินโดรม” กลายเป็นคำคุ้นหูคุ้นปากมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หากย้อนกลับไป 4-5 ปีที่แล้วอาจจะยังเป็นเรื่องใหม่ หรือไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นโรคสามัญประจำออฟฟิศที่ถึงขั้นพบพนักงานออฟฟิศเป็นโรคเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมอย่างน้อย 1 ใน 10 เลยทีเดียว
ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ใครๆ ก็ปวดได้ถ้าอยู่ในช่วงทำงานหนัก แต่ปวดแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตรายว่าเราอาจเสี่ยงอยู่ในอาการ “หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท” 

ปวดแบบไหน สัญญาณอันตราย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
  1. ปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หลังช่วงล่าง หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ โดยปวดแบบจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต หรืออาจจะปวดจนสะดุ้งเบาๆ
  2. ระยะเวลาในการปวด จะเป็นๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  3. อาจจะปวดทั่วแผ่นหลัง หรือปวดมากขึ้นบริเวณบั้นเอว หลังช่วงล่าง ยาวไปจนถึงขา
  4. อาการปวดรบกวนการใช้ชีวิต ขยับร่างกายก็ปวด นอนก็ปวด
 back-painiStock

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- อายุมากขึ้น เมือกใสๆ ในหมอนรองกระดูกก็เริ่มเสื่อมสภาพ
- ยกของหนักมากเกินไป หรือยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
- การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกซ้ำๆ
- เคลื่อนไหวผิดท่าอย่างแรง/โดยฉับพลัน
- น้ำหนักที่มากขึ้น จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
- นั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมๆ อยู่เป็นเวลานาน ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
นอกจากจะต้องระมัดระวังในการขยับร่างกาย งดเว้นการยกของหนัก และปรับเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างนั่งทำงานแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยยืดอายุของหมอนรองกระดูกให้ยังแข็งแรง ไม่เสื่อมได้ง่ายๆ อีกด้วย
CR :iStock

ปรับ เปลี่ยน...เลี่ยงออฟฟิศซินโดรม


 ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของเหล่ามนุษย์เงินเดือน หากไม่อยากเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ แนะนำให้รีบปรับเปลี่ยนเพื่อเลี่ยงก่อนจะสาย 
          รูปแบบการทำงานของสาว ๆ ยุคนี้ส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตใจและร่างกายมากทีเดียว จึงมีคนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาอาการปวดเรื้อรัง อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง ทำงานในพื้นที่จำกัด และชีวิตส่วนใหญ่ถูกผูกติดอยู่กับโต๊ะและจอคอมพิวเตอร์แทบตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" นั่นเองค่ะ
 
          ไม่ใช่เพียงแค่ขาดการเคลื่อนไหว ออฟฟิศซินโดรมยังหมายรวมไปถึงกลุ่มอาการในเรื่องของระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ ผลจากการอยู่ในออฟฟิศที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศที่ไม่สะอาด รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ และเครื่องพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานอีกด้วย
 

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

          ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งต้องนั่งทำงานตลอดเวลา แทบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายไปไหนมาไหน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียด เมื่อนั่งนาน ๆ เข้าจะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ บางรายปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอ หรือก้มเงยไม่ได้เลย

          ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายแล้วคิดว่าไม่เป็นอะไร คิดว่านวด หรือทายานวดบ่อย ๆ ก็คงหาย แต่หากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ปล่อยอาการปวดแบบนี้ทิ้งไว้นาน ๆ อาการจะยิ่งหนักขึ้น เรื้อรังไปถึงขั้นมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้เลย ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดคอ ปวดสะบัก อาจมีหินปูนหรือกระดูกงอกมาเกาะไขสันหลัง ทำให้ปวดชาที่แขน มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้
          สำหรับผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อม มักจะปวดศีรษะ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดกระบอกตา วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ยิ่งเคลื่อนไหวคอมากจะยิ่งปวด ต้องพบแพทย์เพื่อรักษา โดยต้องลดการเคลื่อนไหวของคอลง และออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณคอร่วมกับทานยาระงับปวด และทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการกดทับเส้นประสาทมาก แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อน หรือกระดูกงอกที่กดทับเส้นประสาทออกมา ซึ่งอาจต้องใช้โลหะดามกระดูกคอร่วมด้วย

          นอกจากบริเวณหลัง คอ บ่า ไหล่ แล้ว ส่วนข้อมือก็มีโอกาสเกิดอาการปวดได้เช่นกัน เพราะต้องใช้มือในการกดคีย์บอร์ด คลิกเม้าส์ เมื่อกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือตามมา บางคนเป็นถึงขนาดนิ้วล็อก ขยับนิ้วมือได้ลำบาก ต้องผ่าตัดรักษา
ออฟฟิศซินโดรม


แบบไหน "ใช่" ออฟฟิศซินโดรม

          มีข้อมูลยืนยันว่า อาการนี้พบบ่อยและพบมากในกลุ่มคนทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มสาวออฟฟิศ และด้วยวิถีการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมขึ้นได้ไม่ยาก อยากรู้ว่าตัวเองเสี่ยงกับอาการนี้หรือไม่ ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูว่า

          มักจะนั่งทำงานติดต่อกันนาน ๆ

          เพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง

          โต๊ะ-เก้าอี้ ที่ใช้นั่งทำงานไม่สะดวกสบาย

          นั่งใกล้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ หรือเครื่องพิมพ์เอกสาร
 
          ถ้าคำตอบคือ ใช่ เพียงแค่ 1 ข้อ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงแล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพียงลุกขึ้นบิดตัว ขยับซ้าย-ขวา จะช่วยให้อาการดีขึ้น เพราะอาการดังกล่าวเกิดมาจากความเมื่อยล้าในการทำงาน ตำแหน่งที่มักจะเกิดอาการปวดเมื่อย คือ คอ สะบักและศีรษะ รองลงมาคือ บริเวณหลัง บางครั้งมีอาการมือชาด้วย
 
          แต่บางคนอาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาจรู้สึกหายใจไม่เต็มที่ หายใจไม่สะดวก อึดอัด นอกจากนี้ความเครียดจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงาน หรือเครียดจากร่างกายซึ่งอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะ อุณหภูมิห้องร้อนหรือเย็นเกินไป และเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมชัดเจนยิ่งขึ้น

          อาการใกล้ตัวนี้ถ้าเป็นมาก จะก่อกวนระบบประสาทอัตโนมัติบริเวณคอและศีรษะ ทำให้ปวดเมื่อยคอ ตาพร่า หูอื้อ มึนศีรษะ หากละเลยไม่ใส่ใจอาจถึงขั้นวูบได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและใส่ใจตัวเองอย่างสม่ำเสมอค่ะ
 
ออฟฟิศซินโดรม


ออฟฟิศซินโดรม...เลี่ยงได้ไม่ยาก

          อาการนี้แม้จะมีวิธีการรักษา แต่ก็ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คงดีกว่าหากออฟฟิศซินโดรมจะไม่มากล้ำกราย เพราะฉะนั้นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงอุปกรณ์บางอย่าง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงกับอาการนี้ให้น้อยลง
    
ปรับพฤติกรรม

          กะพริบตาบ่อย ๆ

          ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก ๆ 1 ชั่วโมง

          พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10 นาที

          เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที

          นั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้

          วางข้อมือในตำแหน่งตรง ไม่บิด หรืองอข้อมือขึ้นหรือลง
 

ปรับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

1.คอมพิวเตอร์

          ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้า

          ขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับสายตา ในท่านั่งที่คุณรู้สึกสบาย

          จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่อ่านสบายตา

          ควรให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย

          ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่

 
2.โต๊ะ-เก้าอี้

          ควรปรับให้ขอบของเบาะเก้าอี้ต่ำกว่าระดับเข่า

          ลองนั่งบนเก้าอี้ แล้ววางเท้าลงบนพื้น ให้ขาทำมุมประมาณ 90 องศา

          ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง

          ปรับที่รองแขนให้อยู่ระดับข้อศอกและไหล่อยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย

          ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง

          ปรับที่วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา

          ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้แล้ว ควรให้ความสำคัญเรื่องออกกำลังกายด้วย โยคะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมมาก เพราะยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพและกล้ามเนื้อ เพียงเท่านี้...ออฟฟิศซินโดรมไม่มากล้ำกรายให้วุ่นวายแล้วค่ะ
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก   ::       http://lifevantage9.blogspot.co.uk/2017/11/blog-post_19.html 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น