โรคประสาทหูเสื่อม
การได้ยินของคนเรานั้น เสียงจะเคลื่อนที่จากหูชั้นนอกเข้าสู่หูชั้นกลาง และเข้าสู่หูชั้นใน ซึ่งบริเวณหูชั้นในที่เป็นอวัยวะรูปก้นหอยจะประกอบด้วยเซลล์ขนที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงต่อไปให้เส้นใยประสาทส่งต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมายของเสียง หากเซลล์ขนเสียหายหรือชำรุดจากภาวะเสียงดังรุนแรงหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน เซลล์ขนจะไม่สามารถกลับทำหน้าที่เหมือนเดิมได้ และเกิดการร่วงหลุดได้ ทำให้สัญญาณเสียงเกิดการขาดช่วงในการเดินทางเข้าสู่การแปลผลของสมอง และเกิดการสูญเสียการได้ยิน หรือที่เรียกว่า โรคประสาทหูเสื่อม (Sensorineural Hearing Loss)
การเสียหายของเซลล์ขนจากการได้รับเสียงดังจะค่อยๆหลุดร่วงซึ่งจะใช้เวลานานกว่าอาการประสาทหูเสื่อมจะแสดงออกจึงทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนักกับการใส่ใจเรื่องหู และการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียง
สาเหตุการสูญเสียการได้ยิน
1. จากการเสื่อมสภาพของอวัยวะ ได้แก่ การเสื่อมสภาพตามวัยของร่างกาย โดยพบมากในผู้สูงอายุ ลักษณะการสูญเสียการได้ยินแบบนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าตามวัย โดยจะเกิดกับหูทั้งสองข้างเท่ากัน และจะเกิดกับความถี่เสียงสูงก่อนค่อยๆเกิดกับความถี่เสียงต่ำ
2. ภาวะความผิดปกติจากพันธุกรรม โดยมักพบประวัติการผิดปกติของการได้ยินในเครือญาติของผู้ป่วย อาการของโรคจะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย ลักษณะการสูญเสียการได้ยินจะเป็นแบบสื่อกระแสไฟฟ้าสูญเสียการได้ยินปกติ (Conductive) แบบผิดปกติทางประสาท และการได้ยิน (sensor neural) หรือแบบผสม (mixed) นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของอวัยวะอื่นร่วมด้วยในกลุ่มของโรค เช่น โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otoosclerosis)
3. การติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ได้แก่ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meninggitis) หรือสมองอักเสบ (Encephalitis) และอาจติดเชื้อจากแบคทีเรีย และไวรัสก็ได้ นอกจากนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ โรคไตวาย โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะไขมัน และคอลเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบไบลาเตอรอล โปรเกรสซีบ (Bilateral Progressive) ในช่งระดับเสียงความถี่สูง
การสูญเสียการได้ยินแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว (temporary threshold shift: TTS) คือ อาการหูตึงที่เกิดจากการสัมผัสกับเสียงดังในระยะเวลานานพอจนทำให้เกิดอาการ หูตึงชั่วขณะ ซึ่งจะเกิดประมาณ 2-3 ชั่วโมง และจะหายเป็นปกติเมื่อไม่ได้สัมผัสกับแหล่งเสียงดัง
2. การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร (permanent threshold shift: PTS) คือ อาการหูตึงที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลานานพอหรือต่อเนื่อง เป็นประจำ อาการหูตึงนี้จะยังคงอยู่ไม่หายเป็นปกติถึงแม้จะหยุดสัมผัสกับเสียงดังแล้ว ก็ตาม นอกจากนี้ อาการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรอาจเกิดร่วมกับแก้วหูทะลุจากการสัมผัสเสียงดัง มากกว่า 140 เดซิเบล เอ
นอกจากนั้น สัมผัสกับเสียงดังมากในระยะเวลาอันสั้น เช่น เสียงระเบิด เสียงปืนใหญ่ เป็นต้นจะทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน สิ่งที่มักตามมาคือการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรจากอวัยวะเยื่อแก้วหูถูกทำลาย
การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เมื่อหูสัมผัสกับเสียงดังจะมีความรู้สึกดังก้องในรูหู ทั้งขณะสัมผัสกับแหล่งเสียง และไม่ได้สัมผัสกับแหล่งเสียงแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะ 10-20 วันแรก นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดหัว เวียนศรีษะ ร่างกายอ่อนเพลียตามมา
ระยะที่ 2 เกิดในช่วง 2-3 เดือน หลังการสัมผัสเสียงดังมานานหรือติดต่อกัน ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของเสียงเหมือนในระยะแรก หากเมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องตรวจสมรรถนะการได้ยินจะพบว่าความสามารถการได้ยิน และตอบสนองต่อเสียงลดลง
ระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกไม่ได้ยินเสียงเหมือนปกติ เช่น เสียงดังมากจะรู้สึกเหมือนเสียงดังธรรมดา เสียงดังค่อย เช่น เสียงนาฬิกาเดินจะไม่ได้ยินเสียง หรือเสียงที่เคยรับฟังในปกติจะรู้สึกดังค่อยต้องเพิ่มระดับเสียงเพิ่มขึ้น ซึ่งคนปกติจะรู้สึกว่ามีเสียงดัง
ระยะที่ 4 เป็นระยะของการสูญเสียการได้ยิน หากมีการสนทนาจะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถรับฟังเสียงการสนทนาได้เหมือนปกติ ต้องใช้การพูดข้างหูหรือต้องใช้เสียงดังจึงจะสามารถจับใจความได้
การป้องกัน
1. การป้องกันที่แหล่งเสียง
– ปรับเปลี่ยนวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงดัง
– ใส่น้ำยาหล่อลื่นสำหรับอุปกรณ์ที่มีการกระทบกระแทกตลอดเวลา
2. การป้องกันที่ทางผ่าน
– ใช้ผนังหรือกำแพงกั้นแหล่งกำเนิดเสียง
– ใช้วัสดุครอบอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงดัง
วิดีโอ YouTube
https://youtu.be/jH3CBiRHxW8
3. การป้องกันที่บุคคล
– การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียง เมื่ออยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียง
– การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเสียง และหลักการปฏิบัติเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง
– ลดระยะเวลาในการสัมผัสกับเสียงหรือเว้นช่วงการสัมผัสเสียง เช่น การอยู่ในสถานที่หรือการทำงานที่ไม่ต้องสัมผัสเสียง
– ทำการตรวจสมรรถนะการได้ยินทุกปีอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะคนที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีเสียงดังหรือต้องสัมผัสกับเสียงดังอยู่เสมอ
ที่มา :: เว็บไซต์ thaihealthlife.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
หูตึง หูหนวก หูดับ อาการ สาเหตุ และการรักษาภาวะหูตึงหูหนวก 10 วิธี !!
หูตึง หูหนวก
หูตึง หูหนวก หูดับ หรือ การสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss, Hearing impairment, Deaf หรือ Deafness) หมายถึง ภาวะที่ความสามารถในการได้ยิน/รับเสียงลดลง ซึ่งอาจเป็นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็ได้ (หูหนวกสนิท) โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมักเกิดจาก ประสาทหูเสื่อมตามวัย ความผิดปกติแต่กำเนิด การได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติเป็นเวลานาน การได้รับบาดเจ็บบริเวณหู ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะแบบฉีด) เป็นต้น
กลไกการได้ยินปกติจะประกอบไปด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยหูชั้นนอกจะที่ทำหน้าที่รวบรวมเสียงจากภายนอกเข้าสู่ช่องหูและส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง ส่วนหูชั้นกลางจะมีหน้าที่รับพลังงานเสียงที่ส่งผ่านมาจากหูชั้นนอก ทำให้เยื่อแก้วหูและกระดูกหู 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน เกิดการสั่นสะเทือนตามคลื่นเสียง และหูชั้นในจะรับการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาจากหูชั้นกลางนั้นมายังคอเคลีย (Cochlea) ที่มีตัวรับสัญญาณเสียงเป็นเซลล์ขนขนาดเล็ก (Hair cell) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electronic impulses) แล้วสัญญาณไฟฟ้านี้จะส่งต่อไปยังเส้นประสาทรับเสียงและสมอง เพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน
หูตึง หูหนวก หูดับ หรือ การสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss, Hearing impairment, Deaf หรือ Deafness) หมายถึง ภาวะที่ความสามารถในการได้ยิน/รับเสียงลดลง ซึ่งอาจเป็นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็ได้ (หูหนวกสนิท) โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมักเกิดจาก ประสาทหูเสื่อมตามวัย ความผิดปกติแต่กำเนิด การได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติเป็นเวลานาน การได้รับบาดเจ็บบริเวณหู ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะแบบฉีด) เป็นต้น
กลไกการได้ยินปกติจะประกอบไปด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยหูชั้นนอกจะที่ทำหน้าที่รวบรวมเสียงจากภายนอกเข้าสู่ช่องหูและส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง ส่วนหูชั้นกลางจะมีหน้าที่รับพลังงานเสียงที่ส่งผ่านมาจากหูชั้นนอก ทำให้เยื่อแก้วหูและกระดูกหู 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน เกิดการสั่นสะเทือนตามคลื่นเสียง และหูชั้นในจะรับการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาจากหูชั้นกลางนั้นมายังคอเคลีย (Cochlea) ที่มีตัวรับสัญญาณเสียงเป็นเซลล์ขนขนาดเล็ก (Hair cell) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electronic impulses) แล้วสัญญาณไฟฟ้านี้จะส่งต่อไปยังเส้นประสาทรับเสียงและสมอง เพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน
ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
การสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
- การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง (แต่ประสาทหูยังดีอยู่) ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังส่วนของหูชั้นใน สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด (โดยปกติคลื่นเสียงจากภายนอกเมื่อผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบกับเยื่อแก้วหู แล้วมีการส่งต่อและขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป) โดยสาเหตุมักเกิดจาก
- เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) ผู้ป่วยจะมีอาการหูตึงเกิดขึ้นในทันทีภายหลังการได้รับบาดเจ็บ
- ขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction) ทำให้เกิดอาการหูตึงได้แบบชั่วคราว เมื่อเอาขี้หูออกก็สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติอีกครั้ง
- หูชั้นกลางอักเสบหรือหูน้ำหนวก (Otitis media) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยหูหนวกได้
- ภาวะมีน้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง (Serous otitis media)
- ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (ท่อยูสเตเชียนเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก)
- โรคหินปูนในหูชั้นกลาง (Otosclerosis) ทำให้กระดูกใหม่งอกขึ้นมา ซึ่งมักงอกขึ้นมายึดกระดูกโกลน ทำให้การสั่นของกระดูกผิดปกติและส่งผลให้เกิดอาการหูตึง โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การรักษาต้องทำการผ่าตัดหรือใส่เครื่องช่วยฟัง
- กระดูกหูชั้นกลางหักหรือหลุดจากอุบัติเหตุ เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรงที่ศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูอื้อ หูตึงทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ การรักษาต้องอาศัยการผ่าตัด
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น หูพิการแต่กำเนิด สิ่งแปลกปลอมเข้าหูทำให้เกิดการอุดตันในช่องหู แก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูหนา มีเลือดออกในหูชั้นกลาง ฯลฯ
- การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของส่วนหูชั้นใน ประสาทรับเสียง ไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่าง ๆ ความผิดปกติบริเวณนี้จะทำให้ได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และบางโรคอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยสาเหตุมักเกิดจาก
- ประสาทหูเสื่อมตามวัย/หูตึงในผู้สูงอายุ (Presbycusis hearing loss) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด (80% มักเกิดจากสาเหตุนี้) มีสาเหตุมาจากเซลล์ขนในหูชั้นในและเส้นประสาทหูค่อย ๆ เสื่อมไปตามอายุ โดยเฉพาะเซลล์ขนส่วนฐานของคอเคลียจะเสื่อมไปก่อน ทำให้สูญเสียการได้ยินช่วงเสียงแหลมเมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมนั้นจะลามไปถึงช่วงความถี่กลางสำหรับฟังเสียงพูด ทำให้ผู้สูงอายุเริ่มหูตึง ฟังไม่ชัดเจนถึงระดับเสียงที่ดังขึ้น และมักบ่นว่าได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง นั่นเป็นเพราะเซลล์ขนแปลสัญญาณผิดเพี้ยนไป ทำให้สมองอ่านสัญญาณไม่ออก โดยมากผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุได้ประมาณ 60 ปีขึ้นไป ในผู้ชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าและมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินได้
- ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (Acoustic trauma) เป็นการเสื่อมของเส้นประสาทหูที่เกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้น ๆ หรือได้ยินเพียงครั้งเดียว เช่น การได้ยินเสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงประทัด เป็นต้น
- ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Noise-induced hearing loss) จากการได้ยินเสียงดังระดับปานกลางหรือดังเกิน 85 เดซิเบลขึ้นไปเป็นเวลานาน ๆ (เสียงสนทนาปกติจะดังประมาณ 60 เดซิเบล และเสียงจากเครื่องเจาะถนนจะดังประมาณ 120 เดซิเบล) เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน, ทหาร/ตำรวจที่ต้องฝึกซ้อมการยิงปืนเป็นประจำ, เสียงดังจากเครื่องจักรหรือยวดยานพาหนะต่าง ๆ, เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีที่ดังเกินควรที่ฟังผ่านหูฟัง, เสียงในงานคอนเสิร์ตที่ดังมาก ๆ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสียงความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักทำให้เกิดอาการหูตึงได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายไปอย่างถาวรและไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืนมาดีได้เหมือนเดิม ผู้ป่วยมักจะมีอาการเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียงกระดิ่ง) สู้เสียงต่ำ (เช่น เสียงเคาะประตู) ไม่ได้ ถ้ายังอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึงจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นหูหนวกได้ แต่ถ้าเลิกอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง ๆ อาการหูตึงก็จะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง
- ประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิด เช่น การขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์หรือระหว่างคลอด, การติดเชื้อแต่กำเนิดหรือหลังคลอด เช่น ซิฟิลิส หัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ (มักเกิดจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำลายประสาทหูทารกในครรภ์ ในรายที่หูหนวกแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูเด็กมักจะใบ้ร่วมด้วย)
- หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)
- โรคเมเนียส์/น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s disease) ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและอาจหายเองได้ แต่มีส่วนน้อยที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิทได้ ส่วนการรักษา แพทย์จะทำการรักษาด้วยยา ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัด
- โรคเนื้องอกประสาทหู (Acoustic neuroma) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหูตึงขึ้นทีละน้อยหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันก็ได้
- โรคซิฟิลิส (Syphilis) ซึ่งในระยะท้ายของโรคหรือระยะแฝงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตาบอด หูหนวก ใบหน้าผิดรูป กระดูกผุ
- การได้รับอุบัติเหตุของหูชั้นใน ซึ่งอาจเกิดจากการถูกตบตี การได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณกกหูหรือถูกตบตีบริเวณด้านหลังศีรษะ ทำให้กระดูกหูชั้นในแตกร้าวและส่งผลให้เกิดอาการหูตึงชนิดประสาทหูเสื่อมในระดับเล็กน้อยถึงหูหนวกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุและลักษณะการแตกร้าวของกระดูก
- การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน
- การมีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (Perilymphatic fistula)
- การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (Ototoxic drug) เป็นระยะเวลานาน เช่น ซาลิไซเลต (Salicylate), อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ควินิน (Quinine), แอสไพริน (Aspirin), สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin), กานามัยซิน (Kanamycin), เจนตามัยซิน (Gentamicin), โทบรามัยซิน (Tobramycin) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกับหูทั้งสองข้าง อาการจะเป็นทีละน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยาบางชนิดจะทำให้มีอาการเพียงชั่วคราว เมื่อหยุดยาแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหรือคงเดิมได้ แต่ยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการถาวร รักษาไม่หาย
- สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคหูตึงจากกรรมพันธุ์
- สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น โรคโลหิตจาง, โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, โรคที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, โรคเบาหวาน, โรคไต เป็นต้น
- สาเหตุที่เกิดในสมอง (Central hearing impairment) ทำให้ผู้ป่วยได้ยินเสียง แต่ไม่สามารถแปลความหมายได้ จึงไม่สามารถเข้าใจความหมายของเสียงที่ได้ยินและไม่สามารถตอบโต้กลับไปได้ เช่น โรคของเส้นเลือด (เช่น เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน), โรคความดันโลหิตสูง, เลือดออกในสมองจากไขมันในเลือดสูง, โรคเนื้องอกในสมอง (เนื้องอกของประสาทหู และ/หรือประสาทการทรงตัว)
- การสูญเสียการได้ยินชนิดการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในการนำเสียงบกพร่องร่วมกับประสาทรับเสียงบกพร่อง ซึ่งพบในโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ร่วมกับความผิดปกติของหูชั้นใน โรคที่พบ เช่น
- โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังที่ลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน
- โรคในหูชั้นกลางของผู้สูงอายุที่มีปัญหาประสาทรับเสียงเสื่อมด้วย
- โรคหินปูนเกาะกระดูกโกลนและมีพยาธิสภาพในหูชั้นในร่วมด้วย (Cochlear otosclerosis)
อย่างไรก็ตาม มีผู้สูญเสียสมรรถภาพของการได้ยินจำนวนไม่น้อยที่แพทย์อาจตรวจไม่พบสาเหตุก็ได้
IMAGE SOURCE : audiology.nmsu.edu
การสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
- การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง (แต่ประสาทหูยังดีอยู่) ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังส่วนของหูชั้นใน สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด (โดยปกติคลื่นเสียงจากภายนอกเมื่อผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบกับเยื่อแก้วหู แล้วมีการส่งต่อและขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป) โดยสาเหตุมักเกิดจาก
- เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) ผู้ป่วยจะมีอาการหูตึงเกิดขึ้นในทันทีภายหลังการได้รับบาดเจ็บ
- ขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction) ทำให้เกิดอาการหูตึงได้แบบชั่วคราว เมื่อเอาขี้หูออกก็สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติอีกครั้ง
- หูชั้นกลางอักเสบหรือหูน้ำหนวก (Otitis media) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยหูหนวกได้
- ภาวะมีน้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง (Serous otitis media)
- ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (ท่อยูสเตเชียนเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก)
- โรคหินปูนในหูชั้นกลาง (Otosclerosis) ทำให้กระดูกใหม่งอกขึ้นมา ซึ่งมักงอกขึ้นมายึดกระดูกโกลน ทำให้การสั่นของกระดูกผิดปกติและส่งผลให้เกิดอาการหูตึง โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การรักษาต้องทำการผ่าตัดหรือใส่เครื่องช่วยฟัง
- กระดูกหูชั้นกลางหักหรือหลุดจากอุบัติเหตุ เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรงที่ศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูอื้อ หูตึงทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ การรักษาต้องอาศัยการผ่าตัด
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น หูพิการแต่กำเนิด สิ่งแปลกปลอมเข้าหูทำให้เกิดการอุดตันในช่องหู แก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูหนา มีเลือดออกในหูชั้นกลาง ฯลฯ
- การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของส่วนหูชั้นใน ประสาทรับเสียง ไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่าง ๆ ความผิดปกติบริเวณนี้จะทำให้ได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และบางโรคอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยสาเหตุมักเกิดจาก
- ประสาทหูเสื่อมตามวัย/หูตึงในผู้สูงอายุ (Presbycusis hearing loss) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด (80% มักเกิดจากสาเหตุนี้) มีสาเหตุมาจากเซลล์ขนในหูชั้นในและเส้นประสาทหูค่อย ๆ เสื่อมไปตามอายุ โดยเฉพาะเซลล์ขนส่วนฐานของคอเคลียจะเสื่อมไปก่อน ทำให้สูญเสียการได้ยินช่วงเสียงแหลมเมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมนั้นจะลามไปถึงช่วงความถี่กลางสำหรับฟังเสียงพูด ทำให้ผู้สูงอายุเริ่มหูตึง ฟังไม่ชัดเจนถึงระดับเสียงที่ดังขึ้น และมักบ่นว่าได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง นั่นเป็นเพราะเซลล์ขนแปลสัญญาณผิดเพี้ยนไป ทำให้สมองอ่านสัญญาณไม่ออก โดยมากผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุได้ประมาณ 60 ปีขึ้นไป ในผู้ชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าและมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินได้
- ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (Acoustic trauma) เป็นการเสื่อมของเส้นประสาทหูที่เกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้น ๆ หรือได้ยินเพียงครั้งเดียว เช่น การได้ยินเสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงประทัด เป็นต้น
- ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Noise-induced hearing loss) จากการได้ยินเสียงดังระดับปานกลางหรือดังเกิน 85 เดซิเบลขึ้นไปเป็นเวลานาน ๆ (เสียงสนทนาปกติจะดังประมาณ 60 เดซิเบล และเสียงจากเครื่องเจาะถนนจะดังประมาณ 120 เดซิเบล) เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน, ทหาร/ตำรวจที่ต้องฝึกซ้อมการยิงปืนเป็นประจำ, เสียงดังจากเครื่องจักรหรือยวดยานพาหนะต่าง ๆ, เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีที่ดังเกินควรที่ฟังผ่านหูฟัง, เสียงในงานคอนเสิร์ตที่ดังมาก ๆ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสียงความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักทำให้เกิดอาการหูตึงได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายไปอย่างถาวรและไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืนมาดีได้เหมือนเดิม ผู้ป่วยมักจะมีอาการเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียงกระดิ่ง) สู้เสียงต่ำ (เช่น เสียงเคาะประตู) ไม่ได้ ถ้ายังอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึงจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นหูหนวกได้ แต่ถ้าเลิกอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง ๆ อาการหูตึงก็จะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง
- ประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิด เช่น การขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์หรือระหว่างคลอด, การติดเชื้อแต่กำเนิดหรือหลังคลอด เช่น ซิฟิลิส หัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ (มักเกิดจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำลายประสาทหูทารกในครรภ์ ในรายที่หูหนวกแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูเด็กมักจะใบ้ร่วมด้วย)
- หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)
- โรคเมเนียส์/น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s disease) ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและอาจหายเองได้ แต่มีส่วนน้อยที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิทได้ ส่วนการรักษา แพทย์จะทำการรักษาด้วยยา ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัด
- โรคเนื้องอกประสาทหู (Acoustic neuroma) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหูตึงขึ้นทีละน้อยหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันก็ได้
- โรคซิฟิลิส (Syphilis) ซึ่งในระยะท้ายของโรคหรือระยะแฝงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตาบอด หูหนวก ใบหน้าผิดรูป กระดูกผุ
- การได้รับอุบัติเหตุของหูชั้นใน ซึ่งอาจเกิดจากการถูกตบตี การได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณกกหูหรือถูกตบตีบริเวณด้านหลังศีรษะ ทำให้กระดูกหูชั้นในแตกร้าวและส่งผลให้เกิดอาการหูตึงชนิดประสาทหูเสื่อมในระดับเล็กน้อยถึงหูหนวกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุและลักษณะการแตกร้าวของกระดูก
- การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน
- การมีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (Perilymphatic fistula)
- การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (Ototoxic drug) เป็นระยะเวลานาน เช่น ซาลิไซเลต (Salicylate), อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ควินิน (Quinine), แอสไพริน (Aspirin), สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin), กานามัยซิน (Kanamycin), เจนตามัยซิน (Gentamicin), โทบรามัยซิน (Tobramycin) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกับหูทั้งสองข้าง อาการจะเป็นทีละน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยาบางชนิดจะทำให้มีอาการเพียงชั่วคราว เมื่อหยุดยาแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหรือคงเดิมได้ แต่ยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการถาวร รักษาไม่หาย
- สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคหูตึงจากกรรมพันธุ์
- สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น โรคโลหิตจาง, โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, โรคที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, โรคเบาหวาน, โรคไต เป็นต้น
- สาเหตุที่เกิดในสมอง (Central hearing impairment) ทำให้ผู้ป่วยได้ยินเสียง แต่ไม่สามารถแปลความหมายได้ จึงไม่สามารถเข้าใจความหมายของเสียงที่ได้ยินและไม่สามารถตอบโต้กลับไปได้ เช่น โรคของเส้นเลือด (เช่น เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน), โรคความดันโลหิตสูง, เลือดออกในสมองจากไขมันในเลือดสูง, โรคเนื้องอกในสมอง (เนื้องอกของประสาทหู และ/หรือประสาทการทรงตัว)
- การสูญเสียการได้ยินชนิดการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในการนำเสียงบกพร่องร่วมกับประสาทรับเสียงบกพร่อง ซึ่งพบในโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ร่วมกับความผิดปกติของหูชั้นใน โรคที่พบ เช่น
- โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังที่ลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน
- โรคในหูชั้นกลางของผู้สูงอายุที่มีปัญหาประสาทรับเสียงเสื่อมด้วย
- โรคหินปูนเกาะกระดูกโกลนและมีพยาธิสภาพในหูชั้นในร่วมด้วย (Cochlear otosclerosis)
อย่างไรก็ตาม มีผู้สูญเสียสมรรถภาพของการได้ยินจำนวนไม่น้อยที่แพทย์อาจตรวจไม่พบสาเหตุก็ได้
IMAGE SOURCE : audiology.nmsu.eduอาการหูตึงหูหนวก
ผู้ป่วยจะมีอาการที่การได้ยินลดลงจนถึงไม่ได้ยินเลยก็ได้ โดยอาจมีอาการเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นคนที่หูตึงข้างเดียวจะมีปัญหาในการฟังและลำบากในการหาทิศทางของเสียง ส่วนคนที่หูตึงทั้งสองข้างจะมีปัญหาทางการได้ยินในระดับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยินว่าเป็นมากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าหูตึงน้อยจะไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ หรือเสียงกระซิบ หูตึงปานกลางจะไม่ได้ยินเสียงพูดปกติ หูตึงมากจะไม่ได้ยินเสียงพูดดัง ๆ หูตึงรุนแรงจะได้ยินเสียงตะโกนเพียงเล็กน้อย แต่ได้ยินไม่ชัด แต่ถ้าหูหนวก การตะโกนก็ไม่ช่วยทำให้ได้ยินเสียงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ อาการหูตึงหูหนวกอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ เวียนศีรษะ มีสารคัดหลั่งจากหู เป็นใบ้
ทราบได้อย่างไรว่าหูตึงหูหนวก ?
“เดซิเบล” (decibel – dB) เป็นหน่วยวัดระดับความดังของเสียง ค่าเดซิเบลจะเพิ่มขึ้นตามเสียงที่ดังมากขึ้น ในคนที่การได้ยินปกติจะได้ยินเสียงในระดับ 25 เดซิเบลหรือเบากว่านั้นได้ แต่ในคนหูตึงจะไม่ได้ยินเสียงที่เบากว่าระดับ 25 เดซิเบล
ระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยิน
ระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกได้เป็น หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง และหูหนวก
ระดับการได้ยิน ระดับความผิดปกติ ลักษณะอาการ
-10-25 dB การได้ยินปกติ ได้ยินเสียงพูดกระซิบเบา ๆ
26-40 dB หูตึงน้อย ไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ และอาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังบางโอกาส เช่น ตอนเรียนหนังสือ
41-55 dB หูตึงปานกลาง ไม่ได้ยินเสียงพูดปกติ ต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุย
56-70 dB หูตึงมาก ไม่ได้ยินเสียงพูดที่ดังมาก และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
71-90 dB หูตึงรุนแรง ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ได้ยินไม่ชัด
มากกว่า 90 dB หูหนวก การตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงก็ไม่ได้ยินและเข้าใจความหมาย
แม้การสังเกตข้างต้นอาจบอกจะพอบอกได้คร่าว ๆ ว่า เรามีภาวะหูตึงหรือหูหนวกหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยินที่แน่นอนกว่านั้นจะต้องใช้เครื่องตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อวัดระดับการได้ยินเสียงบริสุทธิ์ในแต่ละความถี่
ระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกได้เป็น หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง และหูหนวก
ระดับการได้ยิน | ระดับความผิดปกติ | ลักษณะอาการ |
---|---|---|
-10-25 dB | การได้ยินปกติ | ได้ยินเสียงพูดกระซิบเบา ๆ |
26-40 dB | หูตึงน้อย | ไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ และอาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังบางโอกาส เช่น ตอนเรียนหนังสือ |
41-55 dB | หูตึงปานกลาง | ไม่ได้ยินเสียงพูดปกติ ต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุย |
56-70 dB | หูตึงมาก | ไม่ได้ยินเสียงพูดที่ดังมาก และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา |
71-90 dB | หูตึงรุนแรง | ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ได้ยินไม่ชัด |
มากกว่า 90 dB | หูหนวก | การตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงก็ไม่ได้ยินและเข้าใจความหมาย |
แม้การสังเกตข้างต้นอาจบอกจะพอบอกได้คร่าว ๆ ว่า เรามีภาวะหูตึงหรือหูหนวกหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยินที่แน่นอนกว่านั้นจะต้องใช้เครื่องตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อวัดระดับการได้ยินเสียงบริสุทธิ์ในแต่ละความถี่
วิธีการสังเกตอาการหูตึงด้วยตนเอง
เราสามารถสังเกตว่ามีภาวะหูตึงหรือไม่ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ
- ฟังเสียงกระซิบหรือเสียงถูนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ใกล้ใบหู ซึ่งปกติเสียงกระซิบจะได้ยินดังประมาณ 30 เดซิเบล แต่ถ้าไม่ได้ยินให้สงสัยว่าอาจมีปัญหาการได้ยิน
- ไปตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินที่โรงพยาบาล ซึ่งการตรวจจะใช้เวลาเพียง 10-15 นาที ผู้ตรวจจะให้เราฟังเสียงพูดหรือเสียงบริสุทธิ์ที่ความถี่ต่าง ๆ ผ่านทางหูฟัง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษผ่านทางกระดูก ก็จะทำให้ทราบผลได้ทันทีภายหลังการตรวจ
IMAGE SOURCE : www.ezyhealth.com
เราสามารถสังเกตว่ามีภาวะหูตึงหรือไม่ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ
- ฟังเสียงกระซิบหรือเสียงถูนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ใกล้ใบหู ซึ่งปกติเสียงกระซิบจะได้ยินดังประมาณ 30 เดซิเบล แต่ถ้าไม่ได้ยินให้สงสัยว่าอาจมีปัญหาการได้ยิน
- ไปตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินที่โรงพยาบาล ซึ่งการตรวจจะใช้เวลาเพียง 10-15 นาที ผู้ตรวจจะให้เราฟังเสียงพูดหรือเสียงบริสุทธิ์ที่ความถี่ต่าง ๆ ผ่านทางหูฟัง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษผ่านทางกระดูก ก็จะทำให้ทราบผลได้ทันทีภายหลังการตรวจ
การวินิจฉัยหูตึงหูหนวก
- แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการหูอื้อ หูตึง, ลักษณะอาการที่เป็นเกิดขึ้นทันทีหรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ, ประวัติการได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงพลุ เป็นต้น, การมีอาการทางหูและอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเสียงรบกวนในหู เวียนศีรษะ มีอาการชาใบหน้า เดินเซ เป็นต้น, ประวัติการใช้ยาและโรคประจำตัว, ประวัติคนในครอบครัวที่เป็นโรคหูตึง
- แพทย์จะทำการตรวจหูอย่างละเอียด ทั้งหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหูของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจมูกและคอ นอกจากนั้นก็จะตรวจระบบประสาท เส้นประสาทสมองต่าง ๆ
- การตรวจพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อยืนยันและประเมินระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยิน, การตรวจวัดสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Tympanogram), การตรวจดูคลื่นของเส้นประสาทรับเสียงและก้านสมอง (Evoke auditory response) ในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทรับเสียง
- ถ้ายังไม่พบสาเหตุหรือในรายที่แพทย์สงสัยว่าจะมีเนื้องอก อาจจำเป็นต้องทำการตรวจเอกซเรย์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (CT/MRI)
- นอกจากนี้อาจมีการตรวจเลือด เบาหวาน โรคไต ไขมัน คอเรสเตอรอล ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เชื้อซิฟิลิสหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฯลฯ
- แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการหูอื้อ หูตึง, ลักษณะอาการที่เป็นเกิดขึ้นทันทีหรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ, ประวัติการได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงพลุ เป็นต้น, การมีอาการทางหูและอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเสียงรบกวนในหู เวียนศีรษะ มีอาการชาใบหน้า เดินเซ เป็นต้น, ประวัติการใช้ยาและโรคประจำตัว, ประวัติคนในครอบครัวที่เป็นโรคหูตึง
- แพทย์จะทำการตรวจหูอย่างละเอียด ทั้งหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหูของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจมูกและคอ นอกจากนั้นก็จะตรวจระบบประสาท เส้นประสาทสมองต่าง ๆ
- การตรวจพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อยืนยันและประเมินระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยิน, การตรวจวัดสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Tympanogram), การตรวจดูคลื่นของเส้นประสาทรับเสียงและก้านสมอง (Evoke auditory response) ในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทรับเสียง
- ถ้ายังไม่พบสาเหตุหรือในรายที่แพทย์สงสัยว่าจะมีเนื้องอก อาจจำเป็นต้องทำการตรวจเอกซเรย์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (CT/MRI)
- นอกจากนี้อาจมีการตรวจเลือด เบาหวาน โรคไต ไขมัน คอเรสเตอรอล ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เชื้อซิฟิลิสหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฯลฯ
การรักษาหูตึงหูหนวก
แพทย์จะให้การรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งแบ่งเป็นการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด
- เมื่อมีอาการหูตึงหูหนวกเกิดขึ้นหรือเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์หูคอจมูกที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เพราะบางสาเหตุอาจรักษาให้หายและหูกลับมาได้ยินเป็นปกติได้
- ถ้าหูตึงไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง และไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือ ยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้อยู่หรือเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อีกข้างยังดีอยู่ อาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องทำใจยอมรับ
- ถ้าหูตึงมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะในรายที่เป็นกับหูทั้ง 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง
- ถ้าหูตึงเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงเสียงดัง, รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี (เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด โรคไต), หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู, ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู, หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน, ลดอาหารเค็มหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท (เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการสูบบุหรี่), ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
- ส่วนใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องจากโรคของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น เยื่อแก้วหูทะลุ ภาวะน้ำขังในหูชั้นกลาง ช่องหูตีบตัน กระดูกหูผิดรูปหรือเลื่อนหลุด และโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง แพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดแก้ไขให้ได้ยินดีขึ้นได้ (ยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ ยาขยายหลอดเลือดที่ช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น และยาบำรุงประสาทหู)
- ในรายที่ประสาทหูเสื่อมหรือเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาจจะต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง ในรายที่มาพบแพทย์ช้า การรักษามักจะไม่ค่อยได้ผลดี และส่วนใหญ่จะรักษาไม่ได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
- ในรายที่ประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีโอกาสรักษาให้คืนกลับสู่ปกติได้ในช่วงเดือนแรก ๆ แต่หากยังไม่ฟื้นคืนภายใน 3 เดือนแรก ก็จะมีโอกาสน้อยมากที่จะหายเป็นปกติ ในผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมเกิน 6 เดือน ควรพิจารณาใช้เครื่องช่วยฟัง
- สำหรับเครื่องช่วยฟังจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดและมีกลไกการทำงานที่ต่างกันไป (ปัจจุบันในประเทศมีให้เลือกใช้เพียง 2 ชนิดแรก) เช่น
- เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (Conventional hearing aids) เป็นเครื่องช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยเสียงจะเดินทางผ่านอวัยวะรับการได้ยินตามเส้นทางการเดินของคลื่นเสียงปกติIMAGE SOURCE : hearingaidbuyertoday.com, www.zazbot.com
- ประสาทหูเทียม (Cochlear implant) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วยสายไฟฟ้าเล็ก ๆ ที่มีการรับเสียงและแปรเสียง แล้วส่งสัญญาณเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยินเข้าไปที่สมอง ทำให้สามารถแปลเสียงนั้นออกมาได้ โดยประสาทหูเทียมจะถูกฝังเข้าไปในกระดูกก้นหอยที่อยู่ในหูชั้นในโดยการผ่าตัดหลังหูกรอเอากระดูกหลังหูออกและทำการฝังเครื่องเอาไว้ที่หลังหูด้านนอกกะโหลกศีรษะ แล้วต่อกับเครื่องภายนอกด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้กระตุ้นเสียงเข้าไปข้างใน (มักใช้ในรายที่ประสาทหูเสื่อมอย่างรุนแรงที่เรียกว่า หูหนวกหรือหูเกือบหนวก เพราะการใส่เครื่องช่วยฟังมักไม่ได้ผล)IMAGE SOURCE : cias.rit.edu, wexnermedical.osu.edu
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่กะโหลกศีรษะ (Bone-anchored hearing aid – BAHA) สัญญาณเสียงจะทำให้เครื่องสั่นเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้หูชั้นในซึ่งอยู่ในกะโหลกศีรษะส่งสัญญาณกระตุ้นเส้นประสาทรับเสียงต่อไป
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่หูชั้นกลาง (Middle ear implantable device) จะแปลงสัญญาณเสียง ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องซึ่งฝังติดอยู่กับกระดูกหูขยับและส่งต่อสัญญาณเข้าหูชั้นในสู่เส้นประสาทรับเสียงและสมองตามลำดับ
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่ก้านสมอง (Auditory brain stem implant) จะกระตุ้นส่วนรับการได้ยินบนก้านสมอง จากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังสมองให้รับว่าได้ยินเสียง
ทั้งนี้ยังไม่มียาที่ช่วยแก้ไขการเสื่อมการได้ยินทั้งการนำเสียงและประสาทรับเสียงบกพร่องเพื่อให้การได้ยินกลับคืนมาได้ทั้งหมด การใช้ยาเพื่อรักษาโรคจากการติดเชื้อโรคตามระบบ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น เสียงดัง การใช้ยาที่มีพิษต่อหู จะเป็นเพียงการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหูหนวกหูตึงขึ้นเท่านั้น
แพทย์จะให้การรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งแบ่งเป็นการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด
- เมื่อมีอาการหูตึงหูหนวกเกิดขึ้นหรือเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์หูคอจมูกที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เพราะบางสาเหตุอาจรักษาให้หายและหูกลับมาได้ยินเป็นปกติได้
- ถ้าหูตึงไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง และไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือ ยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้อยู่หรือเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อีกข้างยังดีอยู่ อาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องทำใจยอมรับ
- ถ้าหูตึงมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะในรายที่เป็นกับหูทั้ง 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง
- ถ้าหูตึงเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงเสียงดัง, รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี (เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด โรคไต), หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู, ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู, หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน, ลดอาหารเค็มหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท (เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการสูบบุหรี่), ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
- ส่วนใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องจากโรคของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น เยื่อแก้วหูทะลุ ภาวะน้ำขังในหูชั้นกลาง ช่องหูตีบตัน กระดูกหูผิดรูปหรือเลื่อนหลุด และโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง แพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดแก้ไขให้ได้ยินดีขึ้นได้ (ยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ ยาขยายหลอดเลือดที่ช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น และยาบำรุงประสาทหู)
- ในรายที่ประสาทหูเสื่อมหรือเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาจจะต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง ในรายที่มาพบแพทย์ช้า การรักษามักจะไม่ค่อยได้ผลดี และส่วนใหญ่จะรักษาไม่ได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
- ในรายที่ประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีโอกาสรักษาให้คืนกลับสู่ปกติได้ในช่วงเดือนแรก ๆ แต่หากยังไม่ฟื้นคืนภายใน 3 เดือนแรก ก็จะมีโอกาสน้อยมากที่จะหายเป็นปกติ ในผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมเกิน 6 เดือน ควรพิจารณาใช้เครื่องช่วยฟัง
- สำหรับเครื่องช่วยฟังจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดและมีกลไกการทำงานที่ต่างกันไป (ปัจจุบันในประเทศมีให้เลือกใช้เพียง 2 ชนิดแรก) เช่น
- เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (Conventional hearing aids) เป็นเครื่องช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยเสียงจะเดินทางผ่านอวัยวะรับการได้ยินตามเส้นทางการเดินของคลื่นเสียงปกติIMAGE SOURCE : hearingaidbuyertoday.com, www.zazbot.com
- ประสาทหูเทียม (Cochlear implant) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วยสายไฟฟ้าเล็ก ๆ ที่มีการรับเสียงและแปรเสียง แล้วส่งสัญญาณเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยินเข้าไปที่สมอง ทำให้สามารถแปลเสียงนั้นออกมาได้ โดยประสาทหูเทียมจะถูกฝังเข้าไปในกระดูกก้นหอยที่อยู่ในหูชั้นในโดยการผ่าตัดหลังหูกรอเอากระดูกหลังหูออกและทำการฝังเครื่องเอาไว้ที่หลังหูด้านนอกกะโหลกศีรษะ แล้วต่อกับเครื่องภายนอกด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้กระตุ้นเสียงเข้าไปข้างใน (มักใช้ในรายที่ประสาทหูเสื่อมอย่างรุนแรงที่เรียกว่า หูหนวกหรือหูเกือบหนวก เพราะการใส่เครื่องช่วยฟังมักไม่ได้ผล)IMAGE SOURCE : cias.rit.edu, wexnermedical.osu.edu
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่กะโหลกศีรษะ (Bone-anchored hearing aid – BAHA) สัญญาณเสียงจะทำให้เครื่องสั่นเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้หูชั้นในซึ่งอยู่ในกะโหลกศีรษะส่งสัญญาณกระตุ้นเส้นประสาทรับเสียงต่อไป
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่หูชั้นกลาง (Middle ear implantable device) จะแปลงสัญญาณเสียง ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องซึ่งฝังติดอยู่กับกระดูกหูขยับและส่งต่อสัญญาณเข้าหูชั้นในสู่เส้นประสาทรับเสียงและสมองตามลำดับ
- เครื่องช่วยฟังชนิดฝังที่ก้านสมอง (Auditory brain stem implant) จะกระตุ้นส่วนรับการได้ยินบนก้านสมอง จากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังสมองให้รับว่าได้ยินเสียง
ทั้งนี้ยังไม่มียาที่ช่วยแก้ไขการเสื่อมการได้ยินทั้งการนำเสียงและประสาทรับเสียงบกพร่องเพื่อให้การได้ยินกลับคืนมาได้ทั้งหมด การใช้ยาเพื่อรักษาโรคจากการติดเชื้อโรคตามระบบ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น เสียงดัง การใช้ยาที่มีพิษต่อหู จะเป็นเพียงการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหูหนวกหูตึงขึ้นเท่านั้น
วิธีป้องกันหูตึงหูหนวก
การป้องกันโดยทั่วไป คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำลายหู ได้แก่
- การหลีกเลี่ยงได้ยินเสียงดังมาก ๆ หรือการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องได้ยินเสียงดัง ๆ เป็นเวลานาน ๆ ควรสวมเครื่องป้องกันในขณะที่อยู่ในที่ทำงาน ไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบการได้ยินเป็นระยะ ๆ และหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น ควรเลิกทำงานในสถานที่เดิมและย้ายไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังแทน
- การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาใด ๆ มาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถ้าได้รับยาจากแพทย์แล้วมีอาการหูตึงควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันทีเพื่อที่แพทย์จะได้ปรับยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
การป้องกันโดยทั่วไป คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำลายหู ได้แก่
- การหลีกเลี่ยงได้ยินเสียงดังมาก ๆ หรือการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องได้ยินเสียงดัง ๆ เป็นเวลานาน ๆ ควรสวมเครื่องป้องกันในขณะที่อยู่ในที่ทำงาน ไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบการได้ยินเป็นระยะ ๆ และหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น ควรเลิกทำงานในสถานที่เดิมและย้ายไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังแทน
- การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาใด ๆ มาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถ้าได้รับยาจากแพทย์แล้วมีอาการหูตึงควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันทีเพื่อที่แพทย์จะได้ปรับยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “หูตึง/หูหนวก (Hearing loss/Deafness)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 924-925.
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูไม่ได้ยิน..จะให้ทำอย่างไร?”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [29 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “หูหนวก หูตึง รักษาได้”. (ผศ.พญ.สุวิชา อิศราดิสัยกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.med.cmu.ac.th. [29 ธ.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. “การสูญเสียการได้ยิน”. (นพ.ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bumrungrad.com. [30 ธ.ค. 2016].
- INTIMEX. “หูตึงในผู้ใหญ่”. (รศ.พ.อ.พงษ์เทพ หารชุมพล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.intimexhearing.com. [30 ธ.ค. 2016].
6. เว็บไซต์เมดไทย
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “หูตึง/หูหนวก (Hearing loss/Deafness)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 924-925.
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูไม่ได้ยิน..จะให้ทำอย่างไร?”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [29 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “หูหนวก หูตึง รักษาได้”. (ผศ.พญ.สุวิชา อิศราดิสัยกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.med.cmu.ac.th. [29 ธ.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. “การสูญเสียการได้ยิน”. (นพ.ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bumrungrad.com. [30 ธ.ค. 2016].
- INTIMEX. “หูตึงในผู้ใหญ่”. (รศ.พ.อ.พงษ์เทพ หารชุมพล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.intimexhearing.com. [30 ธ.ค. 2016].
6. เว็บไซต์เมดไทย
15 วิธีรักษาโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน (โรคเมเนียส์ – Ménière’s disease) !!
โรคเมเนียส์
โรคเมเนียส์, โรคมีเนียร์ หรือ โรคเมนิแยร์ (Ménière’s disease – MD) หรือที่ทั่วไปมักเรียกกันว่า “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” หรือ “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ” หรือบางครั้งก็เรียกกันสั้น ๆ ทางพยาธิวิทยาว่า “โรคน้ำในหู” (Endolymphatic hydrops) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ เป็นเหตุให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว (เกิดอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน) และการได้ยิน (เกิดอาการหูตึง แว่วเสียงดังในหู) ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อาจเป็นกับหูได้ทั้ง 2 ข้างประมาณ 10-15%[1] หรือประมาณ 30% ในบางรายงาน[
หูชั้นใน (Inner ear) ของคนเราจะมีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีน้ำในหูชั้นในอยู่ในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหูขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ (Endolymphatic hydrops) ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน
โรคนี้เป็นโรคพบได้ค่อนข้างบ่อย โดยเป็นโรคที่พบได้เป็นอันดับ 2 ของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ[5] มักพบได้ในผู้คนอายุ 30-60 ปี[2] ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้พอ ๆ กัน[4] (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า โรคนี้พบได้น้อย มักพบในผู้ชายอายุประมาณ 40-60 ปี แต่อาจพบได้ในคนหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน[1])
IMAGE SOURCE : www.hearinglink.org
โรคเมเนียส์, โรคมีเนียร์ หรือ โรคเมนิแยร์ (Ménière’s disease – MD) หรือที่ทั่วไปมักเรียกกันว่า “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” หรือ “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ” หรือบางครั้งก็เรียกกันสั้น ๆ ทางพยาธิวิทยาว่า “โรคน้ำในหู” (Endolymphatic hydrops) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ เป็นเหตุให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว (เกิดอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน) และการได้ยิน (เกิดอาการหูตึง แว่วเสียงดังในหู) ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อาจเป็นกับหูได้ทั้ง 2 ข้างประมาณ 10-15%[1] หรือประมาณ 30% ในบางรายงาน[
หูชั้นใน (Inner ear) ของคนเราจะมีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีน้ำในหูชั้นในอยู่ในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหูขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ (Endolymphatic hydrops) ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน
โรคนี้เป็นโรคพบได้ค่อนข้างบ่อย โดยเป็นโรคที่พบได้เป็นอันดับ 2 ของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ[5] มักพบได้ในผู้คนอายุ 30-60 ปี[2] ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้พอ ๆ กัน[4] (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า โรคนี้พบได้น้อย มักพบในผู้ชายอายุประมาณ 40-60 ปี แต่อาจพบได้ในคนหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน[1])
IMAGE SOURCE : www.hearinglink.orgสาเหตุของโรคเมเนียส์
ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า เหตุใดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน (Endolymph) จึงเกิดมีมากกว่าปริมาณปกติขึ้นมาเป็นระยะ ๆ แล้วส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา (อาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มากผิดปกติ)
ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นหรือมีอาการกำเริบได้เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น เช่น
- การติดเชื้อไวรัส เช่น หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซิฟิลิส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
โรคทางกาย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคของหลอดเลือดในหู ปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์
- เคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อน
- ภาวะเครียดทางจิตใจ การอดหลับอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแอสไพริน)
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
- ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
- กรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติมาแต่กำเนิด
- บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือมีปัจจัยดังกล่าวมากระตุ้น ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่
IMAGE SOURCE : www.medical-institution.com
ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า เหตุใดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน (Endolymph) จึงเกิดมีมากกว่าปริมาณปกติขึ้นมาเป็นระยะ ๆ แล้วส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา (อาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มากผิดปกติ)
ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นหรือมีอาการกำเริบได้เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น เช่น
- การติดเชื้อไวรัส เช่น หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซิฟิลิส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
โรคทางกาย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคของหลอดเลือดในหู ปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์ - เคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อน
- ภาวะเครียดทางจิตใจ การอดหลับอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแอสไพริน)
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
- ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
- กรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติมาแต่กำเนิด
- บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือมีปัจจัยดังกล่าวมากระตุ้น ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่
อาการของโรคเมเนียส์
- อาการบ้านหมุน (เวียนศีรษะอย่างรุนแรง) ผู้ป่วยมักมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด อยู่เฉย ๆ ก็เป็นขึ้นมา และแต่ละครั้งมักเป็นอยู่นานเกิน 20 นาทีขึ้นไปถึง 2 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่บางรายอาจเป็นเพียงครั้งละไม่กี่นาทีหรือเป็นนานหลายชั่วโมงก็ได้) แล้วหายไปได้เอง และอาการจะกำเริบได้อีกเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการทุกวัน หรือนาน ๆ เป็นทีก็ได้ โดยอาจทิ้งช่วงห่างกันเป็นสัปดาห์ ๆ หรือนานเป็นปี ซึ่งไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร และในแต่ละครั้งที่มีอาการอาจมีอาการมากหรือน้อยก็ได้ แต่จะไม่ทำให้ถึงกับหมดสติหรือเป็นอัมพาต ในบางครั้งที่เกิดอาการอาจทำให้ผู้ป่วยทรงตัวไม่อยู่หรือเซล้มลงได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก และอาจมีอาการตากระตุกร่วมกับอาการบ้านหมุนด้วย (อาการบ้านหมุนเป็นอาการหลักที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด เพราะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และต้องนอนพักเพียงอย่างเดียว)
- ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง ในขณะที่มีอาการเวียนศีรษะ โดยเสียงที่ไม่ได้ยินมักเป็นเสียงต่ำ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น และหากเสียงสูงอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหู (ทนเสียงดังไม่ได้) ซึ่งในระยะแรกของโรคอาจเป็น ๆ หาย ๆ การได้ยินมักดีขึ้นเมื่ออาการเวียนศีรษะหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การได้ยินอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหูตึงหรือหูหนวกได้ (ระยะแรกอาจเป็นเพียงข้างเดียว พอในระยะหลัง ๆ อาจมีอาการทั้งสองข้าง)
- หูอื้อ แว่วเสียงดังในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นในหูข้างที่ผิดปกติ มักเป็นพร้อมกับอาการบ้านหมุน อาจเป็นเฉพาะเวลาที่เวียนศีรษะหรืออาจเป็นอยู่ตลอดเวลาก็ได้
- รู้สึกแน่นในหู ลักษณะหนัก ๆ หน่วง ๆ คล้ายกับมีแรงดันในหู (ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหู และปวดศีรษะข้างที่เป็นร่วมด้วยได้)
- อาการบ้านหมุน (เวียนศีรษะอย่างรุนแรง) ผู้ป่วยมักมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด อยู่เฉย ๆ ก็เป็นขึ้นมา และแต่ละครั้งมักเป็นอยู่นานเกิน 20 นาทีขึ้นไปถึง 2 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่บางรายอาจเป็นเพียงครั้งละไม่กี่นาทีหรือเป็นนานหลายชั่วโมงก็ได้) แล้วหายไปได้เอง และอาการจะกำเริบได้อีกเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการทุกวัน หรือนาน ๆ เป็นทีก็ได้ โดยอาจทิ้งช่วงห่างกันเป็นสัปดาห์ ๆ หรือนานเป็นปี ซึ่งไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร และในแต่ละครั้งที่มีอาการอาจมีอาการมากหรือน้อยก็ได้ แต่จะไม่ทำให้ถึงกับหมดสติหรือเป็นอัมพาต ในบางครั้งที่เกิดอาการอาจทำให้ผู้ป่วยทรงตัวไม่อยู่หรือเซล้มลงได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก และอาจมีอาการตากระตุกร่วมกับอาการบ้านหมุนด้วย (อาการบ้านหมุนเป็นอาการหลักที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด เพราะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และต้องนอนพักเพียงอย่างเดียว)
- ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง ในขณะที่มีอาการเวียนศีรษะ โดยเสียงที่ไม่ได้ยินมักเป็นเสียงต่ำ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น และหากเสียงสูงอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหู (ทนเสียงดังไม่ได้) ซึ่งในระยะแรกของโรคอาจเป็น ๆ หาย ๆ การได้ยินมักดีขึ้นเมื่ออาการเวียนศีรษะหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การได้ยินอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหูตึงหรือหูหนวกได้ (ระยะแรกอาจเป็นเพียงข้างเดียว พอในระยะหลัง ๆ อาจมีอาการทั้งสองข้าง)
- หูอื้อ แว่วเสียงดังในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นในหูข้างที่ผิดปกติ มักเป็นพร้อมกับอาการบ้านหมุน อาจเป็นเฉพาะเวลาที่เวียนศีรษะหรืออาจเป็นอยู่ตลอดเวลาก็ได้
- รู้สึกแน่นในหู ลักษณะหนัก ๆ หน่วง ๆ คล้ายกับมีแรงดันในหู (ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหู และปวดศีรษะข้างที่เป็นร่วมด้วยได้)
การแบ่งระยะของโรคเมเนียส์
โรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ (ความรุนแรงและระยะเวลาแต่ละระยะไม่แน่นอน) ได้แก่
- ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนและอาเจียนเป็นอาการเด่น ส่วนการทำงานของหูยังปกติ
- ระยะที่ 2 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการครบทั้ง 4 อย่างดังที่กล่าวมา
- ระยะที่ 3 ในระยะนี้ผู้ป่วยยังคงมีเสียงแว่วดังในหูแต่ไม่รุนแรง การได้ยินจะลดลงจนไม่สามารถได้ยินคำพูดได้ ส่วนอาการเวียนศีรษะจะลดลงทั้งความรุนแรงและความถี่ (อาการคลื่นไส้อาเจียนก็ลดลงด้วยเช่นกัน)
โรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ (ความรุนแรงและระยะเวลาแต่ละระยะไม่แน่นอน) ได้แก่
- ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนและอาเจียนเป็นอาการเด่น ส่วนการทำงานของหูยังปกติ
- ระยะที่ 2 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการครบทั้ง 4 อย่างดังที่กล่าวมา
- ระยะที่ 3 ในระยะนี้ผู้ป่วยยังคงมีเสียงแว่วดังในหูแต่ไม่รุนแรง การได้ยินจะลดลงจนไม่สามารถได้ยินคำพูดได้ ส่วนอาการเวียนศีรษะจะลดลงทั้งความรุนแรงและความถี่ (อาการคลื่นไส้อาเจียนก็ลดลงด้วยเช่นกัน)
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมเนียส์
- ผู้ป่วยทั่วไปส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรงและอาจหายได้เอง แต่มีส่วนน้อยอาจหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิทได้ (อาการบ้านหมุนมักหายไปภายหลังที่หูหนวกสนิทแล้ว) ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นคนชอบวิตกกังวลและเป็นไมเกรนร่วมด้วย
- ผู้ป่วยอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายในขณะที่เกิดอาการบ้านหมุน
- ผู้ป่วยทั่วไปส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรงและอาจหายได้เอง แต่มีส่วนน้อยอาจหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิทได้ (อาการบ้านหมุนมักหายไปภายหลังที่หูหนวกสนิทแล้ว) ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นคนชอบวิตกกังวลและเป็นไมเกรนร่วมด้วย
- ผู้ป่วยอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายในขณะที่เกิดอาการบ้านหมุน
การวินิจฉัยโรคเมเนียส์
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการดังกล่าว แพทย์ก็มักให้การวินิจฉัยได้ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยประมาณ 50% เท่านั้นที่มีอาการดังกล่าวเด่นชัด ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแยกจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการทางหู
- การซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ประวัติโรคซิฟิลิส, ประวัติการผ่าตัดหู, โรคทางระบบประสาท, โรคภูมิแพ้, โรคภูมิคุ้มกัน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไทรอยด์, โรคคางทูม, โรคการอักเสบของตา เป็นต้น
- การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท, การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย, การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่าง ๆ, การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำในขณะเปลี่ยนท่า) เป็นต้น
- การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry), การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Electronystagmography – ENG), การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electrocochleography – ECOG) ถ้าตรวจออกมาได้ผลบวกจะค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้, การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response – ABR), การเจาะเลือด (เพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับยูริกในเลือดสูง เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป โรคไต โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อซิฟิลิสหรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ), การตรวจปัสสาวะ (เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่), การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ, การตรวจพิเศษทางรังสี (เฉพาะในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติทางสมอง เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)), การตรวจการไหลเวียนของเลือดผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวนด์ (สามารถบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของเลือดได้), การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ (EKG) เป็นต้น
อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดโรคเมเนียส์หรือน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น
- โรคของหูชั้นนอก เช่น การอุดตันจากขี้หู เนื้องอก หนอง หรือการอักเสบจากหูชั้นนอก, กระดูกช่องหูหักจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
- โรคของหูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง (หูน้ำหนวก), เลือดคั่งในหูชั้นกลางจากอุบัติเหตุหรือการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ (Hemotympanum), ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ทำงานผิดปกติหรือมีการอุดตัน, มีการทะลุของเยื่อที่ผิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (Perilymphatic fistula) เป็นต้น
- โรคของหูชั้นใน เช่น การติดเชื้อของหูชั้นใน (Labyrinthitis), การอักเสบของหูชั้นในจากสารพิษ (Toxic labyrinthitis), การบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน, การได้รับแรงกระแทกจนเกิดการบาดเจ็บจากเสียงหรือการผ่าตัดบริเวณหู, โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo – BPPV)
- โรคของทางเดินประสาทและสมอง เช่น เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis), เนื้องอกของประสาททรงตัว (Vestibular schwannoma), โรคของระบบประสาทกลาง, การเสื่อมของระบบประสาทกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว, ความผิดปกติของกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงระบบประสาทกลางทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัวไม่พอ, การติดเชื้อของระบบประสาท เป็นต้น
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ, โรคเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ เลือดออกง่ายผิดปกติ ซีด), โรคหลอดเลือดแข็งและตีบจากโรคไขมันในเลือดสูง, ระดับยูริกในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตต่ำ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคภูมิแพ้, โรคกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นต้น
- ไม่ทราบสาเหตุ
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการดังกล่าว แพทย์ก็มักให้การวินิจฉัยได้ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยประมาณ 50% เท่านั้นที่มีอาการดังกล่าวเด่นชัด ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแยกจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการทางหู
- การซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ประวัติโรคซิฟิลิส, ประวัติการผ่าตัดหู, โรคทางระบบประสาท, โรคภูมิแพ้, โรคภูมิคุ้มกัน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไทรอยด์, โรคคางทูม, โรคการอักเสบของตา เป็นต้น
- การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท, การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย, การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่าง ๆ, การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำในขณะเปลี่ยนท่า) เป็นต้น
- การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry), การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Electronystagmography – ENG), การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electrocochleography – ECOG) ถ้าตรวจออกมาได้ผลบวกจะค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้, การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response – ABR), การเจาะเลือด (เพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับยูริกในเลือดสูง เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป โรคไต โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อซิฟิลิสหรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ), การตรวจปัสสาวะ (เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่), การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ, การตรวจพิเศษทางรังสี (เฉพาะในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติทางสมอง เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)), การตรวจการไหลเวียนของเลือดผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวนด์ (สามารถบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของเลือดได้), การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ (EKG) เป็นต้น
อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดโรคเมเนียส์หรือน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น
- โรคของหูชั้นนอก เช่น การอุดตันจากขี้หู เนื้องอก หนอง หรือการอักเสบจากหูชั้นนอก, กระดูกช่องหูหักจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
- โรคของหูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง (หูน้ำหนวก), เลือดคั่งในหูชั้นกลางจากอุบัติเหตุหรือการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ (Hemotympanum), ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ทำงานผิดปกติหรือมีการอุดตัน, มีการทะลุของเยื่อที่ผิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (Perilymphatic fistula) เป็นต้น
- โรคของหูชั้นใน เช่น การติดเชื้อของหูชั้นใน (Labyrinthitis), การอักเสบของหูชั้นในจากสารพิษ (Toxic labyrinthitis), การบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน, การได้รับแรงกระแทกจนเกิดการบาดเจ็บจากเสียงหรือการผ่าตัดบริเวณหู, โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo – BPPV)
- โรคของทางเดินประสาทและสมอง เช่น เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis), เนื้องอกของประสาททรงตัว (Vestibular schwannoma), โรคของระบบประสาทกลาง, การเสื่อมของระบบประสาทกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว, ความผิดปกติของกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงระบบประสาทกลางทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัวไม่พอ, การติดเชื้อของระบบประสาท เป็นต้น
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ, โรคเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ เลือดออกง่ายผิดปกติ ซีด), โรคหลอดเลือดแข็งและตีบจากโรคไขมันในเลือดสูง, ระดับยูริกในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตต่ำ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคภูมิแพ้, โรคกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นต้น
- ไม่ทราบสาเหตุ
วิธีรักษาโรคเมเนียส์
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมเนียส์ การรักษาจะประกอบไปด้วยการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อเกิดอาการบ้านหมุน การให้ยาบรรเทาอาการ การรักษาไปตามสาเหตุของโรค และการผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา
- ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบห่างขึ้นได้)
- เมื่อมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนในขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินต่อไปในขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเกิดอาการในขณะขับรถหรือทำงาน ควรหยุดรถที่ข้างทางหรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถ้าวิงเวียนศีรษะมากให้นอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลงแล้ว ให้ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียได้ จึงแนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
- รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทานเวลาเวียนศีรษะ
- ลดหรือจำกัดการรับประทานอาหารเค็มจัด เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกายจะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกายและในหูชั้นในมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้
- พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมากนัก (เพื่อลดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน) จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่หูชั้นใน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่และถูกต้องตามหลักอนามัย
- ลดหรือหลีกเลี่ยงสารกาเฟอีน (จากการดื่มชา น้ำอัดลม กาแฟ และช็อกโกแลต) เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะทำให้อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างที่เกิดอาการวิงเวียน เช่น การก้ม เงยคอ หรือหันคออย่างเต็มที่, การหมุนศีรษะไว ๆ, การเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น การเดินทางโดยเรือ, ความเครียดหรือความวิตกกังวล, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ (ถ้าแพ้) เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามาก ๆ ด้วย เช่น การทำงานติดต่อกันนาน ๆ หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม เนื่องจากอาการบ้านหมุนมักจะเป็นมากเวลาที่ร่างกายเหนื่อยล้าหรือมีภาวะเครียดทางจิตใจ แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและมีจิตใจไม่เครียด
- สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ เสียงดังมาก ๆ, การยืนในที่สูง, อุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู, การติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน, การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทการทรงตัว (เช่น แอสไพริน (Aspirin), อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ควินิน (Quinine) เป็นต้น)
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเลือด โรคซีด โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง ควรรักษาและควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี
- การให้ยาบรรเทาอาการ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มากมักจะได้ผลดี คือ หายเวียนศีรษะและหูอื้อ การได้ยินฟื้นตัวดีขึ้น(80% จะหายได้ด้วยการให้ยา) ได้แก่
- ถ้ามีอาการบ้านหมุนมาก แพทย์จะฉีดไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) หรืออะโทรปีน (Atropine) ให้ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้
- ยาขับปัสสาวะเพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) 50-100 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ทำให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น เช่น เบตาฮีสทีน เมไซเลต (Betahistine mesilate), ซินนาริซีน (Cinnarizine) เป็นต้น
- ยาลดอาการเวียนศีรษะ
- ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
- ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลและนอนหลับได้เป็นปกติ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam)
- การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาแบบซิฟิลิส เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการมากหากรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วยังควบคุมอาการเวียนศีรษะไม่ได้ อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม และช่วยให้โรคหายขาด ซึ่งได้แก่
- การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยินและการทรงตัวในหูชั้นใน (Labyrinthectomy) มักทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นไปมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะอยู่มาก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นไปตลอด
- การตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน (Vestibular neurectomy) มักทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
- การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น เจนตามัยซิน (Gentamicin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้มีอาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยินของผู้ป่วยอาจสูญเสียไปด้วย มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ได้และยังเวียนศีรษะอยู่
แม้โรคเมเนียส์จะยังไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาดได้ แต่อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยยาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ดังนั้น หากคุณหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ก็ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมเนียส์ การรักษาจะประกอบไปด้วยการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อเกิดอาการบ้านหมุน การให้ยาบรรเทาอาการ การรักษาไปตามสาเหตุของโรค และการผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา
- ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบห่างขึ้นได้)
- เมื่อมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนในขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินต่อไปในขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเกิดอาการในขณะขับรถหรือทำงาน ควรหยุดรถที่ข้างทางหรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถ้าวิงเวียนศีรษะมากให้นอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลงแล้ว ให้ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียได้ จึงแนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
- รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทานเวลาเวียนศีรษะ
- ลดหรือจำกัดการรับประทานอาหารเค็มจัด เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกายจะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกายและในหูชั้นในมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้
- พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมากนัก (เพื่อลดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน) จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่หูชั้นใน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่และถูกต้องตามหลักอนามัย
- ลดหรือหลีกเลี่ยงสารกาเฟอีน (จากการดื่มชา น้ำอัดลม กาแฟ และช็อกโกแลต) เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะทำให้อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างที่เกิดอาการวิงเวียน เช่น การก้ม เงยคอ หรือหันคออย่างเต็มที่, การหมุนศีรษะไว ๆ, การเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น การเดินทางโดยเรือ, ความเครียดหรือความวิตกกังวล, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ (ถ้าแพ้) เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามาก ๆ ด้วย เช่น การทำงานติดต่อกันนาน ๆ หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม เนื่องจากอาการบ้านหมุนมักจะเป็นมากเวลาที่ร่างกายเหนื่อยล้าหรือมีภาวะเครียดทางจิตใจ แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและมีจิตใจไม่เครียด
- สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ เสียงดังมาก ๆ, การยืนในที่สูง, อุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู, การติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน, การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทการทรงตัว (เช่น แอสไพริน (Aspirin), อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ควินิน (Quinine) เป็นต้น)
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเลือด โรคซีด โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง ควรรักษาและควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี
- การให้ยาบรรเทาอาการ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มากมักจะได้ผลดี คือ หายเวียนศีรษะและหูอื้อ การได้ยินฟื้นตัวดีขึ้น(80% จะหายได้ด้วยการให้ยา) ได้แก่
- ถ้ามีอาการบ้านหมุนมาก แพทย์จะฉีดไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) หรืออะโทรปีน (Atropine) ให้ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้
- ยาขับปัสสาวะเพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) 50-100 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ทำให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น เช่น เบตาฮีสทีน เมไซเลต (Betahistine mesilate), ซินนาริซีน (Cinnarizine) เป็นต้น
- ยาลดอาการเวียนศีรษะ
- ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
- ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลและนอนหลับได้เป็นปกติ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam)
- การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาแบบซิฟิลิส เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการมากหากรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วยังควบคุมอาการเวียนศีรษะไม่ได้ อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม และช่วยให้โรคหายขาด ซึ่งได้แก่
- การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยินและการทรงตัวในหูชั้นใน (Labyrinthectomy) มักทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นไปมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะอยู่มาก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นไปตลอด
- การตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน (Vestibular neurectomy) มักทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
- การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น เจนตามัยซิน (Gentamicin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้มีอาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยินของผู้ป่วยอาจสูญเสียไปด้วย มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ได้และยังเวียนศีรษะอยู่
แม้โรคเมเนียส์จะยังไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาดได้ แต่อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยยาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ดังนั้น หากคุณหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ก็ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “โรคเมเนียส์ (Ménière’s disease/Endolymphatic hydrops)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 923-924.
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “น้ำในหูไม่เท่ากัน…จริงหรือ”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [26 ส.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “เวียนศีรษะ บ้านหมุน….ช่วยด้วย”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [26 ส.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ”. (นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bumrungrad.com. [26 ส.ค. 2016].
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “เรื่องในหู ทำให้เวียนหัวและบ้านหมุน”. (พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihealth.or.th. [26 ส.ค. 2016].
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. “โรคน้ำในหู”. (นพ.สาฑิตย์ ชัยประสิทธิกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2016].
- โรงพยาบาลพญาไท. “เวียนหัวจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน”. (นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phyathai.com. [26 ส.ค. 2016].
- Siamhealth. “โรคเวียนศีรษะ Meniere’s Disease”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [27 ส.ค. 2016].
9. เว็บไซต์เมดไทย
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “โรคเมเนียส์ (Ménière’s disease/Endolymphatic hydrops)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 923-924.
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “น้ำในหูไม่เท่ากัน…จริงหรือ”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [26 ส.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “เวียนศีรษะ บ้านหมุน….ช่วยด้วย”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [26 ส.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ”. (นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bumrungrad.com. [26 ส.ค. 2016].
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “เรื่องในหู ทำให้เวียนหัวและบ้านหมุน”. (พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihealth.or.th. [26 ส.ค. 2016].
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. “โรคน้ำในหู”. (นพ.สาฑิตย์ ชัยประสิทธิกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2016].
- โรงพยาบาลพญาไท. “เวียนหัวจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน”. (นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phyathai.com. [26 ส.ค. 2016].
- Siamhealth. “โรคเวียนศีรษะ Meniere’s Disease”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [27 ส.ค. 2016].
9. เว็บไซต์เมดไทย
หูอื้อ มีเสียงในหู (Tinnitus) อาการ สาเหตุ และการรักษาหูอื้อ 11 วิธี !!
หูอื้อ
หูอื้อ, มีเสียงในหู, เสียงดังในหู หรือ เสียงรบกวนในหู (Tinnitus) เป็นอาการหรือภาวะที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้ในสหรัฐอเมริกามีคนป่วยเป็นโรคนี้ถึง 40 คน แต่มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่รู้สึกว่าหูอื้อนี้เป็นปัญหาสำคัญในด้านของความหมาย “อาการหูอื้อ” หมายถึง การได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงวันบินอยู่ในหู หรือเป็นเสียงหึ่ง ๆ หรือเสียงตุบ ๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้ยินเสียงเหล่านี้จะรู้สึกรำคาญจนทนไม่ได้ เพราะบางคนอาจไม่มีปัญหากับอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ทั้งนี้หูอื้อบางชนิดก็มีอันตราย บางชนิดก็ไม่มีอันตราย ดังจะกล่าวถึงต่อไป
เสียงในหู คือ เสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหูหรืออวัยวะข้างเคียง ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
- เสียงในหูที่ผู้ป่วยได้ยินคนเดียว (Subjective Tinnitus) เช่น เสียงแหลมวี้ดหรือเสียงจิ้งหรีดร้อง, เสียงหึ่ง ๆ อื้อ ๆ, เสียงลม, เสียงพรึบพรับ เป็นต้น
- เสียงที่แพทย์ได้ยินด้วย (Objective Tinnitus) มักเป็นเสียงที่เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ (Carotid artery) หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular vein) ที่ผ่านจากคอไปสมอง ซึ่งมักเป็นเสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ตามชีพจร
หูอื้อ, มีเสียงในหู, เสียงดังในหู หรือ เสียงรบกวนในหู (Tinnitus) เป็นอาการหรือภาวะที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้ในสหรัฐอเมริกามีคนป่วยเป็นโรคนี้ถึง 40 คน แต่มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่รู้สึกว่าหูอื้อนี้เป็นปัญหาสำคัญในด้านของความหมาย “อาการหูอื้อ” หมายถึง การได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงวันบินอยู่ในหู หรือเป็นเสียงหึ่ง ๆ หรือเสียงตุบ ๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้ยินเสียงเหล่านี้จะรู้สึกรำคาญจนทนไม่ได้ เพราะบางคนอาจไม่มีปัญหากับอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ทั้งนี้หูอื้อบางชนิดก็มีอันตราย บางชนิดก็ไม่มีอันตราย ดังจะกล่าวถึงต่อไป
เสียงในหู คือ เสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหูหรืออวัยวะข้างเคียง ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
- เสียงในหูที่ผู้ป่วยได้ยินคนเดียว (Subjective Tinnitus) เช่น เสียงแหลมวี้ดหรือเสียงจิ้งหรีดร้อง, เสียงหึ่ง ๆ อื้อ ๆ, เสียงลม, เสียงพรึบพรับ เป็นต้น
- เสียงที่แพทย์ได้ยินด้วย (Objective Tinnitus) มักเป็นเสียงที่เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ (Carotid artery) หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular vein) ที่ผ่านจากคอไปสมอง ซึ่งมักเป็นเสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ตามชีพจร
ลักษณะเสียงรบกวนในหู
การสังเกตลักษณะเสียงรบกวนในหูของผู้ป่วยต่อไปนี้จะช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุได้ เช่น
- เสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงในหู หรือเสียงจิ้งหรีดร้อง หรือเสียงรบกวนที่มีความถี่สูง เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน ทั้งมาจากอายุที่มากขึ้นและจากการได้ยินเสียงเป็นเวลานาน ๆ หรือจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที (เช่น เสียงระเบิด เสียงพลุ เสียงปืน เสียงประทัด), การติดเชื้อบางชนิด (เช่น เชื้อซิฟิลิสหรือเชื้อไวรัสที่ทำให้หูชั้นในอักเสบ), การผ่าตัดรักษาโรคทางสมองหรือทางหูบางโรคที่อาจกระทบกระเทือนประสาทหู, การใช้ยาบางอย่าง (เช่น ยาปฏิชีวนะที่มีผลข้างเคียงต่อประสาทหู ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยาลดการอักเสบกลุ่มแอสไพริน ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อรักษาโรคมะเร็ง) เป็นต้น
- เสียงหึ่ง ๆ อื้อ ๆ หรือเป็นเสียงรบกวนที่มีความถี่ต่ำ มักเกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ร่วมกับอาการเวียนหัวบ้านหมุนและการได้ยินลดลง
- เสียงลม เกิดจากการทำงานของท่อปรับความดันหูผิดปกติ
- เสียงรบกวนจากโรคหินปูนเกาะฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง
- เสียงพรึบพรับ เกิดจากขี้หูที่อยู่ใกล้กับแก้วหูขยับไปมาตามการสั่นของแก้วหูเมื่อมีการรับเสียงจากภายนอก
- เสียงก้องในหู เกิดจากการมีน้ำขังในหูชั้นกลาง
- เสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร กลุ่มนี้อาจเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ซึ่งเป็นภาวะบางอย่างที่ทำให้เลือดในร่างกายเพิ่มขึ้นและหัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นจนส่งผลให้เกิดเสียงดังในหู เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะตั้งครรภ์, ภาวะซีด, ไทรอยด์เป็นพิษ, หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid artery) ตีบจากภาวะที่มีคราบไขมันเกาะผนังหลอดเลือด, หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular vein) วางตัวสูงใกล้กับกระดูกกกหู (เมื่อแพทย์กดบริเวณนั้นเสียงมักจะหายไป,) ภาวะหลอดเลือดผิดรูป ลิ้นหัวใจรั่ว, ภาวะความดันในกะโหลกสูงโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น
- เสียงคลิกในหู เกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลนของหูชั้นกลาง
นอกจากเสียงรบกวนในหูดังกล่าวจะช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุได้แล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะมีวินิจฉัยโดยการตรวจการได้ยิน (Audiogram) ร่วมด้วยเสมอ เพื่อความแม่นยำและความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค
การสังเกตลักษณะเสียงรบกวนในหูของผู้ป่วยต่อไปนี้จะช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุได้ เช่น
- เสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงในหู หรือเสียงจิ้งหรีดร้อง หรือเสียงรบกวนที่มีความถี่สูง เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน ทั้งมาจากอายุที่มากขึ้นและจากการได้ยินเสียงเป็นเวลานาน ๆ หรือจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที (เช่น เสียงระเบิด เสียงพลุ เสียงปืน เสียงประทัด), การติดเชื้อบางชนิด (เช่น เชื้อซิฟิลิสหรือเชื้อไวรัสที่ทำให้หูชั้นในอักเสบ), การผ่าตัดรักษาโรคทางสมองหรือทางหูบางโรคที่อาจกระทบกระเทือนประสาทหู, การใช้ยาบางอย่าง (เช่น ยาปฏิชีวนะที่มีผลข้างเคียงต่อประสาทหู ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยาลดการอักเสบกลุ่มแอสไพริน ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อรักษาโรคมะเร็ง) เป็นต้น
- เสียงหึ่ง ๆ อื้อ ๆ หรือเป็นเสียงรบกวนที่มีความถี่ต่ำ มักเกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ร่วมกับอาการเวียนหัวบ้านหมุนและการได้ยินลดลง
- เสียงลม เกิดจากการทำงานของท่อปรับความดันหูผิดปกติ
- เสียงรบกวนจากโรคหินปูนเกาะฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง
- เสียงพรึบพรับ เกิดจากขี้หูที่อยู่ใกล้กับแก้วหูขยับไปมาตามการสั่นของแก้วหูเมื่อมีการรับเสียงจากภายนอก
- เสียงก้องในหู เกิดจากการมีน้ำขังในหูชั้นกลาง
- เสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร กลุ่มนี้อาจเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ซึ่งเป็นภาวะบางอย่างที่ทำให้เลือดในร่างกายเพิ่มขึ้นและหัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นจนส่งผลให้เกิดเสียงดังในหู เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะตั้งครรภ์, ภาวะซีด, ไทรอยด์เป็นพิษ, หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid artery) ตีบจากภาวะที่มีคราบไขมันเกาะผนังหลอดเลือด, หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular vein) วางตัวสูงใกล้กับกระดูกกกหู (เมื่อแพทย์กดบริเวณนั้นเสียงมักจะหายไป,) ภาวะหลอดเลือดผิดรูป ลิ้นหัวใจรั่ว, ภาวะความดันในกะโหลกสูงโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น
- เสียงคลิกในหู เกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลนของหูชั้นกลาง
นอกจากเสียงรบกวนในหูดังกล่าวจะช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุได้แล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะมีวินิจฉัยโดยการตรวจการได้ยิน (Audiogram) ร่วมด้วยเสมอ เพื่อความแม่นยำและความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค
สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อมีหลายสาเหตุ เช่น
- อาการหูอื้ออาจเกิดร่วมกับอาการปวดหู, หูตึง/หูหนวก, ปวดศีรษะ, ภาวะซีด, มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
- อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นทันทีหลังการว่ายน้ำหรือดำน้ำ (หรือใช้เครื่องส่องหูดูพบว่ามีขี้หูอุดตัน) มักเกิดจากขี้หูอุดตัน
- อาการหูอื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่
- อาการหูอื้ออาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่คุณกำลังใช้อยู่ก็ได้ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยาแก้แพ้ (Antihistamine), แอสไพริน (Aspirin), ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine), ฟูโรซีไมด์ (Furosemide), คลอโรควิน (Chloroquine), ควินิน (Quinine), เตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole), อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline), ยาเคมีบำบัดกลุ่มซิสพลาติน (Cisplatin) เป็นต้น
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีก้อนค้างที่คอ อาจเกิดจากคางบวม/คอบวม
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอ อาจมีสาเหตุมาจากท่อยูสเตเชียนบวมจากโรคติดเชื้อ และถ้ามีเยื่อแก้วหูบวมแดงร่วมด้วยอาจเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีอาการบ้านหมุนนานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ อาจเกิดจากโรคเมเนียส์ (โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน), หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน, เนื้องอกประสาทหู
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับการได้ยินเสียงดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร อาจเกิดจากเนื้องอกหรือความผิดปกติของหลอดเลือดของหูชั้นใน แต่หากไม่ได้มาจากเส้นเลือดและไม่สัมพันธ์กับชีพจร สาเหตุอาจมาจากกล้ามเนื้อที่กระตุกผิดปกติ (Myoclonus) เช่น บริเวณเพดานอ่อน หรือในบริเวณหูชั้นกลางซึ่งมีกล้ามเนื้ออยู่อีก 2 มัดไว้ดึงกระดูกฆ้อน (Tensor tympani) และกระดูกโกรน (Stapedius muscle)
- ถ้ามีอาการหูอื้อเป็น ๆ หาย ๆ เป็นครั้งคราว และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ อาจเกิดจากท่อยูสเตเชียนบวมจากการแพ้
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีอาการนอนไม่หลับ ชอบคิดมาก หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า อาจเกิดจากโรควิตกกังวลทั่วไป โรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคซึมเศร้า
- ถ้าไม่มีอาการร่วมต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา (มีหูอื้อเกิดขึ้นโดยหาสาเหตุไม่ได้หรือไม่รู้สาเหตุ) อาจเกิดจากมะเร็งโพรงหลังจมูกหรือเนื้องอกสมอง
IMAGE SOURCE : www.wikihow.com
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อมีหลายสาเหตุ เช่น
- อาการหูอื้ออาจเกิดร่วมกับอาการปวดหู, หูตึง/หูหนวก, ปวดศีรษะ, ภาวะซีด, มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
- อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นทันทีหลังการว่ายน้ำหรือดำน้ำ (หรือใช้เครื่องส่องหูดูพบว่ามีขี้หูอุดตัน) มักเกิดจากขี้หูอุดตัน
- อาการหูอื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่
- อาการหูอื้ออาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่คุณกำลังใช้อยู่ก็ได้ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยาแก้แพ้ (Antihistamine), แอสไพริน (Aspirin), ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine), ฟูโรซีไมด์ (Furosemide), คลอโรควิน (Chloroquine), ควินิน (Quinine), เตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole), อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline), ยาเคมีบำบัดกลุ่มซิสพลาติน (Cisplatin) เป็นต้น
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีก้อนค้างที่คอ อาจเกิดจากคางบวม/คอบวม
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอ อาจมีสาเหตุมาจากท่อยูสเตเชียนบวมจากโรคติดเชื้อ และถ้ามีเยื่อแก้วหูบวมแดงร่วมด้วยอาจเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีอาการบ้านหมุนนานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ อาจเกิดจากโรคเมเนียส์ (โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน), หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน, เนื้องอกประสาทหู
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับการได้ยินเสียงดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร อาจเกิดจากเนื้องอกหรือความผิดปกติของหลอดเลือดของหูชั้นใน แต่หากไม่ได้มาจากเส้นเลือดและไม่สัมพันธ์กับชีพจร สาเหตุอาจมาจากกล้ามเนื้อที่กระตุกผิดปกติ (Myoclonus) เช่น บริเวณเพดานอ่อน หรือในบริเวณหูชั้นกลางซึ่งมีกล้ามเนื้ออยู่อีก 2 มัดไว้ดึงกระดูกฆ้อน (Tensor tympani) และกระดูกโกรน (Stapedius muscle)
- ถ้ามีอาการหูอื้อเป็น ๆ หาย ๆ เป็นครั้งคราว และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ อาจเกิดจากท่อยูสเตเชียนบวมจากการแพ้
- ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีอาการนอนไม่หลับ ชอบคิดมาก หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า อาจเกิดจากโรควิตกกังวลทั่วไป โรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคซึมเศร้า
- ถ้าไม่มีอาการร่วมต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา (มีหูอื้อเกิดขึ้นโดยหาสาเหตุไม่ได้หรือไม่รู้สาเหตุ) อาจเกิดจากมะเร็งโพรงหลังจมูกหรือเนื้องอกสมอง
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดหูอื้อ
- ผู้ที่มีโรคหรือภาวะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในหัวข้อสาเหตุ
- ผู้ที่ทำงานหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังโดยไม่มีเครื่องป้องกันหูที่ถูกต้อง
- ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่หูได้ยินลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
- เป็นผู้ที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจจากการถูกทำร้ายร่างกาย (Post traumatic stress disorder) ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อมีคนพูดเสียงดัง
- ผู้ที่เป็นชาวตะวันตก
- ผู้ที่มีโรคหรือภาวะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในหัวข้อสาเหตุ
- ผู้ที่ทำงานหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังโดยไม่มีเครื่องป้องกันหูที่ถูกต้อง
- ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่หูได้ยินลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
- เป็นผู้ที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจจากการถูกทำร้ายร่างกาย (Post traumatic stress disorder) ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อมีคนพูดเสียงดัง
- ผู้ที่เป็นชาวตะวันตก
อาการหูอื้อ
ผู้ป่วยจะมีอาการได้ยินเสียงลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งลักษณะของเสียงที่ได้ยินจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
อาการหูอื้อหรือมีเสียงในหูส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญได้ เพราะบางรายอาจเป็นถึงขั้นนอนไม่หลับจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วยว่าเกิดจากอะไร เพราะถ้าอาการหูอื้อเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) หรือโรคมะเร็ง ก็จะเป็นโรคที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม สาเหตุนี้ก็พบได้น้อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ มาก
ผู้ป่วยจะมีอาการได้ยินเสียงลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งลักษณะของเสียงที่ได้ยินจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
อาการหูอื้อหรือมีเสียงในหูส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญได้ เพราะบางรายอาจเป็นถึงขั้นนอนไม่หลับจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วยว่าเกิดจากอะไร เพราะถ้าอาการหูอื้อเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) หรือโรคมะเร็ง ก็จะเป็นโรคที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม สาเหตุนี้ก็พบได้น้อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ มาก
จะทราบได้อย่างไรว่าหูอื้อ ?
ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักจะรู้สึกถึงความผิดปกติได้ แต่ในกลุ่มที่มีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักไม่ทราบด้วยตัวเองและต้องอาศัยคนใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกแล้วไม่ค่อยได้ยินหรือต้องเปิดโทรศัพท์เสียงดัง ๆ
ทั้งนี้ สำหรับวิธีการทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการใช้นิ้วมือถูกันเบา ๆ ที่บริเวณหน้าหูทีละข้าง แล้วสังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน (การทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูทั้งสองข้างมีการได้ยินไม่เท่ากัน)
IMAGE SOURCE : hearinggroup.com
ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักจะรู้สึกถึงความผิดปกติได้ แต่ในกลุ่มที่มีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักไม่ทราบด้วยตัวเองและต้องอาศัยคนใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกแล้วไม่ค่อยได้ยินหรือต้องเปิดโทรศัพท์เสียงดัง ๆ
ทั้งนี้ สำหรับวิธีการทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการใช้นิ้วมือถูกันเบา ๆ ที่บริเวณหน้าหูทีละข้าง แล้วสังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน (การทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูทั้งสองข้างมีการได้ยินไม่เท่ากัน)
IMAGE SOURCE : hearinggroup.comการวินิจฉัยอาการหูอื้อ
แพทย์จะทำการซักประวัติอาการและตรวจหูของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อดูว่าเสียงนั้นน่าจะมาจากในหูหรือนอกหู เกี่ยวกับเส้นประสาทหรือไม่ เป็นหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน แล้วผู้ป่วยได้ยินคนเดียวหรือแพทย์ได้ยินเสียงนั้นด้วย เมื่อตรวจเจอสาเหตุก็จะรักษาไปตามสาเหตุนั้น ๆ
แต่ในกรณีที่ตรวจไม่เจอความผิดปกติใด ๆ คราวนี้จะยากขึ้นมาหน่อย เพราะแพทย์อาจจะต้องทำการตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อดูว่าหูของผู้ป่วยได้ยินเสียงที่ความถี่ต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง หูข้างซ้ายและข้างขวาได้ยินเท่ากันหรือไม่ เพราะมีผู้ป่วยหลายรายที่พบว่าหูทั้งสองข้างปกติ แต่มีข้างหนึ่งที่ดีกว่าอีกข้างอย่างชัดเจน (ประมาณว่า “ดีเกินไป”) จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงอื้อ ๆ กับหูข้างที่ด้อยกว่าแต่ยังปกติได้ครับ นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาโรคที่อาจซุกซ่อนอยู่ด้วย เช่น การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส, การวิเคราะห์การทำงานของเส้นประสาทหูส่วนก้านสมองเพื่อหาหลักฐานว่ามีเนื้องอกหรือไม่ (Audiotory brain stem response – ABR), การสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อจะทำให้เห็นเนื้องอกได้
แพทย์จะทำการซักประวัติอาการและตรวจหูของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อดูว่าเสียงนั้นน่าจะมาจากในหูหรือนอกหู เกี่ยวกับเส้นประสาทหรือไม่ เป็นหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน แล้วผู้ป่วยได้ยินคนเดียวหรือแพทย์ได้ยินเสียงนั้นด้วย เมื่อตรวจเจอสาเหตุก็จะรักษาไปตามสาเหตุนั้น ๆ
แต่ในกรณีที่ตรวจไม่เจอความผิดปกติใด ๆ คราวนี้จะยากขึ้นมาหน่อย เพราะแพทย์อาจจะต้องทำการตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อดูว่าหูของผู้ป่วยได้ยินเสียงที่ความถี่ต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง หูข้างซ้ายและข้างขวาได้ยินเท่ากันหรือไม่ เพราะมีผู้ป่วยหลายรายที่พบว่าหูทั้งสองข้างปกติ แต่มีข้างหนึ่งที่ดีกว่าอีกข้างอย่างชัดเจน (ประมาณว่า “ดีเกินไป”) จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงอื้อ ๆ กับหูข้างที่ด้อยกว่าแต่ยังปกติได้ครับ นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาโรคที่อาจซุกซ่อนอยู่ด้วย เช่น การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส, การวิเคราะห์การทำงานของเส้นประสาทหูส่วนก้านสมองเพื่อหาหลักฐานว่ามีเนื้องอกหรือไม่ (Audiotory brain stem response – ABR), การสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อจะทำให้เห็นเนื้องอกได้
วิธีรักษาอาการหูอื้อ
- ถ้าทราบสาเหตุของอาการหูอื้อ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ (ขอกล่าวถึงเฉพาะสาเหตุที่พบได้บ่อย)
- หูอื้อที่เกิดจากขี้หูอุดตัน ถ้าขี้หูไม่แน่นมาก อาจใช้วิธีแคะหรือเขี่ยออกด้วยความระมัดระวังอย่างเบามือหรือใช้น้ำฉีดล้างออก แต่ถ้าขี้หูแน่นมากไม่แนะนำให้ใช้วิธีแคะหรือเขี่ยออก เพราะมักจะเอาไม่ออกและทำให้ขี้หูถูกดันลึกเข้าไปมากขึ้น นอกจากนั้นยังอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมได้ (หูชั้นนอกอักเสบ) ส่วนวิธีที่แนะนำคือ ให้หยอดยาละลายขี้หูให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้ออยู่ให้ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วยควรรีบไปพบแพทย์
- หูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงประทัด หรือเกิดอาการหูอื้อขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือมีเสียงในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางทันที
- หูอื้อที่เกิดจากหวัด ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในหูชั้นกลางและตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วย เนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรังหรือไซนัสอักเสบได้บ่อยจากภาวะดังกล่าว
- หูอื้อที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลงต่ำและเคาะที่ศีรษะเบา ๆ หรือถ้าแมลงเข้าหู ให้หยอดหูด้วยน้ำมันพืชหรือกลีเซอรีนบอแรกซ์ (Glycerine borax)
- หูอื้อที่เกิดขึ้นหลังจากกินยาหรือฉีดยา หรือหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่ ให้หยุดยาหรือสารเหล่านี้เสีย
- หูตึงในผู้สูงอายุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป
- การรักษาอาการหูอื้อที่สำคัญที่สุด คือ การรักษาที่ต้นเหตุ (ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อหรือมีเสียงในหู) หากแพทย์ตรวจพบสาเหตุที่ชัดเจน การรักษาจะมุ่งเน้นไปตรงนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่นั้นหายขาดได้ เช่น ถ้าเกิดจากขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction) แพทย์จะช่วยเอาขี้หูออกให้ ซึ่งจะช่วยทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่หายไปทันที, ถ้าเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) ต้องรักษาโดยการผ่าตัด, ถ้าเกิดจากกล้ามเนื้อที่กระตุกผิดปกติ (Myoclonus) ต้องรักษาด้วยการฉีดโบทอกซ์ ฯลฯ
- หากใช้ยาอยู่หลายตัว ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาต่าง ๆ เหล่านั้นที่ใช้อยู่ เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อได้ แล้วปรับเปลี่ยนไปใช้ยาแบบใหม่แทน
- สาเหตุบางอย่างอาจต้องอาศัยการผ่าตัด เช่น การใส่ท่อระบายน้ำที่ขังอยู่ในหูชั้นกลาง, การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลนเพื่อรักษาภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง
- การรักษาเสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ที่ดังตามชีพจร ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการรักษาต่อตามสาเหตุที่ตรวจพบ
- เสียงคลิกในหูซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลนของหูชั้นกลาง สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยา แต่ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องอาศัยการผ่าตัดรักษาต่อไป
- เสียงในหูบางชนิดจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รบกวนผู้ป่วยมากนัก แต่จะทำให้การได้ยินลดลงเรื่อย ๆ พร้อมกับมีอาการเดินเซ ซึ่งมักเกิดมาจากเนื้องอกของเส้นประสาทคู่ที่ 8 เนื้องอกในสมอง หรือก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยง การเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะช่วยในการวินิจฉัยได้ ส่วนการรักษาจะต้องทำการผ่าตัดหรือแกมมาไนฟ์ (Gamma Knife) ต่อไป
- การรักษาอาการหูอื้อชั่วคราว
- ลองใช้เทคนิคการเคาะกะโหลก หากรู้สึกว่าอาการหูอื้อยังไม่หายหลังจากเพิ่งได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน เช่น หลังจากดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวผับ (สาเหตุอาจเกิดจนเซลล์ขนเล็ก ๆ ภายในคลอเคลียถูกกระทบกระเทือนจนทำให้เกิดการอักเสบและเส้นประสาทถูกกระตุ้น แล้วสมองแปลงอาการอักเสบนี้ออกมาเป็นเสียงอื้อหรือเสียงดังในหูอย่างต่อเนื่อง) คุณอาจใช้เทคนิคนี้เพื่อช่วยทำให้เสียงน่ารำคาญเหล่านั้นหายไปได้ด้วยการใช้ฝ่ามือปิดหู (ให้นิ้วหันกลับและวางอยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ)โดยให้นิ้วกลางทั้งสองข้างชี้เข้าหากันตรงด้านหลังสุดของกะโหลก และให้วางนิ้วชี้ไว้ด้านบนนิ้วกลาง จากนั้นให้เคลื่อนนิ้วในจังหวะเคาะ โดยกระดกนิ้วชี้ลงจากนิ้วกลางไปที่ด้านหลังกะโหลก (การเคลื่อนไหวลักษณะนี้จะทำให้เกิดเสียงเหมือนการตีกลอง และเพราะนิ้วกระแทกกับกะโหลกด้วยในขณะเดียวกัน เสียงที่เกิดขึ้นจึงอาจดังพอสมควร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ) แล้วให้เคาะนิ้วลงบนด้านหลังของกะโหลกอย่างต่อเนื่องประมาณ 40-50 ครั้ง แล้วลองสังเกตอาการหูอื้อดูว่าทุเลาลงแล้วหรือยัง
- ลองรอสักพัก เพราะอาการหูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดัง ๆ มักหายไปเองได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง และคุณอาจเบี่ยงเบนความสนใจออกจากเสียงในหูด้วยการพักผ่อนและอยู่ให้ห่างจากสิ่งที่อาจทำให้อาการหูอื้อแย่ลง แต่ถ้ายังหูอื้อไม่หายหลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์
- การรักษาอาการหูอื้อเรื้อรัง หากตรวจไม่พบสาเหตุหรือความผิดปกติ (ซึ่งส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบ) การรักษาจะไม่ค่อยมีแล้วครับ แต่การใช้วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดเสียงรบกวนในหูให้ลดน้อยลงได้ เช่น
- การใช้กลยุทธ์กลบเสียง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
- การเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยกลบเสียงในหู
- การเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศที่มีเสียงเบา ๆ อาจช่วยกลบเสียงในหูลงได้
- การฟังวิทยุไม่ตรงช่องเพื่อให้มีเสียงซ่า ๆ มากลบเสียงในหู
- การทำให้บ้านมีเสียงพื้นไว้ (Ambient sound) กล่าวคือ อย่าให้บ้านเงียบเกินไป
- ในปัจจุบันมีผู้คิดเครื่องสร้างเสียงดนตรีที่ไม่เป็นเพลงเพื่อช่วยดึงความสนใจของผู้ป่วยออกจากภาวะหูอื้อได้
- การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยกลบเสียง นอกจากวิธีข้างต้นแล้วยังมีวิธีกลบเสียงอื้อในหูอีกหลากหลายรูปแบบที่แพทย์นำมาใช้เพื่อกลบเสียงอื้อในหู เช่น
- การใช้เครื่องสร้างสัญญาณรบกวนสีขาว (White noise) ซึ่งเครื่องสัญญาณรบกวนนี้จะสร้างเสียงเบื้องหลังในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงฝนตก เสียงลมพัดแรง ฯลฯ ซึ่งจะช่วยกลบเสียงอื้อในหูอย่างได้ผล
- การใช้อุปกรณ์กลบเสียง ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่จะติดไว้ที่หูเพื่อสร้างคลื่นสัญญาณรบกวนสีขาวอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยกลบเสียงอื้อเรื้อรังในหู
- การสวมเครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์นี้จะได้ผลอย่างมากถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน (หูตึง) ร่วมกับอาการหูอื้อ
- การเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการหันไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ปล่อยตัวให้ว่างนัก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พอช่วยได้ครับ
- การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการหูอื้อ ด้วยการให้ยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน, ยารักษาอาการบวมของท่อปรับความดันหู หรือการให้ยาเพื่อรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน, ยาสเตียรอยด์, ยาเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหูชั้นในอื่น ๆ เช่น เบตาฮีสทีน (Betahistine) ซึ่งจะช่วยลดเสียงในหูได้ประมาณ 60%, ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants – TCA), ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า “ซาแนกซ์” (Xanax) เพราะมีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ยาอัลปราโซแลมสามารถช่วยลดอาการเสียงดังในหูอย่างได้ผล ฯลฯ (แม้ยาอาจไม่สามารถทำให้อาการหูอื้อหายขาดได้ แต่ถ้าการรักษาด้วยยามันจะทำให้อาการหูอื้อทุเลาลงได้)
- การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยพร้อมอาหารวันละ 3 ครั้ง อาจช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ศีรษะและชะลอน้อยลง จึงช่วยลดอาการหูอื้อจากความดันโลหิตได้ (คุณอาจต้องลองรับประทานสัก 2 เดือน จากนั้นจึงค่อยตรวจเช็กประสิทธิภาพในการรักษา แต่ในระหว่างนี้ถ้ามีอาการเลวลงหรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที)
- การทำใจยอมรับ บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยสามารถปรับตัวให้อยู่กับอาการหูอื้อหรือเสียงในหูจนเกิดความคุ้นเคยและไม่รำคาญต่อไปได้ พูดง่าย ๆ คือ พยายามอยู่กับมันให้ได้ครับIMAGE SOURCE : www.actiononhearingloss.org.uk
- การดูแลตนเองเมื่อมีอาการหูอื้อ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ก่อนอื่นต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าเป็นหูอื้อแบบไหน เช่น มีอาการหูอื้อเวลาเป็นหวัดหรือเปล่า เป็นต้น แล้วให้การดูแลรักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุนั้นให้ดี
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น งานคอนเสิร์ต บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เครื่องบิน เสียงปืน และเสียงดังอื่น ๆ หรือใส่เครื่องป้องกันเสียงเสมอ
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ เพราะน้ำและสารคลอรีนอาจติดค้างอยู่ในหูชั้นในในขณะว่ายน้ำจนเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงได้ (แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใส่ที่อุดหูในขณะว่ายน้ำ)
- เมื่อเกิดความรู้สึกรำคาญจากเสียงในหู อาจเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยกลบเสียงในหูได้
- หาวิธีระบายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ การนวดบำบัด ฯลฯ เพราะความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลงได้
- ยอมรับและปรับตัวเพื่อลดความกังวลและความเครียด รักษาสุขภาพจิตให้ดี เพราะความเครียดจะทำให้รู้สึกว่ามีเสียงในหูดังขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กาเฟอีน เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและส่งผลทำให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้นหรือหูอื้อมากขึ้นได้
- งดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะนิโคตินในบุหรี่อาจทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่เลวลงได้
- ถ้ามีอาการได้ยินลดลง ควรรีบไปพบแพทย์ด้านหูคอจมูก เพราะอาจเป็นอาการของประสาทหูเสื่อมได้
- ถ้าทราบสาเหตุของอาการหูอื้อ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ (ขอกล่าวถึงเฉพาะสาเหตุที่พบได้บ่อย)
- หูอื้อที่เกิดจากขี้หูอุดตัน ถ้าขี้หูไม่แน่นมาก อาจใช้วิธีแคะหรือเขี่ยออกด้วยความระมัดระวังอย่างเบามือหรือใช้น้ำฉีดล้างออก แต่ถ้าขี้หูแน่นมากไม่แนะนำให้ใช้วิธีแคะหรือเขี่ยออก เพราะมักจะเอาไม่ออกและทำให้ขี้หูถูกดันลึกเข้าไปมากขึ้น นอกจากนั้นยังอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมได้ (หูชั้นนอกอักเสบ) ส่วนวิธีที่แนะนำคือ ให้หยอดยาละลายขี้หูให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้ออยู่ให้ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วยควรรีบไปพบแพทย์
- หูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงประทัด หรือเกิดอาการหูอื้อขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือมีเสียงในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางทันที
- หูอื้อที่เกิดจากหวัด ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในหูชั้นกลางและตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วย เนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรังหรือไซนัสอักเสบได้บ่อยจากภาวะดังกล่าว
- หูอื้อที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลงต่ำและเคาะที่ศีรษะเบา ๆ หรือถ้าแมลงเข้าหู ให้หยอดหูด้วยน้ำมันพืชหรือกลีเซอรีนบอแรกซ์ (Glycerine borax)
- หูอื้อที่เกิดขึ้นหลังจากกินยาหรือฉีดยา หรือหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่ ให้หยุดยาหรือสารเหล่านี้เสีย
- หูตึงในผู้สูงอายุ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป
- การรักษาอาการหูอื้อที่สำคัญที่สุด คือ การรักษาที่ต้นเหตุ (ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อหรือมีเสียงในหู) หากแพทย์ตรวจพบสาเหตุที่ชัดเจน การรักษาจะมุ่งเน้นไปตรงนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่นั้นหายขาดได้ เช่น ถ้าเกิดจากขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction) แพทย์จะช่วยเอาขี้หูออกให้ ซึ่งจะช่วยทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่หายไปทันที, ถ้าเกิดจากเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) ต้องรักษาโดยการผ่าตัด, ถ้าเกิดจากกล้ามเนื้อที่กระตุกผิดปกติ (Myoclonus) ต้องรักษาด้วยการฉีดโบทอกซ์ ฯลฯ
- หากใช้ยาอยู่หลายตัว ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาต่าง ๆ เหล่านั้นที่ใช้อยู่ เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อได้ แล้วปรับเปลี่ยนไปใช้ยาแบบใหม่แทน
- สาเหตุบางอย่างอาจต้องอาศัยการผ่าตัด เช่น การใส่ท่อระบายน้ำที่ขังอยู่ในหูชั้นกลาง, การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลนเพื่อรักษาภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง
- การรักษาเสียงตุบ ๆ หรือเสียงฟู่ ๆ ที่ดังตามชีพจร ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการรักษาต่อตามสาเหตุที่ตรวจพบ
- เสียงคลิกในหูซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลนของหูชั้นกลาง สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยา แต่ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องอาศัยการผ่าตัดรักษาต่อไป
- เสียงในหูบางชนิดจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รบกวนผู้ป่วยมากนัก แต่จะทำให้การได้ยินลดลงเรื่อย ๆ พร้อมกับมีอาการเดินเซ ซึ่งมักเกิดมาจากเนื้องอกของเส้นประสาทคู่ที่ 8 เนื้องอกในสมอง หรือก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยง การเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะช่วยในการวินิจฉัยได้ ส่วนการรักษาจะต้องทำการผ่าตัดหรือแกมมาไนฟ์ (Gamma Knife) ต่อไป
- การรักษาอาการหูอื้อชั่วคราว
- ลองใช้เทคนิคการเคาะกะโหลก หากรู้สึกว่าอาการหูอื้อยังไม่หายหลังจากเพิ่งได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน เช่น หลังจากดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวผับ (สาเหตุอาจเกิดจนเซลล์ขนเล็ก ๆ ภายในคลอเคลียถูกกระทบกระเทือนจนทำให้เกิดการอักเสบและเส้นประสาทถูกกระตุ้น แล้วสมองแปลงอาการอักเสบนี้ออกมาเป็นเสียงอื้อหรือเสียงดังในหูอย่างต่อเนื่อง) คุณอาจใช้เทคนิคนี้เพื่อช่วยทำให้เสียงน่ารำคาญเหล่านั้นหายไปได้ด้วยการใช้ฝ่ามือปิดหู (ให้นิ้วหันกลับและวางอยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ)โดยให้นิ้วกลางทั้งสองข้างชี้เข้าหากันตรงด้านหลังสุดของกะโหลก และให้วางนิ้วชี้ไว้ด้านบนนิ้วกลาง จากนั้นให้เคลื่อนนิ้วในจังหวะเคาะ โดยกระดกนิ้วชี้ลงจากนิ้วกลางไปที่ด้านหลังกะโหลก (การเคลื่อนไหวลักษณะนี้จะทำให้เกิดเสียงเหมือนการตีกลอง และเพราะนิ้วกระแทกกับกะโหลกด้วยในขณะเดียวกัน เสียงที่เกิดขึ้นจึงอาจดังพอสมควร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ) แล้วให้เคาะนิ้วลงบนด้านหลังของกะโหลกอย่างต่อเนื่องประมาณ 40-50 ครั้ง แล้วลองสังเกตอาการหูอื้อดูว่าทุเลาลงแล้วหรือยัง
- ลองรอสักพัก เพราะอาการหูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดัง ๆ มักหายไปเองได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง และคุณอาจเบี่ยงเบนความสนใจออกจากเสียงในหูด้วยการพักผ่อนและอยู่ให้ห่างจากสิ่งที่อาจทำให้อาการหูอื้อแย่ลง แต่ถ้ายังหูอื้อไม่หายหลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์
- การรักษาอาการหูอื้อเรื้อรัง หากตรวจไม่พบสาเหตุหรือความผิดปกติ (ซึ่งส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบ) การรักษาจะไม่ค่อยมีแล้วครับ แต่การใช้วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดเสียงรบกวนในหูให้ลดน้อยลงได้ เช่น
- การใช้กลยุทธ์กลบเสียง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
- การเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยกลบเสียงในหู
- การเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศที่มีเสียงเบา ๆ อาจช่วยกลบเสียงในหูลงได้
- การฟังวิทยุไม่ตรงช่องเพื่อให้มีเสียงซ่า ๆ มากลบเสียงในหู
- การทำให้บ้านมีเสียงพื้นไว้ (Ambient sound) กล่าวคือ อย่าให้บ้านเงียบเกินไป
- ในปัจจุบันมีผู้คิดเครื่องสร้างเสียงดนตรีที่ไม่เป็นเพลงเพื่อช่วยดึงความสนใจของผู้ป่วยออกจากภาวะหูอื้อได้
- การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยกลบเสียง นอกจากวิธีข้างต้นแล้วยังมีวิธีกลบเสียงอื้อในหูอีกหลากหลายรูปแบบที่แพทย์นำมาใช้เพื่อกลบเสียงอื้อในหู เช่น
- การใช้เครื่องสร้างสัญญาณรบกวนสีขาว (White noise) ซึ่งเครื่องสัญญาณรบกวนนี้จะสร้างเสียงเบื้องหลังในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงฝนตก เสียงลมพัดแรง ฯลฯ ซึ่งจะช่วยกลบเสียงอื้อในหูอย่างได้ผล
- การใช้อุปกรณ์กลบเสียง ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่จะติดไว้ที่หูเพื่อสร้างคลื่นสัญญาณรบกวนสีขาวอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยกลบเสียงอื้อเรื้อรังในหู
- การสวมเครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์นี้จะได้ผลอย่างมากถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน (หูตึง) ร่วมกับอาการหูอื้อ
- การเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการหันไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ปล่อยตัวให้ว่างนัก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พอช่วยได้ครับ
- การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการหูอื้อ ด้วยการให้ยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน, ยารักษาอาการบวมของท่อปรับความดันหู หรือการให้ยาเพื่อรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน, ยาสเตียรอยด์, ยาเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหูชั้นในอื่น ๆ เช่น เบตาฮีสทีน (Betahistine) ซึ่งจะช่วยลดเสียงในหูได้ประมาณ 60%, ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants – TCA), ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า “ซาแนกซ์” (Xanax) เพราะมีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ยาอัลปราโซแลมสามารถช่วยลดอาการเสียงดังในหูอย่างได้ผล ฯลฯ (แม้ยาอาจไม่สามารถทำให้อาการหูอื้อหายขาดได้ แต่ถ้าการรักษาด้วยยามันจะทำให้อาการหูอื้อทุเลาลงได้)
- การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยพร้อมอาหารวันละ 3 ครั้ง อาจช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ศีรษะและชะลอน้อยลง จึงช่วยลดอาการหูอื้อจากความดันโลหิตได้ (คุณอาจต้องลองรับประทานสัก 2 เดือน จากนั้นจึงค่อยตรวจเช็กประสิทธิภาพในการรักษา แต่ในระหว่างนี้ถ้ามีอาการเลวลงหรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที)
- การทำใจยอมรับ บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยสามารถปรับตัวให้อยู่กับอาการหูอื้อหรือเสียงในหูจนเกิดความคุ้นเคยและไม่รำคาญต่อไปได้ พูดง่าย ๆ คือ พยายามอยู่กับมันให้ได้ครับIMAGE SOURCE : www.actiononhearingloss.org.uk
- การใช้กลยุทธ์กลบเสียง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
- การดูแลตนเองเมื่อมีอาการหูอื้อ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ก่อนอื่นต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าเป็นหูอื้อแบบไหน เช่น มีอาการหูอื้อเวลาเป็นหวัดหรือเปล่า เป็นต้น แล้วให้การดูแลรักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุนั้นให้ดี
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น งานคอนเสิร์ต บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เครื่องบิน เสียงปืน และเสียงดังอื่น ๆ หรือใส่เครื่องป้องกันเสียงเสมอ
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ เพราะน้ำและสารคลอรีนอาจติดค้างอยู่ในหูชั้นในในขณะว่ายน้ำจนเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงได้ (แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใส่ที่อุดหูในขณะว่ายน้ำ)
- เมื่อเกิดความรู้สึกรำคาญจากเสียงในหู อาจเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยกลบเสียงในหูได้
- หาวิธีระบายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ การนวดบำบัด ฯลฯ เพราะความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลงได้
- ยอมรับและปรับตัวเพื่อลดความกังวลและความเครียด รักษาสุขภาพจิตให้ดี เพราะความเครียดจะทำให้รู้สึกว่ามีเสียงในหูดังขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กาเฟอีน เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและส่งผลทำให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้นหรือหูอื้อมากขึ้นได้
- งดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะนิโคตินในบุหรี่อาจทำให้อาการหูอื้อที่เป็นอยู่เลวลงได้
- ถ้ามีอาการได้ยินลดลง ควรรีบไปพบแพทย์ด้านหูคอจมูก เพราะอาจเป็นอาการของประสาทหูเสื่อมได้
วิธีป้องกันอาการหูอื้อ
การป้องกันการเกิดอาการหูอื้อสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง ๆ หรือถ้าต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังก็ต้องมีเครื่องป้องกันหูที่ถูกต้อง เช่น ที่อุดหู
- ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การตากฝน, การดื่มหรืออาบน้ำเย็น, การสัมผัสอากาศที่เย็นเกินไป, การสัมผัสอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (เช่น จากร้อนไปเย็น จากเย็นไปร้อน), การมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้ เป็นต้น (แต่ในกรณีที่เป็นหวัดแล้ว ต้องรีบรักษาตัวเองให้หายและงดการดำน้ำในช่วงนั้น)
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกหรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรป้องกันไม่ให้อาการทางจมูกหรือไซนัสกำเริบ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ความเครียด, อารมณ์เศร้า เสียใจ, ความวิตกกังวล, ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือวัด เป็นต้น เนื่องจากถ้ามีการอักเสบในโพรงจมูกเกิดขึ้นจะส่งผลทำให้ท่อยูสเตเชียน* ทำงานผิดปกติ
- ถ้ามีอาการทางจมูกเกิดขึ้น เช่น คันจมูก คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล และจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน ควรใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทางจมูกก่อนขึ้นเครื่องเป็นเวลาตามที่แพทย์แนะนำ เช่น การรับประทานยาแก้แพ้ ยาหดหลอดเลือด หรือยาพ่นจมูก และอาจร่วมกับการล้างจมูกหรือการสูดไอน้ำร้อน เพื่อทำให้การอักเสบภายในจมูกลดน้อยลง ซึ่งจะช่วยทำให้ยูสเตเชียนกลับมาทำงานปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนั้น ควรทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานเปิดและปิดอยู่ตลอดเวลาในระหว่างเครื่องบินขึ้นและลงด้วย เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง (เพื่อทำให้มีการกลืนน้ำลายบ่อย ๆ ซึ่งในขณะที่กลืนน้ำลายจะมีการเปิดและปิดท่อยูสเตเชียน) หรือบีบจมูก 2 ข้างและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (จะทำให้ท่อยูสเตเชียนปิด) และเอามือที่บีบจมูกออกและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (จะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิด) เป็นต้น ทั้งนี้ในขณะที่เป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบซึ่งมีการติดเชื้อในจมูก ไม่ควรบีบจมูกและเป่าลมให้เข้ารูเปิดของท่อยูสเตเชียน เพราะอาจจะทำให้เชื้อโรคในจมูกเข้าไปสู่หูชั้นกลางได้ (ถ้าลองใช้ยาตามวิธีข้างต้นแล้วยังมีอาการทางหูอยู่ ให้พ่นยาหดหลอดเลือดเข้าไปในจมูกอีกทุก ๆ 10-15 นาที ร่วมกับทำตามวิธีที่ให้ท่อยูสเตเชียนทำงานเปิดและปิดอยู่ตลอดเวลาดังกล่าว ดังนั้น จึงควรพกยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นและชนิดรับประทานติดตัวไว้ด้วยเสมอ)
- ดูแลรักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหูอื้อดังที่กล่าวมา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาใด ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงในหูชั้นใน
- ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ กาเฟอีน และนิโคติน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวและส่งผลทำให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้นหรือหูอื้อมากขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงเกลือ เพราะเกลือจะทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายอ่อนแรง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงอีกด้วย
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการติดเชื้อและลดการเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหูอื้อได้
- ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหูเกิดขึ้น
IMAGE SOURCE : www.wikihow.com
หมายเหตุ : ท่อยูสเตเชียน (Eustachain tube) เป็นท่อที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก เพราะเมื่อใดก็ตามที่ท่อนี้ทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดอาการหูอื้อ ปวดหู มีเสียงในหู หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ ตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่เราพบได้บ่อย ๆ คือ การขึ้นหรือลงลิฟต์เร็ว ๆ หรือในขณะที่เครื่องบินขึ้นหรือลงเร็ว ๆ ก็จะทำให้มีอาการหูอื้อได้
การป้องกันการเกิดอาการหูอื้อสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง ๆ หรือถ้าต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังก็ต้องมีเครื่องป้องกันหูที่ถูกต้อง เช่น ที่อุดหู
- ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การตากฝน, การดื่มหรืออาบน้ำเย็น, การสัมผัสอากาศที่เย็นเกินไป, การสัมผัสอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (เช่น จากร้อนไปเย็น จากเย็นไปร้อน), การมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้ เป็นต้น (แต่ในกรณีที่เป็นหวัดแล้ว ต้องรีบรักษาตัวเองให้หายและงดการดำน้ำในช่วงนั้น)
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกหรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรป้องกันไม่ให้อาการทางจมูกหรือไซนัสกำเริบ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ความเครียด, อารมณ์เศร้า เสียใจ, ความวิตกกังวล, ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือวัด เป็นต้น เนื่องจากถ้ามีการอักเสบในโพรงจมูกเกิดขึ้นจะส่งผลทำให้ท่อยูสเตเชียน* ทำงานผิดปกติ
- ถ้ามีอาการทางจมูกเกิดขึ้น เช่น คันจมูก คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล และจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน ควรใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทางจมูกก่อนขึ้นเครื่องเป็นเวลาตามที่แพทย์แนะนำ เช่น การรับประทานยาแก้แพ้ ยาหดหลอดเลือด หรือยาพ่นจมูก และอาจร่วมกับการล้างจมูกหรือการสูดไอน้ำร้อน เพื่อทำให้การอักเสบภายในจมูกลดน้อยลง ซึ่งจะช่วยทำให้ยูสเตเชียนกลับมาทำงานปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนั้น ควรทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานเปิดและปิดอยู่ตลอดเวลาในระหว่างเครื่องบินขึ้นและลงด้วย เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง (เพื่อทำให้มีการกลืนน้ำลายบ่อย ๆ ซึ่งในขณะที่กลืนน้ำลายจะมีการเปิดและปิดท่อยูสเตเชียน) หรือบีบจมูก 2 ข้างและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (จะทำให้ท่อยูสเตเชียนปิด) และเอามือที่บีบจมูกออกและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (จะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิด) เป็นต้น ทั้งนี้ในขณะที่เป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบซึ่งมีการติดเชื้อในจมูก ไม่ควรบีบจมูกและเป่าลมให้เข้ารูเปิดของท่อยูสเตเชียน เพราะอาจจะทำให้เชื้อโรคในจมูกเข้าไปสู่หูชั้นกลางได้ (ถ้าลองใช้ยาตามวิธีข้างต้นแล้วยังมีอาการทางหูอยู่ ให้พ่นยาหดหลอดเลือดเข้าไปในจมูกอีกทุก ๆ 10-15 นาที ร่วมกับทำตามวิธีที่ให้ท่อยูสเตเชียนทำงานเปิดและปิดอยู่ตลอดเวลาดังกล่าว ดังนั้น จึงควรพกยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นและชนิดรับประทานติดตัวไว้ด้วยเสมอ)
- ดูแลรักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหูอื้อดังที่กล่าวมา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาใด ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงในหูชั้นใน
- ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ กาเฟอีน และนิโคติน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวและส่งผลทำให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้นหรือหูอื้อมากขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงเกลือ เพราะเกลือจะทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายอ่อนแรง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงอีกด้วย
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการติดเชื้อและลดการเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหูอื้อได้
- ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหูเกิดขึ้น
หมายเหตุ : ท่อยูสเตเชียน (Eustachain tube) เป็นท่อที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก เพราะเมื่อใดก็ตามที่ท่อนี้ทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดอาการหูอื้อ ปวดหู มีเสียงในหู หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ ตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่เราพบได้บ่อย ๆ คือ การขึ้นหรือลงลิฟต์เร็ว ๆ หรือในขณะที่เครื่องบินขึ้นหรือลงเร็ว ๆ ก็จะทำให้มีอาการหูอื้อได้
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. “หูอื้อ (Decreased hearing)/มีเสียงในหู (Tinnitus)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 100-102.
- หาหมอดอทคอม. “หูอื้อ เสียงในหู (Tinnitus)”. (นพ.วิรัช ทุ่งวชิรกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [31 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูอื้อ”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [31 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “ขึ้น… ลงเครื่องบิน มีปัญหาปวดหู หูอื้อ…ทำอย่างไรดี”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [31 ธ.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบางปะกอก 9. “โรคเสียงอื้อในหู ความผิดปกติของหู”. (พญ.พัตราภรณ์ ตันไพจิตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangpakokhospital.com. [01 ม.ค. 2017].
- wikiHow. “วิธีการแก้อาการหูอื้อ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikihow.com. [01 ม.ค. 2017].
7. เว็บไซต์เมดไทย
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. “หูอื้อ (Decreased hearing)/มีเสียงในหู (Tinnitus)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 100-102.
- หาหมอดอทคอม. “หูอื้อ เสียงในหู (Tinnitus)”. (นพ.วิรัช ทุ่งวชิรกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [31 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูอื้อ”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [31 ธ.ค. 2016].
- ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “ขึ้น… ลงเครื่องบิน มีปัญหาปวดหู หูอื้อ…ทำอย่างไรดี”. (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [31 ธ.ค. 2016].
- โรงพยาบาลบางปะกอก 9. “โรคเสียงอื้อในหู ความผิดปกติของหู”. (พญ.พัตราภรณ์ ตันไพจิตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangpakokhospital.com. [01 ม.ค. 2017].
- wikiHow. “วิธีการแก้อาการหูอื้อ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikihow.com. [01 ม.ค. 2017].
7. เว็บไซต์เมดไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น