สิ่งที่ผู้บริหารควร และไม่ควรทำ
(Do and Don't for Management)
(Do and Don't for Management)
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริหาร
1. จัดลำดับความสำคัญของงาน
เป็นไปไม่ได้ที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ผู้บริหารต้องจัดลำดับความสำคัญของงานที่มีความสำคัญ และส่งผลกระทบสูงสุดควรทำก่อน แทนที่จะพยายามทำทุกสิ่งให้ได้สมบูรณ์ (Perfectly) ในครั้งเดียว
2. กระจายงาน
พยายามแตกงานให้เล็กลงจะช่วยในการบริหาร เพราะเป็นการกระจายงาน และมอบหมายความรับผิดชอบไปด้วยพร้อมกัน
3. ยืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และการระบุปัญหา
เวลาวางแผนก็ต้องระบุชัดว่าจะให้ทำอะไร เมื่อไหร่ เมื่อถึงเวลาติดตามก็จะมั่นใจว่าคนที่ได้รับมอบหมายได้ทำตามเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งติดตามดูความเป็นจริง และสามารถชี้ชัดถึงประเด็นปัญหาพร้อมให้คำแนะนำได้
4. อาศัยพื้นฐานเทคโนโลยีทางวิศวกรรมช่วยในการบริหาร
ผู้บริหารต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการบริหารช่วยชี้ประเด็นปัญหา และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมช่วยในการแก้ปัญหา ทั้ง 2 เทคโนโลยีเปรียบเสมือนวงล้อทั้ง 2 ข้างของล้อจักรยาน ล้อหนึ่งนำทางและอีกล้อหนึ่งสร้างกำลังใจ จากประสบการณ์ของท่านประธาน KOBATA คิดว่าเทคโนทางวิศวกรรมมีส่วนช่วยได้มาก จึงแนะนำผู้บริหารให้นำมาใช้ ไม่ควรละเลย
5. เริ่มต้นด้วยการตั้งสมมติฐาน
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สามัญสำนึกของคนเราคือต้องหาสาเหตุ วิธีการหนึ่งคือ การตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่จะเป็นไปได้ และค่อย ๆ คิดจนสุดท้ายจะพบข้อสรุป โดยพยายามหาหลากหลายความคิด
6. บริหารเป้าหมาย
เมื่อคุณต้องบริการกระบวนการใด สิ่งสำคัญก็คือ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อจะได้วัดผลการปฏิบัติได้ เช่น ต้องการประหยัดพลังงานและลดต้นทุน พลังงานก็จะเป็นตัวที่เราจะวัดผล ซึ่งจะต้องวัดให้ชัดถึงปริมาณที่ใช้ต่อนาที หรือต่อจำนวนผลิตผลที่ได้
7. มุ่งการแก้ปัญหา ไม่ใช่ตำหนิหรือหาคนผิด
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมาก เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมักจะตำหนิผู้อื่น หรือหาคนกระทำผิดก่อน นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเลย สิ่งแรกคือต้องคิดว่า ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร และที่สำคัญคือ ต้องมุ่งแก้ปัญหาไม่ใช่ยึดถือตัวเอง
8. ทฤษฎีเกิดขึ้นจากประสบการณ์
การกระทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ทดลองทำและแก้ไขไปด้วย สุดท้ายคุณก็จะสามารถกำหนด และสร้างบททฤษฎีขึ้นมา นั่นคือ ผู้บริหารก็สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมั่นใจเสมอ
9. ขจัดการพูดที่ไร้การกระทำ
บางคนพูดดีมาก เสนอแนะเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้รับฟังที่ดี และมีความสามารถในการชี้ชวนผู้อื่น แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงมือปฏิบัติกลับไม่ทำอะไรเลย นั่นไม่ใช่ผู้บริหารที่เราต้องการ เราต้องการผู้บริหารที่สามารถเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นปัญหา และใช้ประสบการณ์จริงมาลงมือปฏิบัติ
10. จัดการที่สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องมั่นใจว่าเราจับประเด็นสาเหตุถูกต้องแล้ว จึงจะแก้ปัญหาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีกในครั้งต่อไป วิธีการแก้ปัญหาบางทีก็เกี่ยวข้องกับเครื่องมืออุปกรณ์ (hardware) บ้างก็เกี่ยวข้องกับระบบ (software) หรือทั้งสองแบบ พยายามให้มั่นใจว่าเราจะเผชิญกับปัญหานี้เพียงครั้งเดียว คือ ต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก
สิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรทำ
1. บริหารสิ่งที่มองไม่เห็น
ไม่ได้เห็นด้วยตา เพียงรับฟังมาแล้วดำเนินการ
ไม่ได้เห็นด้วยตา เพียงรับฟังมาแล้วดำเนินการ
2. มุ่งแต่เพียงการตรวจสอบ
ถ้าผู้บริหารมุ่งแต่การตรวจสอบ ก็จะเป็นการเกิดปัญหาเดิมซ้ำซ้อนอีก
3. มุ่งเน้นที่การรายงาน และการประชุมมากเกินไป
ผู้บริหารจะต้องออกไปสัมผัสด้วยตา ไม่พิจารณาหรือรับฟังเฉพาะที่รายงานขึ้นมาเท่านั้น
4. คิดว่าการเป็นผู้บริหารนั้นคือ การสั่งการ แปลว่าได้จัดการแล้ว
การบริหาร/การจัดการ หมายถึง ต้องชี้แนะ และช่วยเหลือด้วย
5. คิดว่า PDCA ก็เพียงพอแล้ว
ผู้บริหารคิดว่า คือการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขนั้นเป็นการเพียงพอ ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่พอ ต้องเพิ่มขั้นตอน ตรวจสอบหลังการวางแผนก่อนลงมือทำจริงอีก 1 ขั้นตอน คือ ต้อง PDCA จะช่วยให้โอกาสผิดพลาดน้อย เสียหายน้อย
6. คิดว่าเป็นผู้บริหารแล้วไม่มีหน้าที่ปรับปรุงงาน คือ
เข้าใจหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงผิด คิดว่าเมื่อเป็นผู้บริหารแล้วไม่จำเป็นต้องลงมาช่วย หรือทำหน้าที่ในการปรับปรุงงาน สั่งการอย่างเดียว ดังได้กล่าวแล้วว่า การปรับปรุง (KAIZEN) เป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
7. ตัดสินหรือวัดค่าจากผลงานเท่านั้น ไม่สนใจกระบวนการ คือ
ในความเป็นจริงผลงานอาจจะออกมาดี แต่ในกระบวนการอาจมีการสูญเสีย หรือทำผิดกระบวนการ ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขกระบวนการได้ เพื่อผลออกมาจะได้ดียิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือ การเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญในกระบวนการด้วย การดูเฉพาะผลงานนั้นไม่เพียงพอ
8. มองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเป็นไปได้
ผู้บริหารหลายคนติดอยู่กับกรอบความเชื่อที่ว่าการสูญเสียนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง คือ ไม่คิดให้ลึกลงไป ทำให้มองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเป็นไปได้ หรืออาจเกิดขึ้น (potential wastes)
9. ไม่วิจารณ์ผลงานที่ดี
เพราะมองไม่ลึกจึงเชื่อในผลงานที่ดีว่าดีที่สุดแล้ว และไม่คิดหาทางปรับปรุงต่อ อันเป็นผลให้ไม่มีการกระตุ้นให้คิดปรับปรุงมาตรฐานให้สูงขึ้น
10. ชอบการประนีประนอม
จะเป็นเพราะด้วยความเกรงใจ หรือไม่กล้าตัดสินใจกลัวผิด ผู้บริหารหลายคนจึงใช้หลักการประนีประนอมเสมอ ซึ่งในหลายกรณีผู้บริหารไม่ควรประนีประนอม โดยเฉพาะเรื่องที่ยุ่งยาก และจำเป็นต้องใช้ความเป็นผู้นำเพื่อหาทางออก
บริษัทเป็นองค์การที่มีชีวิต มีการเจริญเติบโต มีการเจ็บป่วย ที่จำเป็นต้องเยียวยาแก้ไข พร้อมทั้งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงนั้นต้องทำให้ถูกต้องตามจังหวะเวลา ผู้บริหารจะต้องจัดการสิ่งต่าง ๆให้เหมาะสม เริ่มได้ตั้งแต่ในโรงงานมีการทบทวนกระบวนการผลิตสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับบริษัท
CR : เว็บไซต์ maxpro.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น