13 มีนาคม 2561

โรคไต โรคเกี่ยวกับไต มีอะไรบ้าง เป็นโรคไตทำอย่างไร

โรคไต โรคเกี่ยวกับไต มีอะไรบ้าง เป็นโรคไตทำอย่างไร




โรคไต ความผิดปรกติของไต โรคเกี่ยวกับไต อาการของโรคไต การรักษาโรคไต โรคไตเกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันอย่างไร ภาวะไตวาย โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตมีกี่ระยะ โรคไตเสื่อม

โรคไต โรคเกี่ยวกับไต ภาวะไตผิดปรกติ การรักษาโรคไต


โรคไต คือ โรคที่เกิดกับความผิดปกติของพยาธิสภาพของไต การขับของเสียออกจากร่างกาย การรักษาสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายไม่ปรกติ สังเกตุจาก ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง หรือ เม็ดเลือดขาว ติดเชื้อแบคทีเรีย สัญญาณร้ายส่อโรคไต โรคไต คือโรคไม่ติดต่อชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็มและอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน

เราได้รวบรวมโรคทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับไต มาให้เพื่อนได้ศึกษาเป็นความรู้ การ รักษา โรค ไต โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตมีกี่ระยะ การป้องกันโรคไต โรคไต ภาษาอังกฤษ โรคไตเสื่อม โรคไต อาการ วิธีรักษา อาหารโรคไต

โรคฉี่หนู โรคติดต่อ โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อโรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อ อุจจาระร่วง ขี้แตก
ไตวาย จากเชื้ออีโคไล(E. coli)
ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไต โรคไม่ติดต่อโรคไตอักเสบ
โรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อโรคไตรั่ว หรือ ไตอักเสบเนโฟรติก
ไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเรื้อรัง โรคไต โรคไม่ติดต่อ ไตอักเสบไตวายเรื้อรัง
โรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง โรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคลูปัสโรคเอสแอลอี
ท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ถุงน้ำในไต โรคไต โรคไม่ติดต่อ โรคที่ช่องท้องโรคถุงน้ำในไต
นิ่วในไต โรคไต โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อโรคนิ่วในไต
โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อโรคแอดดิสัน

การรักษาโรคไต ไตเทียม โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตมีกี่ระยะ การป้องกันโรคไต โรคไตอักเสบ โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไต อาการ วิธีรักษา อาการบ่งบอกของโรคไต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต มักไม่ค่อยปรากฏอาการให้เห็น เนื่องจากไตเป็น อวัยวะที่มีความสามารถพิเศษในการปรับระบบการทำงาน ให้สมดุล ผู้ป่วยโรคไตร่างกายจะมีประสิทธิภาพขับของเสียได้น้อยลง ดังนั้นเพื่อที่จะชะลอความเสื่อมของไต รวมถึงยืดเวลาการล้างไตออกไป การควบคุมอาหารเป็นสิ่งจำเป็น

ไตเป็นอวัยวะ ที่มีความสำคัญมาก เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยระบบทางเดินปัสสาวะ จะประกอบไปด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ซึ่งไต นอกจากจะเป็นอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วยังเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับ หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหารและสมอง ดังนี้หากไตเกิดการทำงานผิดปรกติ อวัยวะเหล่านี้ก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน

ไตจะมีลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วแดง มี 2 ข้างอยู่ที่บริเวณเอว ใต้ซี่โครง และข้างกระดูกสันหลัง ไตจะได้รับเลือดทางเส้นเลือดแดงจากหัวใจ เมื่อเลือดไหลผ่านไต ไตจะทำการกรอง เราเรียกว่า เนฟรอน (Nephron) ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือด และขับออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะ

หน้าที่ของไต ไตมีหน้าที่หลายอย่าง ซึ่งประกอบด้วย การปรับสมดุลระดับน้ำในร่างกาย การปรับสมดุลเกลือแร่และความเป็นกรดด่างในร่างกาย การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย และผลิตฮอร์โมนบางชนิดในร่างกาย

โครงสร้างและการทำงานของไต ไตจะมีเนื้อเยื่ออยู่ 2 ชั้น คือ ชั้นนอก เรียก คอร์เทกซ์ ( cortex ) และชั้นใน เรียก เมดัลลา ( medulla ) รายละเอียดของไตแต่ละชั้นมีดังนี้
  1. ไตชั้นนอก มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ เป็นกลุ่มของหลอดเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) และมีถุงโบว์แมนส์แคปซูล ( Bowman s capsule ) ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดและขับออกทางท่อไต
  2. ไตชั้นใน มีหลอดเล็ก ๆ ต่อเนื่องมาจากไตชั้นนอก และมีท่อ ซึ่งท่อเหล่านี้รวมกัน รูปร่างคล้ายฝาชี เราเรียกว่า พิรามิด ( renal pyramid ) โดยในส่วนปลายของปิรามิด จะรวมหลอดเล็ก ๆ เรียกว่า พาพิลลา ( renal papilla ) เรียกกันว่า กรวยไต ( pelvis ) ซึ่งเป็นที่ส่งน้ำปัสสาวะลงไปสู่ท่อไต ( ureter ) นำไปสู่กระเพาะปัสสาวะอีกต่อหนึ่ง

โครงสร้างของหนวยไต ในไตจะมีหนวยไตจำนวนมาก ประมาณ 1.2 ล้านหน่วยไต ซึ่งในหน่วยไตประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โกลเมอรูลัส ( glomerurus ) โบว์แมนส์แคปซูล ( Bowman s capsule ) และ ท่อของหน่วยไต ( Renal tubule หรือ convoluted tubule )

ท่อของหน่วยไต มีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ ท่อขดส่วนต้น ห่วงเฮเลน และท่อขดส่วนท้าย โดยรายละเอียดของส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ท่อขดส่วนต้น (proximal convolutrd tubule) มีลักษณะเป็นท่อขดไปมา ซึ่งทำหน้าที่ดูดซึมสารกลับเข้าสู่กระแสเลือด
  • ห่วงเฮเลน( Henle s loop ) มีลักษณะเป็นหลอดโค้งรูปตัวยู อยู่ถัดจากท่อขดส่วนต้น
  • ท่อขดส่วนท้าย( distal convoluted tubule ) เป็นท่อขดไปมาคล้ายท่อขดส่วนต้น อยู่ถัดจากห่วงเฮนเล

โรคไต ระบบการขับของเสียผิดปรกติ รุนแรง อันตรายถึงเสียชีวิต



โรคไต  Kidney disease หมายถึง คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ เนื่องจาก หน้าที่ของไต คือ การขับของเสียออกจากร่างกายออกทางปัสสาวะ ดังนั้น เมื่อเกิดโรคไต จะทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิด อาการสะสมของของเสียในกระแสเลือด
ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เกิดอาการผิดปกติ อาการดังกล่าวนี้คือภาวะไตวาย ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการล้างไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต จะเสียชีวืตจากภาวะไตวายนี้

โรคไต ไตวาย นิ่วในไต ไตอักเสบ

โรคไต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยในประเทศไทย และพบมากในผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่าๆกัน

โรคไตที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือ
  1. โรคไตเรื้อรัง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหลักของผู้ป่วยโรคไต พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มักมีโรคอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ  ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงโรคไต มักจะเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง
  2. โรคนิ่วในไต
  3. โรคไตอักเสบ
  4. โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านทานตนเอง
  5. โรคมะเร็งไต
  6. โรคนิ่วในไต

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการการเกิดโรคไต มีดังนี้
  1. การขาดน้ำอย่างรุนแรง
  2. การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เลือดออกที่ไต
  3. การใช้ยาแก้ปวดหรือยาปฏิชีวนะบางชนิด
  4. เกิดนิ่วในไต
  5. เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไต
  6. เกิดโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิคุ้มกันตนเอง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมาสู่ไต
  9. เป็นโรคกลุ่มเอ็นซีดี (NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ 
  10. พันธุกรรม

อาการที่พบสำหรับผู้ที่ป่วยโรคไต สามารถสังเกตุอาการต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  1. เกิดอาการบวมโดยเริ่มที่ เท้า และอวัยวะอื่นๆตามมา
  2. หน้าซีด เนื่องจากการสร้างเม็ดเลือดแดงที่กระดูกลดลง
  3.  คัน ระคายเคืองทั่วร่างกายเนื่องจากร่างกายสะสมของเสีย
  4. เบื่ออาหาร ร่างกายไม่สามารถรับรู้รสชาติอาหาร หรือรสชาติผิดแปลกไปจากเดิม
  5. คลื่นไส้ อาเจียร ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้
  6. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  7. ปัสสวะผิดปกติ มีฟองมาก มีเลือดปน
  8. เมื่อรุนแรงจะมีอาการโคม่า มึนงง อาจเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคไต มีดังนี้
โดยการตรวจประวัติการรักษา การใช้ยา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสวะ การตรวจเลือด การตรวจด้วยอัลตราซาว์ เอกซ์เรย์ เอ็มอาร์ไอ การตัดชิ้นเนื้อตรวจหาเซลล์มะเร็ง

วิธีการรักษาโรคไต  โดย
  1. การรักษาตามอาการ หรือ กรประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาแก้คัน ยาบรรเทาอาการอาเจียร โดยพิจารณาตามอาการที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ
  2. การควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การสลายนิ่วในไต
  3. การล้างไต หรือ ฟอกไต เพื่อช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยร่วยกับการควบคุมอาหาร เพื่อลดการสะสมของของเสีย
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนไต เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้อีก ผู้ป่วยต้องรับการฟอกไตรอจนกว่าจะได้รับการเปลี่ยนไต


ป้องกันและดูแลตนเองจากโรคไต โดย
  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน ซึ่งถ้าหากทราบว่าเป็นโรคกลุ่มนี้แล้วควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้ทรุดหนักจนเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะมีความรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
  2. หมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น หากพบอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
  3. หมั่นตรวจร่างกาย และพบแพทย์เป็นประจำเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองต่างๆ
  4. บริโภคอาหารที่เหมาะสม ไม่มีรสจัดเกินไป ไม่เค็มเกินไป ลดอาหารหวานมัน เพิ่มพักและผลไม้ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
ที่มา    ::   เว็บไซต์  beezab.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น